วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิธีเสริมสร้างสมองสำหรับเด็กแรกเกิด

วิธีเสริมสร้างสมองสำหรับเด็กแรกเกิด
คุณสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด สมองของทารกแรกเกิดจะมีขนาดประมาณ 25% ­ของสมองผู้ใหญ่ และจะเติบโตขึ้นเป็น 75% เมื่ออายุ 2 ­ขวบ ซึ่งถือเป็นพัฒนาการช่วงสำคัญของสมอง นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการกระตุ้นสมองจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กในช่วง ขวบวัยนี้

วิธีที่ดีที่สุดคือการให้ลูกได้ลองทำกิจกรรมหลากหลาย แต่คุณไม่จำเป็นต้องอัดกิจกรรมให้ลูกจนแน่น แค่ให้เขาได้ลองทำอะไรง่าย ๆ พื้น ๆ ที่เหมาะสมกับวัย อาทิ:
–          โมบายแขวน หรือ การ์ดรูปภาพ
–          ดนตรีเบา ๆ ฟังสบาย ๆ
–          นมแม่คือแหล่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกซึ่งช่วยในการพัฒนาสมอง มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่านมแม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญาของ เด็ก
–          เข้าไปใกล้ ๆ เวลาพูดคุยกับเขาเพื่อให้เขาเห็นคุณชัดขึ้น
–          ทารกมักชอบให้คุณอยู่ใกล้ชิด พยายามกอด หอม สัมผัสเขาบ่อย ๆ หรือแม้แต่การใช้โทนเสียงต่าง ๆ กันเวลาอ่านนิทาน
–          จับลูกคว่ำวันละ 2-3 นาที เพื่อให้เขาได้ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง

วิธีเสริมสร้างสมองสำหรับเด็กทารก
เมื่อลูกน้อยเริ่มโตขึ้น คุณสามารถลองให้เขาทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้มากขึ้น สมองของทารกจะพัฒนาเมื่อเขาได้เรียนรู้เสียงจากสิ่งของต่าง ๆ เช่นเสียงจากของเล่น หรือช้อนส้อม ฯลฯ การมองลูกบอลกลิ้งและพยายามจะจับลูกบอลก็ช่วยพัฒนาสมองเช่นกัน ลองปรับเปลี่ยนเวลาการเล่นและกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม คุณอาจอยากลองกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้:
–          เปิดดนตรีหลาย ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นดนตรีคลาสสิกไปจนถึงเพลงร็อค แต่อย่าเปิดเพลงดังเกินไป
–          ลองให้ลูกได้สัมผัสพื้นผิว มองสีสัน และฟังเสียงต่าง ๆ พาเขาออกไปเดินเล่นนอกบ้าน เปลี่ยนของเล่น หนังสือ หรือแม้แต่สื่อโสตทัศน์ต่าง ๆ เพื่อให้เขาได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย
–          บล็อกตัวต่อเป็นของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมองชั้นเยี่ยม
–          การดูแลใกล้ชิดก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนาของเด็ก พยายามอยู่ใกล้ชิดกับเขามากที่สุด ร้องเพลง คุยกับเขา กอดเขาบ่อย ๆ
อย่าลืมว่าแม้คุณอาจไม่สามารถซื้อของเล่นแพง ๆ ให้ลูก สิ่งสำคัญคือคุณควรใช้เวลาอยู่กับเขาให้มากที่สุด เพราะนั่นคือปัจจัยที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยที่สำคัญที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น