grounded
theory method
เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นในสาขาสังคมวิทยา
โดย Barney Glaser กับ Anselm Strauss
(1967)
เพื่อสร้างคำอธิบายเชิงทฤษฎีจากข้อมูลโดยตรง
วิธีวิทยาของการสร้างทฤษฎีฐานรากพัฒนาขึ้นมาจากความเชื่อพื้นฐานที่ว่า
การจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และการอยู่รวมกันของมนุษย์
จำเป็นต้องเข้าใจถึงกระบวนการที่บุคคลได้สร้างความหมายให้กับสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัว
เพราะความคิดและการกระทำของมนุษย์มีพื้นฐานที่สำคัญอยู่ที่ความหมายที่ตนมีต่อสิ่งต่างๆ
วิธีวิทยาแบบนี้จึงเน้นที่การศึกษาปรากฏการทางสังคม
โดยยึดหลักของการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาสร้างมโนทัศน์
หาความเชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์ ต่างๆ
เพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงทฤษฎีของปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการหาคำอธิบาย
หลักการสร้างทฤษฎีฐานราก
คือ
1)
ผู้วิจัยต้องมีความไวเชิงทฤษฎี (theoretical
sensitivity)
ต่อการที่จะคิดและศึกษาข้อมูลในลักษณะที่จะนำไปสู่การสร้างมโนทัศน์และทฤษฎี
ในทุกขั้นตอนของการวิจัย
2)
ผู้วิจัยต้องทำงานใกล้ชิดกับกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน
3)
กระบวนการสร้างทฤษฎีฐานราก เน้นการเข้าถึงข้อมูล
การเก็บข้อมูล
การตีความข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีที่เหมาะสม
4) การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานรากถือว่า มโนทัศน์ สมมติฐาน
และกรอบแนวคิดสำหรับการอธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาจะต้องมาจากข้อมูลโดยตรง
และ
5) ทฤษฎีที่ได้มาด้วยวิธีวิจัยแบบทฤษฎีฐานราก
ถือเป็นทฤษฎีที่นักวิจัยสร้างขึ้นมาจากข้อมูลโดยตรง
และเป็นทฤษฎีที่มุ่งหาคำอธิบายให้แก่ปรากฏการณ์ที่นักวิจัยเลือกมาศึกษาเป็นหลัก
ขั้นตอนสำคัญของการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
มีขั้นตอนสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1)
นักวิจัยต้องมีคำถามสำหรับการวิจัยที่ชัดเจนก่อนว่าอยากรู้อะไร
เพราะคำถามการวิจัยจะเป็นแนวทางในการออกแบบกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2) นักวิจัยอาจใช้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
และอาจใช้เทคนิคทุกอย่างที่เหมาะสมและเข้าข่าย
เพื่อการรวบรวมข้อมูล
3) กระบวนการเก็บข้อมูล
เมื่อได้ข้อมูลชุดแรก ผู้วิจัยจะต้องเริ่มศึกษาข้อมูลที่ได้มา
สร้างมโนทัศน์จากข้อมูลและเชื่อมโยงมโนทัศน์ต่างๆตามที่ปรากฏในข้อมูล
แล้วสร้างสมมติฐานชั่วคราวแล้วจึงตัดสินใจว่าจะนำสมมติฐานนี้ไปใช้กับข้อมูลใด
การเลือกเก็บข้อมูลต่อไปจะเกิดจากข้อคำถามที่ผู้วิจัยมีต่อข้อสรุปเชิงทฤษฎีชั่วคราวที่ได้มาในตอนแรก
4)
การสร้างสมมติฐานชั่วคราวเป็นขั้นตอนสำคัญของการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
เป็นความพยายามที่จะตรวจสอบกรอบของทฤษฎีที่ได้มาว่ามีความสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่ สมมติฐานหรือกรอบแนวคิดที่ได้ในขั้นตอนนี้จะต้องถูกตรวจสอบกับข้อมูลชุดใหม่ซึ่งนักวิจัยจะรวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่าง
ที่จะเลือกมาเพื่อการตรวจสอบและปรับปรุงสมมติฐานที่ได้ในเบื้องต้นโดยเฉพาะ
ข้อมูลที่รวบรวมใหม่อาจให้มโนทัศน์ใหม่
ส่งผลให้ต้องปรับสมมติฐานและกรอบแนวคิดตามไปด้วย มโนทัศน์ สมมติฐาน
และกรอบแนวคิดที่ปรับใหม่นี้จะต้องถูกนำไปตรวจสอบกับข้อมูลซึ่งจะต้องรวบรวมมาใหม่อีก
ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
จนไม่มีความจำเป็นที่จะปรับปรุงสมมติฐานและกรอบแนวคิดอีกต่อไป
เรียกว่า จุดอิ่มตัว (salutation) และ
5)
เมื่อถึงจุดอิ่มตัวแล้วหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
สมมติฐานไม่ได้ถูกท้าทายจากข้อมูลใหม่
และไม่ม่ความจำเป็นจะต้องปรับอีกต่อไป
นักวิจัยจึงจะหยุดการเก็บข้อมูลและเริ่มขั้นตอนต่อไปในกระบวนการวิจัย
คือ การหาข้อสรุปหรือคำอธิบายเชิงทฤษฎีของสิ่งที่ศึกษา
ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายหรือกรอบแนวคิดทางทฤษฎี
ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก ซึ่งจะเห็นได้ว่า
ลักษณะสำคัญของวิธีดำเนินการวิจัยแบบนี้ เรียกได้ว่า วิธีอุปนัย
(inductive approach) คือ
เริ่มจากข้อมูลจากตัวอย่างที่เจาะจงเลือกมาจำนวนหนึ่ง แล้วจึงวิเคราะห์หาข้อสรุป
หรือคำอธิบายเชิงทฤษฎีที่มีลักษณะทั่วไปของข้อมูลนั้น
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
นักวิจัยใช้การกำหนดรหัส
(coding)
เป็นเครื่องมือในการจำแนกข้อมูล
การกำหนดรหัสคือการ”แตก”ข้อมูล(เชิงคุณภาพ)
ออกเป็น”หน่วยย่อย” หลายๆหน่วย
เพื่อที่นักวิจัยจสามารถจัดการกับข้อมูลได้สะดวก
หน่วยย่อยแต่ละหน่วยนั้นจะถูกให้สัญลักษณ์เป็นรหัส(ชื่อ)
มักจะต้องมีโครงสร้างที่ทำหน้าที่เสมือนกรอบกว้างๆ
และในกระบวนการกำหนดรหัสนั้น นักวิจัยจะต้องทำสองอย่างไปพร้อมๆกัน
คือ
1) อ่านข้อมูลอย่างพินิจพิเคราะห์
เพื่อมองหามโนทัศน์ (concept)
หรือแนวความคิดที่บ่งนัยอยู่ในข้อความนั้น และ
2)
เปรียบเทียบ มโนทัศน์ ที่ปรากฏอยู่ในข้อความหนึ่ง
กับมโนทัศน์ในข้อความอื่นที่เหลือ
เพื่อให้สามารถบอกได้ว่าสิ่งที่บ่งบอกอยู่ในข้อความเหล่านั้นหมายถึงสิ่งเดียวกัน
เรื่องเดียวกัน หรือหมายถึงคนละเรื่องกัน
ข้อความที่มีความหมายเดียวกันจะถูกกำหนดรหัสเป็นตัวเดียวกัน
และที่มีความหมายต่างกันก็จะให้รหัสต่างกัน
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
โปรแกรม Atlas/ti
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่ถูกคิดค้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ช่วยในการตีความข้อความอักษร
เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์และเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
เพราะช่วยในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ได้รับความนิยามสูง อย่างไรก็ตาม
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ไม่ใช่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลแต่นำมาใช้เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยยังคงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการวิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล
ในการทำวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
มีสิ่งที่ผู้วิจัยพึงทำความเข้าใจไว้ล่วงหน้า อาทิเช่น
เมื่อไรควรใช้วิธีการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
เริ่มต้นจากข้อมูลแล้วไปสู่สมมติฐาน
และจบลงด้วยทฤษฎีที่เป็นคำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์ที่ศึกษา
นักวิจัยจะสร้างมโนทัศน์และกรอบแนวคิดทฤษฎ๊ขึ้นมาจากข้อมูลได้อย่างไร
นักวิจัยจะต้องตรวจสอบมโนทัศน์และทฤษฎีที่สร้งขึ้นกับข้อมูลใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัว
นักวิจัยต้องวินิจฉัยว่าแค่ไหนถือว่าถึงจุดอิ่มตัว
และการเลือกตัวอย่างพื่อหาข้อมูลมาตรวจสอบทฤษฎีที่นักวิจัยสร้างขึ้น
เป็นสิ่งที่ยากและท้าทาย
Strauss
and Corbin (1998)
ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินงานวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
ไว้สองด้านพอสรุป ได้ดังนี้ ด้านที่ 1
ด้านกระบวนการวิจัย
พิจารณาจากองค์ประกอบของกระบวนการวิจัย ตามเกณฑ์ 7
ข้อ
และด้านที่ 2 ด้านฐานรากเชิงประจักษ์ของการวิจัย
พิจารณาตามเกณฑ์ 8 ข้อ
สรุป
การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
เป็นวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพที่เริ่มต้นจากข้อมูลแล้วไปสู่สมมติฐานและจบลงด้วยทฤษฎีที่เป็นคำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์ที่ศึกษา
นักวิจัยจะต้องสร้างมโนทัศน์ สมมติฐาน
และกรอบแนวคิดสำหรับอธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษา
กระบวนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจะดำเนินไปพร้อมๆกัน
ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมในเรื่องที่ศึกษาอย่างรอบด้าน
ทฤษฎีที่สร้างขึ้นสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
ด้วยเหตุดังกล่าว
การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานรากจึงเป็นกระบวนการศึกษาที่มีความท้าท้ายและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างองค์ความรู้ใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น