วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเล่นของลูกเพื่การพัฒนาสมองน้อยๆ

การเล่นของลูกเพื่การพัฒนาสมองน้อยๆ
  ได้มีโอกาสไปเรียนกับคุณหมอจันท์ฑิตา พฤกษานานนท์  ปีที่แล้ว รู้สึกชอบมากๆ วันนี้ไปเจอบทความของบุ๊คฟอร์คิดส์ จึงขอนำมาแบ่งปันบางส่วนน่ะค่ะ
"ปล่อยให้น้อง ๆ เล่นคนเดียวบ้างนะคะ น้อง ๆ จะได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ค่ะ 


ความสำคัญของการเล่นคนเดียว โดย พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ /คลินิกเด็ก.คอม

แม้ว่าการเล่นกับผู้ใหญ่ และเด็กคนอื่นๆ นั้นสำคัญต่อการพัฒนาการของเด็กมาก แต่ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการเด็กนั้น จะมีความเห็นว่า เด็กเองก็ ควรที่จะมีเวลาเป็นของตนเอง โดยปล่อยให้อยู่คนเดียว... และเล่นของเขาเองบ้าง ซึ่งในการที่เด็กได้อยู่คนเดียวนั้น ทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลองทำอะไรเอง แม้ว่าจะผิดจะถูก และหัดการพึ่งตนเอง ฝึกสมาธิ ได้ทำอะไรตามที่ตนเองต้องการทำ โดยไม่มีใครมากวนหรือชี้นำ

ที่ สำคัญคือ การที่เด็กได้มีโอกาสทำอะไรเอง และฝึกที่จะเล่นคนเดียวบ้าง ทำให้ความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองดีขึ้น และมีความภูมิใจในตนเอง (self-esteem)

ในขั้นตอนการพัฒนาการของเด็กปกตินั้น เด็กจะเริ่มรู้สึกว่า ตนเองมีตัวตน และแตกต่างจาก พ่อและแม่ ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 8 เดือน การให้เด็กเล่นคนเดียว เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักตนเอง และเป็นเพื่อนของตนเองได้ เด็กจะไม่รู้สึกเหงา หรือกลัว เมื่อต้องอยู่คนเดียว ดังนั้นเมื่อเขาโตขึ้น และเริ่มออกไปสู่โลกภายนอก เขาจะสามารถหาเพื่อนใหม่ได้เสมอ เพราะเขาชอบที่จะมีเพื่อน ไม่ใช่เป็นเพราะเขาเหงา ไม่อยากอยู่คนเดียว

ข้อดีอีกอย่างหนึ่ง ของการปล่อยให้เด็กเล่นเองคนเดียวบ้างก็คือ คุณพ่อคุณแม่พอที่จะมีเวลาว่างเพื่อ ไปทำสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น การโทรศัพท์ติดต่อธุระ หรือการพักผ่อนสักครู่ เพื่อเติมพลังก่อนที่จะมาดูแลเขาใหม่ แต่การปล่อยให้เด็กอยู่เล่นคนเดียว ไม่ใช่เป็นการปล่อยทิ้งให้เขาอยู่คนเดียวในห้อง หรือบนเตียงที่ทำเป็นคอกไว้

ก่อนที่คุณจะฝึกให้ลูกอยู่เล่นเองคนเดียว คุณควรที่จะเตรียมตัวลูกให้พร้อม ที่จะอยู่เล่นเองคนเดียวได้ โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

สิ่งแรกคือ คุณควรจะรู้ถึง ขั้นตอนการพัฒนาการของเด็กในแต่ละอายุด้วย เพราะเด็กที่อายุมากขึ้น จะสามารถเล่นเองคนเดียว ได้นานมากขึ้น เช่น เด็กอายุ 6 เดือน จะสามารถอยู่เองคนเดียว ได้ประมาณ 5 นาที, อายุ 1 ขวบ จะเล่นเองคนเดียว ได้ประมาณ 15 นาที พออายุ ขวบครึ่ง จะประมาณ 15 ถึง 20 นาที ขณะที่อายุ 2 ขวบขึ้นไป จะได้ประมาณครึ่งชั่วโมง

นอกจากนี้ คุณควรที่ดูลักษณะนิสัยส่วนตัวของลูก ด้วย เด็กบางคนอาจจะชอบร้องกวน โวยวาย ให้มีคนอุ้ม หรืออยู่ด้วยตลอดเวลา แต่บางคนอาจจะอยู่คนเดียว บนเตียงของเขาเองได้ตั้งแต่เล็ก ซึ่งจะทำให้การฝึกให้ลูกเล่นเองคนเดียว ทำได้ง่ายขึ้น

เมื่อคุณเริ่มฝึกลูก คุณควรที่จะเริ่มทำทีละน้อย และสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยก่อน เลือกหาที่ที่จะให้เด็กอยู่ได้ตามลำพัง โดยควรเป็นที่ที่สำรวจดูแล้วว่า จะปลอดภัยต่อเด็กไม่เกิดอุบัติเหตุอื่นได้ง่าย พยายามพาลูกมาเล่นในบริเวณนี้ทุกวัน หาหนังสือ หรือของเล่นที่เขาชอบมาไว้ให้ และในช่วงแรก คุณควรที่จะเล่นกับเขาให้เขาคุ้นเคยก่อน จนเริ่มที่จะเล่นเอง จากนั้นคุณจึงค่อยถอยห่างออกไปในแต่ละวัน จนคุณแน่ใจว่า เขาสามารถดูแลตนเองได้ จึงค่อยปล่อยให้เขาอยู่ตามลำพังได้

แต่สำหรับเด็กเล็กกว่า 1 ขวบ มักจะไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ คุณควรจะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงใน ห้อง และคอยตอบสนองเขา เมื่อเขาเรียกหา ถ้าเด็กโตขึ้น อาจจะเล่นเองได้นานขึ้น คุณก็อาจจะทำงานอยู่ในห้องข้างๆ ที่จะสามารถได้ยินเสียงลูกร้อง และแวะเข้ามาดูเขาบ้างเป็นครั้งคราว คอยพูดคุยกับเขา ให้เขาสบายใจว่า คุณยังอยู่ใกล้ๆ และจะมาหาเขาได้เสมอ เมื่อเขาต้องการ แต่ถ้าลูกหยุดเล่นทันทีที่เห็นคุณทำท่าจะจากไป คุณควรจะให้เวลาเล่นกับเขาต่ออีกสักหน่อย แล้วค่อยๆ ผละออกไปสักพัก (ไม่กี่นาที) แล้วค่อยกลับเข้ามาใหม่ เพื่อให้เขาวางใจว่าคุณไม่ได้หายไปไหน

เด็กบางคนจะกลัวการถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว กลัวการพลัดพราก (separation anxiety) เนื่องจากเด็กยังไม่ความเข้าใจความ หมายของเวลา และการคอย เขาไม่รู้ว่า เมื่อเห็นคุณเดินออกไปจากห้อง (หรือหายไปจากสายตาเขา) อีกนานเท่าไรคุณจึงจะกลับมาอีก ทำให้เขามีอาการเกาะติดคุณแจ เมื่อเห็นว่าคุณกำลังจะจากไป คุณจึงควรฝึกเขา และให้ความมั่นใจแก่เขาว่า แม้ว่าคุณจะไม่ได้อยู่ในห้อง แต่คุณก็อยู่ใกล้ๆ นั่นเอง ซึ่งเมื่อคุณทำอย่างนี้ต่อไปสักระยะหนึ่ง ลูกก็จะวางใจ และสนใจในของเล่นของเขา มากกว่าที่จะคอยจ้องดูว่า คุณจะหลบออกไปจากเขาเมื่อไร

บางครั้งอาจจะไม่ใช่อยู่ที่ตัวลูกเอง ที่ไม่อยากอยู่คนเดียว แต่เป็นจากตัวคุณพ่อคุณแม่เองด้วย เนื่องจากสมัยนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร หลายคนจะได้ยินเกี่ยวกับโรคของเด็ก เช่น โรคออทิสติค ฯลฯ เลยมีความรู้สึกว่า จะต้องกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้มากๆ จึงพยายามที่จะทำอะไรๆ กับลูกตลอดเวลา จนบางทีทำให้เด็กเหนื่อย และหงุดหงิด อีกทั้งไม่ได้มีโอกาส “ลองทำเอง” ดูบ้างอย่างที่ตนเองต้องการ ทำให้กลายเป็นเด็กที่ติดพ่อแม่ และไม่กล้าที่จะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะรู้สึกผิด ถ้าไม่ได้เล่นกับลูกให้มากๆ แต่เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา จึงพยายามกระตุ้นลูกทุกวินาที จนเด็กเบื่อไปเลย  ซึ่งอยากให้คุณพ่อคุณแม่เดินสายกลาง คือ ปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสเล่นโดยลำพังของเขาเองบ้าง กับมีโอกาสเล่นกับคนอื่นๆบ้าง แม้ว่าอาจจะยาก ที่เราจะทำนิ่งเฉยปล่อยให้เด็กเล่นอยู่คนเดียวทั้งๆ ที่เราเองก็ว่าง

แต่ในบางครั้งเราต้องรู้ว่า การที่ลูกได้มีโอกาสทำอะไรเอง และเล่นคนเดียวเองบ้างนั้น เป็นการเสริมพัฒนาการของเขาเองเช่น กัน ถ้าคุณได้ลองสังเกตลูกดูว่า เขาเล่นของเขาเองอย่างไร คุณอาจจะประหลาดใจ ที่เด็กจะมีความคิด และวิธีการเล่นสิ่งของต่างๆ (แล้วแต่วัยของเขา) ที่ฉลาดและน่าทึ่งทีเดียว ซึ่งผู้ใหญ่เอง ก็อาจจะได้เรียนรู้จากเด็กด้วย เพราะมีคุณพ่อคุณแม่หลายคน อาจจะใช้เวลาเล่นกับลูก แต่ก็พยายามฝึกให้ลูกต้องทำต้องเล่น แบบที่ผู้ใหญ่ทำกัน ซึ่งในบางครั้ง อาจเป็นการปิดกั้นการมีความคิดสร้าง สรรค์ หรือมุมมองของเด็ก ที่มีต่อสิ่งต่างๆ ทำให้เด็กสูญเสียความสามารถ ในการพัฒนาตนเอง ในแง่เหล่านี้ไป เพราะถูกผู้ใหญ่ตีกรอบไว้ ให้หมดแล้ว

ในแง่ของการเลี้ยงดูลูกแบบสมัยใหม่ ที่จะให้เด็กได้มีอิสระ และใช้ความสามารถในตัวเขาเอง ในการเล่นและแก้ปัญหา การที่คุณพ่อคุณแม่ได้มีโอกาส ปล่อยให้เขาเล่นเองตามลำพังบ้าง ก็จะช่วยให้เขาได้ฝึกฝน การเป็นตัวของตัวเอง และได้ลองใช้ความสามารถส่วนตัวของเขา ในการสังเกต และการใช้ สายตา,มือ, เท้า และ ระบบประสาทอื่นๆ ในการเล่น คุณพ่อคุณแม่ยังควรใช้เวลาอันมีค่ากับเขา เช่น การเล่านิทานก่อนนอน หรือการร้องเพลงกล่อมเด็ก ในช่วงก่อนนอน เพื่อให้เขาสัมผัสได้ ถึงความรักความอาทรที่เรามีต่อเขา เพื่อที่เด็กจะได้เติบโต ไปเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมไปตามวัย
ขอบคุณข้อมูลจาก บุ๊คฟอร์คิด และขอบคุณคุณหมอจันฑิตา  ที่มีข้อมูลดีๆมาเสมอค่ะ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ของแถมค่ะ

เด็กรู้สึกว่าถูกรัก เมื่อได้รับการสวมกอด การหอม คำชมเชย รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ คำแสดงความชื่นชมยินดีในตัวของเขา
เด็กรู้สึกว่าได้รับการให้เกียรติ เมื่อมีคนยอมนั่งฟัง สิ่งที่เค้าอยากจะพูด
เด็กรู้สึกว่า คนรอบข้างของเขา รักเขาด้วยความจริงใจ  ให้ความใส่ใจ เต็มไปด้วยสัมผัสที่อบอุ่น

Smiley Smiley

สมอง ของมนุษย์เรามีระบบความจำสองแบบ คือ การจำแบบท่องจำ(Explicit memory) เช่นการจำข้อมูล การท่องจำวิชาต่างๆ และแบบที่สองคือ การจำแบบลงมือทำ (Implicit memory) เช่นการขี่จักรยาน การเล่นคอมพิวเตอร์ การเล่นเปียนโน ความทรงจำสองแบบนี้รับส่งลูกกันตลอดเวลาเพื่อสร้างความทรงจำระยะสั้นและระยะ ยาวให้กับเราตลอดชีวิต
Smiley Smiley

ฝึกคัดแยก (Sorting)

การ ฝึกให้สมองรู้จักสังเกต เป็นงานสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้คนรู้จักสังเกตได้ง่ายๆ ในกิจกรรมนี้ สมองจะจัดการแยกแอปเปิลไปทางหนึ่ง กีวีไปทางหนึ่ง ส้มไปทางหนึ่ง ขณะที่จับแยกนั้น สมองเรียนรู้ สังเกตโดยปริยายว่า ลักษณะของมะเฟืองเป็นแบบนี้ (รูปดาว) ลักษณะของกีวีเป็นแบบนี้ การใช้มือจับซ้ำ ก็คือการฝึกทักษะในการสังเกต (observation) อย่างต่อเนื่องกันนั้นเอง

ที่มา : 100 ideas สื่อการสอนปฐมวัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น