หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย เล่มนี้ จัดทำขึ้นโดยยึดหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๔๖ ดังนี้
๑. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
๒. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู
และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
๓. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
๔. จัดประสบการณ์การเรียนรู้
ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
๕. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน
และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย จะมุ่งส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย ให้มีร่างกายเจริญเติบโตมีสุขนิสัย และสุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรม คิด แก้ปัญหา และใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามวัย มีทักษะในการแสวงหาความรู้ ช่วยเหลือตนเอง และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความเป็นไทย มีคุณลักษณะที่เหมาะสมตามวัย มีความพร้อมที่จะเรียนต่อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภายใน ๒ ปีการศึกษา โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงาน บุคลากร ผู้ปกครอง และชุมชน
ภารกิจ
๑. ครูผู้สอนระดับปฐมวัย
จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เน้นพัฒนาการ
ผู้เรียนทั้ง ๔ ด้าน
๒. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนทั้ง ๔ ด้าน
๓. เฝ้าระวังดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร การดื่มนมอย่างสม่ำเสมอ
๔. จัดหาสื่อ แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมและหลากหลาย
๕. มีการประเมินพัฒนาการผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
และสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย
๖. ครูผู้สอนระดับ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๗. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน บุคลากร ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อระดมความคิด ทรัพยากร
มาช่วยเหลือในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในระดับปฐมวัย
เป้าหมาย
๑. ครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี มีคุณภาพดี
๒. โรงเรียนมีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ตามสภาพของท้องถิ่น
๓. ผู้เรียนระดับปฐมวัย ร้อยละ
๙๕ มีสุขภาพดี เจริญเติบโตตามวัย
๔. โรงเรียนมีสื่อ
และแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมและหลากหลาย
ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้และสัมผัสจริง
๕. ผู้เรียนระดับปฐมวัย ทุกคน
ได้รับการประเมินพัฒนาการ
และนำผลการประเมินนั้นไป
ปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
๖. ครูผู้สอนระดับปฐมวัย
เข้ารับการอบรมทุกครั้งที่มีการจัดการอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษาปฐมวัย
๗. หน่วยงาน บุคลากร
ผู้ปกครองและชุมชน
มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๑. ด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสาน
สัมพันธ์กัน
๒. ด้านอารมณ์ จิตใจ
มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตที่ดี และมีความสุข
มาตรฐานที่ ๔ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
มาตรฐานที่ ๕
ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และการออกกำลังกาย
๓. ด้านสังคม
มาตรฐานที่ ๖
ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ ๗
รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
และความเป็นไทย
มาตรฐานที่ ๘
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๔. ด้านสติปัญญา
มาตรฐานที่ ๙
ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ ๑๐
มีความสามารถในการคิด
และแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ ๑๑
มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ ๑๒
มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
คุณลักษณะตามวัย
ระดับอนุบาลปีที่ ๑
๑. พัฒนาการด้านร่างกาย
¯
กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
¯
รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
¯
เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้
¯
เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
¯
ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
¯
กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
¯
แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
¯
เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ
และผลงานของตนเองและผู้อื่น
¯
ชอบท้าทายผู้ใหญ่
¯
ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ
๓. พัฒนาการด้านสังคม
¯
แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
¯
เล่นร่วมกับคนอื่นได้
¯
รอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
¯
แบ่งของให้คนอื่น
¯
เก็บของเล่นเข้าที่ได้
๔. ด้านสติปัญญา
¯ จำแนกสิ่งต่าง ๆ
ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้
¯
บอกชื่อ และนามสกุลของตนเองได้
¯
พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง
หลังจากได้รับคำชี้แนะ
¯
สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
¯
สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง
โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
¯
รู้จักใช้คำถาม “ทำไม”
ระดับอนุบาลปีที่
๒
๑. พัฒนาการด้านร่างกาย
¯
กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
¯
รับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
¯
เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
¯
เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
¯
ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
¯
ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม
ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
¯
ยืดตัว คล่องแคล่ว
๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
¯
แสดงออกทางอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
¯
ชื่นชมความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น
¯
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
๓. พัฒนาการด้านสังคม
¯
ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
¯
เล่นหรือทำงานอย่างมีจุดหมายร่วมกับผู้อื่นได้
¯
พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
¯
รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
¯
รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านสติปัญญา
¯ บอกความแตกต่างของกลิ่น สี
เสียง รส รูปร่าง จำแนก และจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
¯
บอกชื่อ และนามสกุลและอายุของตนเองได้
¯
พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง
¯
สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นเรื่องราวได้
¯
สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง
โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น และแปลกใหม่
¯
รู้จักใช้คำถาม “ทำไม” “อย่างไร”
¯
เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
¯
นับปากเปล่าได้ถึง ๒๐
สาระการเรียนรู้
ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑
๑. ประสบการณ์สำคัญ
๑.๑
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
๑.๑.๑
การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
Ø
การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
Ø
การเคลื่อนไหวพร้อมกับวัสดุ อุปกรณ์
Ø
การเล่นเครื่องเล่นสนาม
๑.๑.๒
การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก
Ø
การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
Ø
การเขียนภาพและการเล่นสี
Ø
การปั้นและการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยดินเหนียว
ดินน้ำมัน แท่งไม้ เศษวัสดุ
Ø
การต่อขอ
บรรจุ เท และแยกชิ้นส่วน
๑.๑.๓ การรักษาสุขภาพ
Ø การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
๑.๑.๔ การรักษาความปลอดภัย
Ø การรักษาความปลอดภัยของตนเอง
และผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน
๑.๒ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์
จิตใจ
๑.๒.๑ ดนตรี
ð
การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
ð
การเล่นเครื่องเล่นดนตรีง่าย ๆ เช่น
เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ
ð
การร้องเพลง
๑.๒.๒ สุนทรียภาพ
ð
การชื่นชม และสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงาม
ð
การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขัน
และเรื่องราว /
เหตุการณ์
ที่สนุกสนานต่าง ๆ
๑.๒.๓ การเล่น
ð
การเล่นอิสระ
ð
การเล่นรายบุคคล การเล่นเป็นกลุ่ม
ð
การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
๑.๒.๔ คุณธรรม จริยธรรม
ð การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ
๑.๓ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
๑.๓.๑ การเรียนรู้ทางสังคม
Ü
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
Ü
การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
Ü
การวางแผน
ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
Ü
การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ
และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
Ü
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
Ü
การแก้ปัญหาในการเล่น
Ü
การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่
และความเป็นไทย
๑.๔
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
๑.๔.๑ การคิด
è
การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง
สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น
è
การเลียนแบบการกระทำ และเสียงต่าง ๆ
è
การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่าย
และรูปแบบต่าง ๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
è
การรับรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ
ของเล่น และผลงาน
è
การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุต่าง ๆ
๑.๔.๒ การใช้ภาษา
è
การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
è
การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
è
การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์
และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
è
การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง
คำกลอน
è
การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก เขียนภาพ
เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ เขียนชื่อตนเอง
è การอ่านในหลายรูปแบบ
ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก อ่านภาพ
หรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน
/ เรื่องราวที่สนใจ
๑๔๓ การสังเกต การจำแนก
และการเปรียบเทียบ
è
การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความแตกต่าง ของสิ่งต่าง ๆ
è
การจับคู่
การจำแนก และการจัดกลุ่ม
è
การเปรียบเทียบ เช่น ยาว – สั้น,
ขรุขระ – เรียบ ฯลฯ
è
การเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ
è
การคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ
è
การตั้งสมมุติฐาน
è
การทดลองสิ่งต่าง ๆ
è
การสืบค้นข้อมูล
è
การใช้ หรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
๑.๔.๔ จำนวน
è
การเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า – น้อยกว่า เท่ากัน
è
การนับสิ่งต่าง ๆ
è
การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
è
การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณ
๑.๔.๕ มิติสัมพันธ์ (พื้นที่ / ระยะ)
è
การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออก
การบรรจุและการเทออก
è
การสังเกตสิ่งต่าง ๆ และสถานที่จากมุมมองที่ต่าง
ๆ กัน
è
การอธิบายในเรื่องตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กัน
è
การอธิบายในเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งต่าง
ๆ
è
การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่าย
รูปภาพ
๑.๔.๖ เวลา
è
การเริ่มต้นและการหยุดการกระทำโดยสัญญาณ
è
การเปรียบเทียบเวลา เช่น ตอนเช้า ตอนเย็น
เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ฯลฯ
è
การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ
è
การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดู
๒. สาระที่ควรเรียนรู้
๒.๑ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล
รูปร่าง หน้าตา รู้จักอวัยวะต่าง ๆ
วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด
ปลอดภัย การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เรียนรู้ที่จะเล่น และทำสิ่งต่าง ๆ
ด้วยตนเองคนเดียว หรือกับผู้อื่น
ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น
ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี
๒.๒
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
เด็กควรมีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา
ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ
ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิด และมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
๒.๓ ธรรมชาติรอบตัว
เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็ก
ตามธรรมชาติ
เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ
๒.๔ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
เด็กควรจะได้รู้จักสี ขนาด
รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก
ผิวสัมผัสของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ
และการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
ระดับชั้นอนุบาลปีที่
๒
๑. ประสบการณ์สำคัญ
๑.๑
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
๑.๑.๑
การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
Ø
การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
Ø
การเคลื่อนไหวพร้อมกับวัสดุ อุปกรณ์
Ø
การเล่นเครื่องเล่นสนาม
๑.๑.๒ การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก
Ø
การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
Ø
การเขียนภาพและการเล่นสี
Ø
การปั้นและการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ
ด้วยดินเหนียว ดินน้ำมัน แท่งไม้ เศษวัสดุ
Ø
การต่อขอ
บรรจุ เท และแยกชิ้นส่วน
๑.๑.๓ การรักษาสุขภาพ
Ø การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
๑.๑.๔ การรักษาความปลอดภัย
Ø การรักษาความปลอดภัยของตนเอง
และผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน
๑.๒ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์
จิตใจ
๑.๒.๑ ดนตรี
ð
การแสดงปฏิกริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
ð
การเล่นเครื่องเล่นดนตรีง่าย ๆ เช่น
เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ
ð
การร้องเพลง
๑.๒.๒ สุนทรียภาพ
ð
การชื่นชม และสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงาม
ð
การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขัน
และเรื่องราว /
เหตุการณ์
ที่สนุกสนานต่าง ๆ
๑.๒.๓ การเล่น
ð
การเล่นอิสระ
ð
การเล่นรายบุคคล การเล่นเป็นกลุ่ม
ð
การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
๑.๒.๔ คุณธรรม จริยธรรม
ð การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ
๑.๓ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
๑.๓.๑ การเรียนรู้ทางสังคม
Ü
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
Ü
การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
Ü
การวางแผน
ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
Ü
การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ
และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
Ü
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
Ü
การแก้ปัญหาในการเล่น
Ü
การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่
และความเป็นไทย
๑.๔
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
๑.๔.๑ การคิด
è
การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง
สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น
è
การเลียนแบบการกระทำ และเสียงต่าง ๆ
è
การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่าย
และรูปแบบต่าง ๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
è
การรับรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ
ของเล่น และผลงาน
è
การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุต่าง ๆ
๑.๔.๒ การใช้ภาษา
è
การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
è
การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
è
การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์
และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
è
การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง
คำกลอน
è
การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก เขียนภาพ
เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ เขียนชื่อตนเอง
è การอ่านในหลายรูปแบบ
ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก อ่านภาพ
หรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน
/ เรื่องราวที่สนใจ
๑๔๓ การสังเกต การจำแนก
และการเปรียบเทียบ
è
การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความแตกต่าง ของสิ่งต่าง ๆ
è
การจับคู่
การจำแนก และการจัดกลุ่ม
è
การเปรียบเทียบ เช่น ยาว – สั้น,
ขรุขระ – เรียบ ฯลฯ
è
การเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ
è
การคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ
è
การตั้งสมมุติฐาน
è
การทดลองสิ่งต่าง ๆ
è
การสืบค้นข้อมูล
è
การใช้ หรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
๑.๔.๔ จำนวน
è
การเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า – น้อยกว่า เท่ากัน
è
การนับสิ่งต่าง ๆ
è
การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
è
การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณ
๑.๔.๕ มิติสัมพันธ์ (พื้นที่ / ระยะ)
è
การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออก
การบรรจุและการเทออก
è
การสังเกตสิ่งต่าง ๆ
และสถานที่จากมุมมองที่ต่าง ๆ กัน
è
การอธิบายในเรื่องตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กัน
è
การอธิบายในเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งต่าง
ๆ
è
การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่าย
รูปภาพ
๑.๔.๖ เวลา
è
การเริ่มต้นและการหยุดการกระทำโดยสัญญาณ
è
การเปรียบเทียบเวลา เช่น ตอนเช้า ตอนเย็น
เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ฯลฯ
è
การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ
è
การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดู
๒. สาระที่ควรเรียนรู้
๒.๑ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล
รูปร่าง หน้าตา รู้จักอวัยวะต่าง ๆ
วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด
ปลอดภัย การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เรียนรู้ที่จะเล่น และทำสิ่งต่าง ๆ
ด้วยตนเองคนเดียว หรือกับผู้อื่น
ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น
ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี
๒.๒
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
เด็กควรมีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา
ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ
ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิด และมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
๒.๓ ธรรมชาติรอบตัว
เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็ก
ตามธรรมชาติ
เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ
๒.๔ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
เด็กควรจะได้รู้จักสี ขนาด
รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก
ผิวสัมผัสของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ
และการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น