วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การสอนภาษาตามแนวธรรมชาติ (The Natural Approach (NA))


การสอนภาษาตามแนวธรรมชาติ (The Natural Approach (NA))



แนวคิดพื้นฐาน

            การสอนภาษาตามแนวทางแบบธรรมชาติ(The Natural Approach (NA))เป็นผลผลิตจากการค้นคว้าของ สตีเฟน คราเชน (Stephen Krashen) นักภาษาศาสตร์ประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัย Southern California และ เทรซี่ เทเรล อาจารย์สอนภาษาสเปนในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยทั้งสองได้พัฒนาแนวคิดวิธีการสอนแบบธรรมชาตินี้จากการศึกษาเรื่องการ เรียนรู้ภาษาที่สองของคราเชน และประสบการณ์การสอนภาษาสเปนให้ชาวต่างชาติของเทเรลเอง   แนวคิดที่เป็นความเชื่อของทฤษฎีนี้คือ ผู้เรียนภาษาที่พ้นวัยเด็กมาแล้วยังคงมีความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาที่สอง ได้เช่นเดียวกับการเรียนรู้ทักษะภาษาแม่ในวัยเด็ก ถึงแม้ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่มีความแตกต่างจากผู้เรียนที่เป็นเด็กในแง่ของการ เรียนรู้ หรือเข้าใจรูปแบบภาษาที่เป็นนามธรรมตลอดจนกฎทางไวยากรณ์ของภาษาเป้า หมายอย่างรู้ตัว (conscious learning) ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่กล้าแสดงออกเท่าเด็กก็ตาม คราเชน และเทเรล (Krashen and Terrell 1983) กล่าวว่า การสื่อสารเป็นเป้าหมายหลักในการทำหน้าที่ของภาษา” ดัง นั้นแกนหลักของการสอนแบบธรรมชาติอยู่ที่การสอนทักษะการสื่อสารนั้นเอง โดยภาพรวมหลักของการสอนภาษาและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะถูกเน้นไปที่ ความหมาย” เป็น หลัก ซึ่งทั้งคราเชนและเทเรลได้เน้นในเรื่องของความหมายไว้ที่การเรียนคำศัพท์ และการนำภาษาที่เรียนไปใช้เพื่อการสื่อสาร และจากมุมมองของคราเชน การได้มาซึ่งภาษาคือ การหลอมรวมกฎของภาษาโดยผ่านการสื่อสาร กล่าวคือความสามารถทางภาษาของผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากการที่ ใส่ข้อมูลที่มีความหมาย (Comprehensive Input) ภาย ใต้โครงสร้างทางไวยากรณ์ทางภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ให้กับระดับความสามารถของผู้เรียนที่มีอยู่ และใส่เนื้อหาทางภาษาใหม่เพิ่มเติมเข้าไป
นอกจากนี้แล้วแนวคิดการเรียนภาษาแบบธรรมชาติยังได้เน้นถึงเรื่องสมมุติฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของตัวผู้เรียนเอง (The Monitor Hypothesis) และสมมุติฐานในเรื่องตัวกรองอารมณ์ ( The Affective Filter Hypothesis) โดยที่ตลอดในช่วงระยะเวลาที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยรู้สึกตัว (Consciously) นี้เมื่อความสามารถทางภาษาได้รับการพัฒนาขึ้น ผู้เรียนจะรู้สึกถึงสิ่งที่ตัวเองได้สื่อสารออกไปว่า ถูก” หรือ ผิด” และ จะทำการแก้ไขเมื่อมีเวลาพอเพียง เช่น การใช้ภาษาในเวลาที่มีการทดสอบทางภาษา เป็นต้น ซึ่งการตรวจสอบนี้ เมื่อทำซ้ำนานเข้าก็จะทำให้ผู้เรียนมีความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาตามมาในที่ สุด และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ การรับข้อมูลและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อ สภาวะทางอารมณ์และความวิตกกังวลของผู้เรียนได้รับการควบคุมโดยการเสริมแรงใน เรื่องบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นกันเอง (Richards and Rodgers,2001 ,p181,183 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น