การสอนแบบโครงการ(Project Approach)

ความหมายของโปรเจคแอพโพส (Project Approach) คือวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้น ข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ มีค่าต่อการเรียนรู้ การสืบค้นอาจทำโดยเด็กกลุ่มเล็ก ๆ หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรืออาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่ง เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกันกับเพื่อนหรือร่วมกันคิดกับ ครู และทำให้เกิดกระบวนการสืบค้นขึ้นมา ทั้งนี้หัวเรื่องที่นำมาสืบค้นมักจะมีความหมายต่อตัวเด็ก เช่น บ้าน รถยนต์ รถเมล์ เครื่องบิน โรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถบูรณาการเข้าในหลักสูตรปฐมวัยได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับครูและสถานศึกษาที่นำไปใช้ หรือบูรณาการเนื้อหาเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งภาษา ในขณะทำโครงการได้อีกด้วย
นักการศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นตรงกันเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบ โครงการว่าเป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้ศึกษา ค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง ในหัวข้อที่ตนสนใจ ด้วยการบูรณาการวิชาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน วิธีนี้จึงเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย รวมทั้งยังเน้นการให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และยืดหยุ่นตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก (จิรภรณ์ วสุวัต, 2544)
ที่มาแนวคิด “Project Approach” เริ่มจากความเคลื่อนไหวของนักการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม (Progressive) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงศตวรรษที่ 19 – 20 จอห์น ดิวอี้ ได้เขียนบทความและหนังสือที่เกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ทางการศึกษา ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดความตระหนักในชุมชนร่วมกัน และได้นำโครงการเข้าไปใช้ในโรงเรียนทดลองที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1943 ลูซี่ สปราค มิทเชลล์ (Lucy Spraque Mitchell) ได้นำนักศึกษาของวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีท เมืองนิวยอร์ก ออกศึกษาสิ่งแวดล้อม และได้สอนครูให้รู้จักวิธีการใช้โครงการวิธีสอนที่พัฒนาโดยวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีทนี้ มีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับการสอนการใช้โครงการวิธีการสอนที่แบบโครงการ ส่วนในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ครูโรงเรียนก่อนประถมศึกษาเมืองเรกจิโอ เอมิเลีย ประเทศอิตาลี ได้ประสบความสำเร็จในการนำโครงการเข้าไปใช้กับเด็กปฐมวัย แต่ลักษณะโครงการส่วนใหญ่โน้มเอียงไปทางการเรียนรู้ภาษากราฟิก (เขียนภาพลายเส้น) และข้อมูลที่ขยายการเรียนของเด็กผ่านโครงการรวมทั้งบทบาทของครูและพ่อแม่ในงานโครงการ
การนำแนวคิดการสอนแบบโครงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ในระดับปฐมวัยศึกษา
หรือการสอนแบบโครงการจะปรากฏกิจกรรม 5 ลักษณะในแต่ละระยะของการทำโครงการ
ซึ่งเสมือนขั้นตอนการสอนแบบโครงการกิจกรรมทั้ง 5 ลักษณะประกอบด้วย
1.
การอภิปราย ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก
และช่วยให้เด็กแต่ละ
คนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย
หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. การศึกษานอกสถานที่
หรืองานในภาคสนาม
เป็นกระบวนการที่สำคัญของการทำ
โครงการประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน
เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียนเช่น ร้านค้า
ถนนหนทาง ป้ายสัญญาณ งานบริการต่าง ๆ ฯลฯ
จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ
ซึ่งถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กสามารถทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่
น่า
สนใจ
มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน
รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ
นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้
รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น
ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การเขียน
การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่าง ๆ
4. การสืบค้น
งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัว
เรื่องที่สนใจเด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว
เพื่อนนอกโรงเรียน
สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่
สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจ
วิเคราะห์วัตถุสิ่งของตนเอง เขียนโครงร่าง
หรือใช้แว่นขยายส่องดูวัตถุต่าง ๆ
หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
5. การจัดแสดง การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ
อาจใช้ฝาผนังหรือป้ายจัดแสดงงานของ
เด็ก เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด
ความรู้ที่ได้จากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้น
ครูสามารถให้เด็กในชั้นได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปราย
หรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย
ลักษณะทั้ง 5 ประการดังที่กล่าวมา จะปรากฏในแต่ละระยะของงานโครงการ
ซึ่งมีอยู่
3 ระยะ คือ (พัชรี
ผลโยธิน,2551)
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ : ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก
เด็กและครูจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอภิปรายเพื่อเลือกและปรับหัวเรื่องที่จะทำการสืบค้น
หัวเรื่องอาจเสนอโดยเด็ก
หรือครูและเด็กร่วมกันโดยใช้หลักในการเลือกหัวเรื่องดังนี้
1.
เลือกหัวเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ทุกวัน อย่างน้อยเด็ก
ประมาณ 2 – 3 คน ควรคุ้นเคยกับหัวเรื่อง
และจะช่วยในการตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับหัวเรื่อง
2.
ทักษะพื้นฐานทางการรู้หนังสือและจำนวน
ควรถูกบูรณาการอยู่ในหัว
เรื่องที่ทำโครงการรวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา เช่น
การถามคำถาม การสังเกต การนับ
การทำกราฟ การสเก็ตซ์ภาพ
การปั้น การประดิษฐ์ ฯลฯ
3.
หัวเรื่องที่เลือกควรใช้เวลาทำโครงการได้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ และ
เหมาะที่จะทำการสำรวจค้นคว้าที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้านเมื่อได้หัวเรื่องแล้ว
ครูควรเริ่มทำแผนที่ทางความคิด (Mind map) หรือ ใยแมงมุม(Web)
เพื่อระดมความคิดร่วมกับเด็กในหัวเรื่องนั้น
และจัดแสดงแผนที่ทางความคิดที่ทำไว้ภายในชั้นเรียน ซึ่งข้อมูลต่าง
ๆที่ได้สามารถใช้ในการสรุป อภิปราย
ระหว่างทำโครงการ
และยังสามารถเชื่อมโยงไปยังหัวเรื่องย่อยได้อีกนอกจากนี้
ในช่วงอภิปรายระดมความคิด
ครูจะทราบว่าเด็กมีประสบการณ์ในหัวเรื่องนั้นเพียงใดที่เด็กจะเสนอ
ประสบการณ์และแสดงแนวคิดสิ่งที่ตนเข้าใจในรูปแบบต่าง
ๆ ตามความเหมาะสมของวัย เช่นเด็กปฐมวัยอาจใช้การเขียนภาพ
เล่นบทบาทสมมติ ฯลฯ
ครูจะเป็นผู้ช่วยให้เด็กเสนอคำถามที่ต้องการสืบค้นคำตอบ
จดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องที่จะสืบค้นถูกส่งไปยังบ้านของเด็ก
ครูจะเป็นผู้กระตุ้นให้พ่อแม่พูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับหัวเรื่องเพื่อแลก
เปลี่ยนประสบการณ์
ครูจะชี้แนะวิธีสืบค้นเพื่อให้เด็กแต่ละคนได้ทำงานตามศักยภาพโดยใช้ทักษะ
พื้นฐานทางการสร้าง
การวาดภาพ ดนตรี และบทบาทสมมติ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ : ให้
โอกาสเด็กค้นคว้า
และมีประสบการณ์ใหม่เป็นงานในภาคสนาม
ประกอบด้วยการสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ
ครูจะเป็นผู้จัดหา
จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น
ไม่ว่าจะเป็นจริง หนังสือ
วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆหรือแม้แต่การออกภาคสนามหรือไปศึกษานอกสถานที่
หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรท้องถิ่น เพื่อให้เด็กได้ทำการสืบค้น
สังเกตอย่างใกล้ชิด และบันทึกสิ่งที่พบเห็น
เขียนภาพที่เกิดจากการสังเกต จัดทำกราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม หรือสร้างแบบต่าง
ๆ สำรวจ คาดคะเน
มีการอภิปรายเล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงความเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ : ประเมิน
สะท้อนกลับ และแลกเปลี่ยนงานโครงการเป็นระยะสรุปเหตุการณ์
รวมถึงการเตรียมเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดงการค้นพบ
และจัดทำสิ่งต่าง ๆ สนทนา เล่นบทบาทสมมติ
หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้างครูควรจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่
ตนเรียนรู้กับผู้อื่น
เด็กสามารถช่วยกันเล่าเรื่องการทำโครงการให้ผู้อื่นฟังโดยจัดแสดงสิ่งที่
เป็นจุดเด่นให้เพื่อนในชั้นเรียนอื่น ครู
พ่อ แม่ ผู้ปกครอง
และผู้บริหารได้เห็น
ครูจะช่วยเด็กเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาแสดง
ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับช่วยให้เด็กทบทวนและประเมินโครงการทั้งหมด
ครูอาจเสนอให้เด็กใช้จินตนาการ ความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านทางศิลปะ
ทางละคร
สุดท้ายครูนำความคิดและความสนใจของเด็กไปสู่การสรุปโครงการ
และอาจนำไปสู่หัวเรื่องใหม่ของโครงการต่อไป
คุณค่าของโครงการ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
มุ่งเน้นให้สอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการสอนโดยการทำโครงการเป็นวิธีหนึ่ง
โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ประเภท คือ (วิมลศรี สุวรรณรัตน์, 2544)
1. โครงการตามสาระการเรียนรู้ เป็นโครงการที่นักเรียนมีกรอบการทำงานภายใต้วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง
2. โครงการตามความสนใจ นักเรียนอาสาสมัครทำตามความสนใจจากการสังเกตจากความสนใจส่วนตัว
ประเภทของโครงการ
เนื่องจากโครงการ
คือ การแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของนักเรียน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเนื้อหาหรือข้อสงสัยตรงกับรายวิชาใด
ก็จัดเป็นโครงการในรายวิชานั้น ๆ จึงแบ่ง
โครงการตามการได้มาซึ่งคำตอบของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.
โครงการประเภทการสำรวจและรวบรวมข้อมูล
2.
โครงการประเภททดลอง
3.
โครงการประเภทสิ่งประดิษฐ์
4.
โครงการประเภททฤษฏี
บทบาทของครูที่ปรึกษาโครงการ
1.
ใช้วิธีการต่าง ๆ
ที่จะกระตุ้นให้นักเรียนคิดหัวข้อเรื่องโครงการ
2.
จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงการ
3.
ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดเด็กวัยอนุบาลควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ
4.
ให้กำลังใจในกรณีที่ล้มเหลว
ควรแก้ปัญหาต่อไป
5.
ชี้แนะแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้
ผู้รู้ เอกสารต่าง ๆ ในการศึกษาค้นคว้า
6.
ประเมินผลงาน
ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จัดเวทีให้แสดงความรู้ความสามารถ (วิมลศรี
สุวรรณรัตน์, 2544)
แนวการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
การจัดประสบการณ์แบบโครงการ
เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล วัตถุ สภาพแวดล้อม โดยการที่เด็กได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อ
ที่สนใจอย่างลึกซึ้ง เน้นให้เด็กมีอิสระในการคิด
การค้นวิธีที่จะได้คำตอบ จากคำถามที่เด็กตั้งขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ
และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ ความรู้ ความเข้าใจ
และประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้ทำโครงการ การทำโครงการเด็กอาจจะทำเป็นกลุ่มเล็ก
ๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน หรือเป็นรายบุคคล ในแต่ละโครงการจะใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์ก็ได้
ขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก
โดยลักษณะการจัดประสบการณ์แบบโครงการ แบ่งออกได้ดังนี้ (จิรภรณ์ วสุวัต, 2544)
ระยะ
เตรียมการวางแผนเข้าสู่โครงการ เป็นระยะที่เด็กและครูคัดเลือกหัวข้อที่
ศึกษาในโครงการโดยครูและเด็กร่วมกันคิดและตัดสินใจเลือกหัวข้อเพื่อนำมาทำ
โครงการร่วมกันและช่วยกันระดมสมองทำแผนภูมิเครือข่ายการเรียนรู้
ระยะที่
1 เริ่มต้นโครงการ เป็นระยะที่เด็กนำประสบการณ์
ที่มีเกี่ยวกับหัวข้อมานำเสนอ แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นและร่วมกันคิดหาวิธีการที่จะค้นหาคำตอบเกี่ยวกับประเด็นต่าง
ๆที่สนใจซึ่งระยะนี้ถือเป็นพื้นฐานของความเข้าใจที่สำคัญในการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ เป็นระยะที่เป็นหัวใจของโครงการที่เด็กได้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อในเรื่องที่สนใจ
และนำมาเสนอความรู้ที่ได้รับออกมาในรูปแบบของกิจกรรมและผลงานต่าง ๆ
ที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการเรียนรู้
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ เป็นระยะที่สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำเสนอผลงานต่าง
ๆ ที่ได้ทำในโครงการเพื่อให้ผู้ปกครอง ครู เพื่อน ผู้สนใจได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ทำ
ความรู้ที่เด็กจะได้รับเมื่อทำโครงการ
Piaget ได้กล่าวว่าความรู้จากการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
มี 3 ประเภท ได้แก่
1.
ความรู้ทางกายภาพ (Physical
Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่เกิดจากการกระทำกับวัตถุ
และการสังเกตปฏิกิริยาสะท้อนกลับ
ซึ่งความรู้ประเภทนี้จะไม่มีทางสร้างขึ้นได้หากเด็กไม่มีข้อมูลที่เกิดจากปฏิริยาสะท้อนกลับจากวัตถุ
เช่นการสังเกตการณ์จม
และการลอยของวัตถุชนิดต่าง ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามความรู้ประเภทนี้ไม่สามารถที่จะละเอียดละออได้หากไม่มีเหตุผลทางตรรกะเข้ามา
2.
ความรู้ทางตรรกะ คณิตศาสตร์ (Logio –
Mathematical Knowledge) เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผลของการกระทำกับวัตถุ
ที่ใช้การคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดไว้ในใจ ดังนั้น การเสนอแนะเกี่ยวกับผลของการกระทำ
จะเกิดขึ้นก่อนที่วัตถุนั้นจะถูกกระทำ
และเรื่องราวของความสัมพันธ์ที่ใช้การแทนค่าของวัตถุ เช่นเรื่องจำนวน
ซึ่งไม่ได้อยู่ในกลุ่มวัตถุใด
3.
ความรู้ทางสังคม (Conventional
Arbitry Knowledge) เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในสังคม เช่นการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับหรือกฎหมาย
การเรียนรู้และปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ ของสังคม
หรือ การเรียนรู้ภาษาที่ใช้ในการพูและเขียน เป็นต้น
กิจกรรมที่สำคัญในการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
การจัดประสบการณ์แต่ละระยะ
มีกิจกรรมที่สำคัญดังนี้ (วิมลศรี สุวรรณรัตน์, 2544)
1.
การพูดคุยสนทนา (Discussion)
การพูดคุยสนทนาเป็นกิจกรรมที่สำคัญในทุกระยะของการทำโครงการ
ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป
นอกจากนี้ครูควรเลือกเวลา
และสถานที่ในการพูดคุยกับเด็กที่ครูพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมในการพูดคุยกับเด็กทั้งชั้น
ขณะที่เด็กมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วเด็กต้องการที่ปรึกษาหรือ
การแก้ปัญหาต่างๆนอกจากนี้การพูดคุยสนทนาเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ความเข้าใจ
และประสบการณ์ของตนเองที่มีไปยังครูและเพื่อนและรับรู้ถึงความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ของบุคคลอื่น
วิธีการตั้งคำถามที่กระตุ้นความสนใจเด็ก มีความสำคัญอย่างมากในการที่ครูจะนำไปใช้เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก
เพื่อให้เด็กได้คิด และพยายามค้นหาคำตอบ
ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางความคิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เช่น K_W_L เป็นเทคนิควิธีการกระตุ้นความสนใจของเด็ก
ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจพื้นฐานที่มีเกี่ยวกับหัวข้อ
และเตรียมการในการเรียนรู้ของเด็ก
What you Know ? อะไรที่เด็กอยากรู้
What you Want ?
อะไรที่เด็กต้องการ
What you Learned ? อะไรที่เด็กรู้แล้ว
ยังมีคำถามที่สามารถกระตุ้นความสนใจของเด็กดังนี้
เด็กเห็นอะไร,
เด็กรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น, คาดว่าอะไรจะเกิดขึ้น, ได้เรียนรู้
อะไรเกี่ยวกับสิ่งที่คาดไว้,
เด็กอยากเป็นอะไร, อยากรู้อะไรเกี่ยวกับอาชีพนี้, รู้อะไรบ้างเกี่ยวกับอาชีพนี้
เป็นต้น
2.
การปฏิบัติงานภาคสนาม (Field
Work)
การปฏิบัติภาคสนามจะช่วยให้เด็กได้ทั้งเป็นผู้รับและผู้สร้าง
ความรู้ซึ่งเกิดจากการที่เด็กได้มีโอกาสค้นคว้าข้อมูลที่เป็นแหล่งข้อมูล
ปฐมภูมิ และจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนชัดขึ้น
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ปฏิบัติภาคสนามมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กวัยอนุบาล
และทุก
ๆวัยมาก เพราะเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง
5 คือ การมอง
การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม และความประทับใจ
จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3.
การนำเสนอ (Representation)
การนำเสนอเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ถ่ายทอดความรู้
ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กกำลังทำโครงการ
การนำเสนอจึงเป็นกิจกรรมที่เด็กสามารถทำออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการวาดภาพ
การเขียน การระบายสี การสร้าง การประดิษฐ์ การปั้น การตัด การแสดงละคร
บทบาทสมมติ การร้องเพลง การเต้น การเล่นเกม
และอื่น ๆ ที่เด็กสนใจ การที่เด็กจะทำผลงานหรือนำเสนอสิ่งต่าง ๆ
เด็กจะต้องทำความเข้าใจ และใช้ความรู้ ทักษะต่าง ๆเช่น คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ศิลปะและอื่น ๆ
การนำเสนอจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนกรเรียนรู้ของเด็ก
4.
การค้นคว้า (Investigation)
การค้นคว้าเป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือ
การหาวิธีการที่จะได้ข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับหัวข้อ
การค้นคว้ามีกลวิธีที่เด็กจะได้ปฏิบัติจากการทำโครงการคือ กลวิธีการเป็นผู้กระทำ
และกลวิธีการเป็นผู้รับ
5.
การจัดแสดง (Display)
การจัดแสดง เป็นการนำความรู้ หรือผลงานที่เด็กได้ทำในโครงการออกนำเสนอ
ซึ่งจะทำให้เด็กที่ทำโครงการได้นำผลงานมาแสดงให้เพื่อน ครูและผู้ปกครองได้เห็นถึงขั้นตอน และ
กระบวนการการเรียนรู้ที่เด็กได้ทำในโครงการ การจัดแสดงมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดป้ายนิเทศ การจัดนิทรรศการ
และการจัดแสดงอื่น ๆ
ดัง
นั้นการจัดประสบการณ์แบบโครงการจังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของ
เด็กที่แตกต่างจากการจัดประสบการณ์โดยทั่ว
ๆไป คือ การเปิดโอกาสให้เด็กสร้างทางเลือก และใช้การตัดสินใจ
การให้เด็กได้เรียนรู้ความผิดพลาดของตนเอง
ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์เพื่อช่วยในการคิดและตัดสินใจในครั้งต่อไป
การให้เด็กคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้น
ความลึกซึ้งในเรื่องที่ศึกษาขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กที่จะค้นคว้าหาความ
รู้ของตนเองและครูจะให้คำแนะนำตามความสนใจที่เด็กอยากเรียนรู้
ในแต่ละระยะของการทำโครงการกิจกรรมหลักที่สำคัญทั้ง 5 กิจกรรมจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
และพัฒนาโครงการที่ทำจนเป็นผลสำเร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น