วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สมดุลความฉลาด THE BALANCED INTELLIGENCES


THE BALANCED INTELLIGENCES
"สมดุลความฉลาด"
พัฒนาความฉลาดอย่างสมดุล"
การพัฒนากำลังพลให้ฉลาดอย่างสมดุล"
แนวคิดความฉลาด ๕ ประการ
ñ  สติปัญญา IQ = Intelligence Quotient
ñ  อารมณ์  EQ = Emotional Intelligence Quotient
ñ  จรรยาบรรณ MQ = Moral Intelligence Quotient
ñ  ความมุมานะ มุ่งมั่น พยายามAQ = Advancement Intelligence Quotient
ñ  องค์กร OQ = Organizational Intelligence Quotient
ñ  สมดุลความฉลด BI = The Balanced Intelligence
------
" Quotient" อ่าน [kwoh-shuhnt] "โคว - ชันท์"
ลองฟังเสียงที่ http://dictionary.reference.com/browse/quotient
เห็นออกเสียงผิด ๆ เยอะมาก (ชอบอ่านแบบอเมริกันเป็น "โคว-เทียน")
ความจริง  "ที่มา"  มาจากภาษาฝรั่งเศส เลยออกเสียงทับศัพท์
สาเหตุเกิดจาก IQ เริ่มเกิดแนวคิดในอังกฤษ Sir Francis Galton (1822 – 1911)
เติบโตในฝรั่งเศส  Alfred Binet (1857-1911) ซึ่งคิดวิธีวัด IQ เป็นคนแรก  เลยติดเอาภาษาฝรั่งเศสเข้ามา
ปัจจุบันแนวคิดเรื่องนี้พัฒนาไปอย่างมากที่สหรัฐอเมริกา (อ่านต่อ ๆ ไปแล้วจะเห็นเอง)
แนวคิดความฉลาด ๕ ประการ  Systems Concept and the Five Qs
คนส่วนใหญ่มักจะมองรายละเอียดปลีกย่อย
มากกว่าที่จะมองทั้งระบบ
ขอเสนอแนะมุมมอง ที่จะทำความเข้าใจใน “ภาพใหญ่” ของ “ความฉลาด”
ความฉลาด คืออะไร ?”
แน่นอนได้ว่า  หาคำตอบที่เป็นที่ยอมรับของ “ทุกคน” ได้ยาก
ที่พอเป็นไปได้ คือ
"ระบบชีวิต หรือ ระบบวัสดุที่สามารถสร้างความฉลาด ที่เหนือ หรือ น้อยกว่า ในด้านของ ...
1. พิสูจน์ทราบ ค้นหา รวบรวม รับรู้ ข้อมูล และข่าวสารสลับซับซ้อน และ ...
2. กระบวนการ หรือ การแปลงไปสู่ “ความธรรมดา/เข้าใจง่ายขึ้น” และ ...
3. ประยุกต์ข้อมูล องค์ความรู้ไปสู่การปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ที่สามารถดำรงอยู่ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้โดยองค์รวม"

คุณลักษณะของความฉลาดมีหลายรูปแบบ เช่น :
ñ  ความฉลาดทางกายภาพ Biological Intelligence คือ ความสามารถของมนุษย์ในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด พูด ปฏิบัติได้ตามความต้องการ ต่อปัญหา และสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อสามารถอยู่รอด และพัฒนาต่อไปได้ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ñ  ความฉลาดของการประยุกต์ใช้ Practical Intelligence เป็น พลังสมองของมนุษย์ที่จะทำให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวแห่งชีวิตตนเช่น เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ อุปกรณ์  รวมถึง “ความคิดสร้างสรรค์”
ñ  ความฉลาดในการปฏิสัมพันธ์ Verbal and Interpersonal Intelligence เป็นทักษาะที่ช่วยให้สามารถสื่อสาร สั่งการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับนับถือ รักใคร่ของคนอื่น
ñ  ความฉลาดทางการเคลื่อนไหว Psychomotor Intelligence เป็น ความสามารถทางร่างกายในการเคลื่อนไหวในทิศทางต่างต่างได้โดยรักษาความสมดุล ขณะเคลื่อนที่อย่ามีกลยุทธ์ กรณีตัวอย่างของผู้ที่ประสบผลสำเร็จทางกีฬาเช่น Mohammed Ali, Michael Jordan and Debi Thomas มีในขณะที่สภาพร่างกายสมบูรณ์ที่สุด
ปัจจุบัน
Howard Gardner's theory of Multiple Intelligences advocated in 1983.
'Personal Intelligences'

1.      Linguistic Intelligence: สัมผัส ประสาทต่อภาษาพูด ภาษาเขียน ความสามารถในการเรียนภาษาต่าง ๆ ทำเข้าใจความหมาย และลำดับของคำ สามารถใช้ภาษาตามความต้องการเฉพาะ  แสดง สื่อความคิดไปยังผู้อื่น  รวมถึงความสามารถในการจำข้อมูล ข่าวสาร นักประพันธ์ กวีนิพนธ์ กฎหมาย นักพูด
2.      Logical-Mathematical Intelligenceความ เข้าใจทางคณิตศาสตร์ ตัวเลข และระบบตรรก รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหา ดำเนินการกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สืบสวนทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบรูปแบบ เหตุผลประกอบ และคิดอย่างเป็นตรรก  สัมพันธ์กับกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3.     Musical Intelligence: ขีด ความสามารถในการเข้าใจ ประพันธ์ดนตรี ทักษะการเล่นดนตรี และเข้าถึงรูปแบบของดนตรี ความสามารถในการจำท่วงทำนอง  น้ำเสียง และจังหวะ  ความฉลาดทางด้านนี้มีความสัมพันธ์ทางโครงสร้างขนานไปกับ Linguistic Intelligence
4.      Bodily-Kinesthetic Intelligenceมี ความจำเป็นต่อความเข้าใจในทักษะ ศักยภาพของร่างกายตนเอง ทั้งหมด หรือบางส่วนเพื่อแก้ปัญหา  และการควบคุม  เป็นความสามารถทางอารมณ์ในการสร้างความสัมพันธ์ของร่างกายให้เคลื่อน ไหวอย่างประสานสอดคล้องของอวัยวะต่าง ๆ  สามารถเป็นนักกีฬาที่เก่งได้
5.      Spatial Intelligenceจิตนาการ สร้างความคิดด้วยภาพ พื้นที่ (Space) เข้า ใจโลกอย่างแท้จริง สร้างสรรค ปรับแต่งได้ในใจ บนเอกสารหรือคอมพิวเตอร์  สามารถจดจำรูปแบบ และใช้ประโยชน์ได้ในมิติต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
6.      Interpersonal Intelligence: เข้า ใจผู้อื่น ทั้งทางอารมณ์ แรงจูงใจ ผลังผลักดัน จุดมุ่งหมาย เจตนารมณ์ ทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นักการศึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย บุคคลในศาสนา ผู้นำนักการเมือง นักเจรจา (Counsellors) มีความจำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องนี้อย่างมาก
7.      Intrapersonal Intelligence เข้าใจตนเอง (Self Awareness) ความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก  ชื่นชมความรู้สึกผู้อื่น ความกลัว และความสนใจ(Motivations) สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตนเอง และการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้นี้ปรับการดำรงค์ชีวิตประจำวัน
8.      Naturalist Intelligenceความสามารถในการจำ แยกแยะ (Classify Flora and Fauna) สิ่งแวดล้อม พืช สัตว์ ก้อนหิน แร่ธาตุ วัตถุทางวัฒนธรรมเช่นเสื้อผ้า อาหาร ค่านิยมของสังคมต่าง ๆ (เพิ่มปี 1999)
โดยยังไม่ยอมรับ
Spiritual Intelligence เนื่อง จากยังมีความซับซ้อน  ปัญหาหลาย ๆ อย่าง เช่นสารัตถะของจิตวิญญาน คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งสำคัญ จำเป็น  แต่ก็สัมผัส จับต้อง พิสูจน์ไม่ได้ โดยค่านิยมแห่งความจริง (Truth Value)  รวมถึงความจำเป็นที่ต้องพิสูจน์ทราบในตัวตนของมนุษยชาติ
Existential Intelligence เกี่ยวข้องกับ Ultimate Issues ซึ่งมีแนวโน้มของการยอมรับ การวัดประเมินผลมีความสมเหตุสมผล  แต่ empirical evidence is sparse
Moral Intelligence ปัญหาสำคัญคือการหานิยามศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย  มีนัยสัมพันธ์กับผู้ปกครอง พฤติกรรม และทัศนคติการปกครองThe Sanctity of live โดยเฉพาะกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์โลก เพื่อนร่วมโลกเดียวกันอีกหลายอย่าง
 เดิม
The 1st Q สติปัญญา Intelligence Quotient (IQ)
เราคุ้นเคยกับแนวคิดของ “Intelligence Quotient” และการวัด IQ มานับร้อยปี
1.   Sir Francis Galton (16 Feb 1822 – 17 Jan 1911) "the idea that intelligence was measurable"
2.   Alfred Binet (1857-1911) "developing experiments to measure children's intelligence 'Binet Scale' "
"Intelligence Quotient"
Lewis Terman "widely accepted by 1916"

 
แม้ว่าผลการวัด/ทดสอบจะเป็นที่ยอมรับ เชื่อถือได้
แต่ก็มีข้อด้อยในการวัดความฉลาดของมนุษย์ที่แท้จริงได้
เนื่องจาก เป็นการวัดประเมินจากเซลล์สมอง เพียงบางส่วน  จากทั้งหมด 25,000,000,000 เซลล์
การทดสอบ IQ  เป็นการวัดทางด้านความสามารถทางการสื่อสาร เท่านั้น
และมีผลจากความคิดเห็น Bias” ทางวัฒนธรรม สูงมาก
แบบทดสอบ ในการวัด ประเมินผล ได้รับการออกแบบ และพัฒนาโดย “คนผิวขาว”
ดังนั้น  คนตะวันออก รวมทั้งคนผิวดำ จะต้องได้รับคะแนน ผลการทดสอบ วัด ประเมินที่ต่ำกว่าคนผิวขาวอย่างแน่นอน
“Stanley Garn” กล่วว่า “If the aborigine drafted an IQ test, all of Western civilization would presumably flunk it.”
ระบบการวัดประเมินผล IQ แยกแยะประเภทของคน ตามตาราง
IQ
Older Terms
New Technical Classification
IQ
1. Higher
2. Around 100
3. Lower
3.1 Equal to a child 8- 12 yrs.
3.2 Equal to a child 3- 8 yrs.
3.3 Equal to a child 2 yrs old.
1. Genius
2. Normal Person
3. Mental Deficiency
3.1 Moron
3.2 Imbecile
3.3 Idiot
1. Genius
2. Normal Individual
3. Mental Retardation
3.1 Borderline
3.2 Mild
3.3 Moderate
3.4 Severe
3.5 Profound
Higher
84-116
68-83
52-67
36-51
20-35
Under 20
จากการวัด หรือ ไม่วัด IQ คนทั่วไป สามารถประมาณได้ว่าใครเข้าขั้น “ฉลาด/อัฉจิยะ”  “ปกติ/สามัญ” หรือ “ต่ำกว่าปกติ”
รวมถึง ในกลุ่มสังคมปกติ  “ใครฉลาดกว่าปกติ ในด้านต่าง ๆ เช่น สติปัญญา  การประยุกต์ใช้  ทางการเคลื่อนไหว หรือ ทางการสื่อสาร"
แต่การวัด IQ เป็นการเน้นย้ำ ให้น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม  การวัดมากว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา  ในกลุ่มสังคมมนุษย์ ที่มีผลการวัด IQ ที่แตกต่างกัน
จากประสบการณ์ชีวิต “ไม่มีอะไรประกันได้ว่าคนที่มีผลการวัด IQ ที่สูงกว่า  จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ดีกว่า”
แนวคิดของ IQ ดีจริง  แต่ก็มีข้อด้อยสำคัญคือ วัดประเมินจากส่วนเล็ก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับความฉลาดส่วนใหญ่ทั้งระบบของมนุษย์
จึงไม่สามารถนำไปทำนายโอกาสประสบผลสำเร็จในชีวิต ในทุกสังคมมนุษย์ได้ ทั้งสังคมผิวขาว และสังคมผิวสี
The 2nd Q อารมณ์ Emotional Intelligence Quotient (EQ)
หนังสือ “Emotional Intelligence”ของ Daniel Goleman นักเขียนอเมริกัน ในปี 1995
นิยาม “Soft skills” เช่น การเตือนตนเอง “Self-awareness, Self-motivation, Empathy และการควบคุมตนเองSelf-control” 

เป็นความสำคัญ ความจำเป็น ไม่น้อยกว่า “Hard intelligence”
“Emotional intelligence or Emotional maturity” มีความสำคัญไม่น้อยกว่า 80% การการสำเร็จในชีวิตงาน
นอกจากนั้นแล้ว  ถ้าปราศจากEQ ที่เพียงพอ  จะไม่มีทางประสบความสำเร็จในงานอย่างแน่นอน
Robert Cooper นักเขียนด้าน EQ ชั้นนำอีกท่านหนึ่ง  ซึ่งเป็นผูประพันธ์ร่วมในหนังสือ “Executive EQ”
ขยายความของ EQ  ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

รวมถึงผลงานวิจัยสนับสนุน “EQ Map” ที่ทำให้คนและองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประวัติของ EQ น่าจะเริ่มต้นจากผลงานของ Abraham Maslow ในปี 1950
แทนที่จะมุ่งเป้าไปที่ “ปัญหา” การแยกแยะผลเสียและความล้มเหลว
ถ้า Maslow focused เน้นไปที่ “ความสุขสมบูรณ์” เราจะรับรู้ได้ทันทีว่าหากจะประสบความสำเร็จ และมีความสุขในชีวิต ควรจะต้องทำอย่างไร ในวิธีการอย่างไร
 

อีกท่านที่ต้องกล่าวถึงอีก คือ Peter Salovey และ John D. Mayer
ผลงานวิจัยจำนวนมากของท่าน  เล่มแรกคือ Emotional Intelligence (1990) กล่าวถึงกรอบของ EI เป็นทักษะขอสมมุติฐาน การสันนิษฐานเพื่อประเมินอย่างถูกต้องและแสดงออกทางอารมณ์จากคนหนึ่งไปยังผู้อื่น the effective regulation of emotion in self and others, and the use of feelings to motivate, plan and achieve in one’s life.
 
งานวิจัยของ John Mayer, Peter Salovey and David Caruso เรื่อง “Selecting a Measure of Emotional Intelligence : The Case for Ability Scales (2000) as a Chapter in R. Bar-On & J.D.A. Parker (Eds.). The Handbook of Emotional Intelligence”
โดยสรุป “EQ ไม่ทำให้คุณเปลี่ยนไปจากสิ่งที่คุณกำลังทำ แต่มันส่งผลอย่างยิ่งต่อความสามารถที่กำลังทำอยู่ คือ แรงผลักดัน(Motivating),  การควบคุม(Controlling), ปฏิสัมพันธ์ (Interacting with others), การแก้ปัญหา (Solving conflict), ความพึงพอใจของผู้รับบริการ (Satisfying customers (Both External and Internal) และความพึงใจของคุณเอง (Satisfying Iurselves)
EQ ทดแทนIQ ไม่ได้
IQ ทำให้คุณได้งาน  และEQ ช่วยให้คุณเจริญก้าวหน้าในงาน
เราจำเป็นต้องมีสมดุลของทั้ง IQ และ EQ
The 3rd Q จรรยาบรรณ Moral Intelligence Quotient (MQ)
มนุษย์ที่มีทั้ง IQ และ EQ อาจประสบความสำเร็จ และมีความสุขแบบ “ทรชน”
นิยายพื้นบ้านไทย  คนที่ฉลาดสุดยอด “อัฉริยะ” อารมณ์เป็นเลิศ  แต่เป็นคน “เลวที่สุด”
บั้นปลายสุดท้านในชีวิต ประสบแต่ความล้มเหลว  แต่ก็ใช้เวลา กว่าที่จะมีคนมาพิสูจน์บาปกรรม ที่เขาก่อไว้กับผู้อื่น
แม้กระทั่ง บาปกรรมต่อน้องร่วมสายโลหิต  บุพการี
ศรีธญชัย (STNC)”

โหดร้าย  เห็นแก่ตัวอย่างที่สุด 
ในโลกแห่งความเป็นจริง มีคนแบบนี้อยู่ไม่น้อย
เราปารถนาที่จะมีคนที่มีทั้ง IQ, EQ และ MQ ในทุกองค์กร
เปรียบเสมือนกับ  ถาดผลไม้ ผลได้ดี ๆ เยอะแยะ  แต่ก็ไม่ดีไปทั้งหมด  เหมือนกับสังคมมนุษย์
แต่สิ่งไหนดี  สิ่งไหนไม่ดี  ต่างรู้แก่ใจ  แยกแยะได้
MQ or Moral Intelligence imply Ethics, Integrity and Spiritual Civilization.
Ethics คือ การพูด การกระทำ ที่สะอาด ปราศจากความมัวหมอง  เคารพในตัวเอง และเป็นที่เคารพของผู้อื่น
Integrity คือ ความเป็นมนุษญที่สมบูรณ์ ใกล้เคียงกับปราศจากมณทิล เพระาไม่มีใครสมบูรณ์ที่สุด  นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระอริยสงฆ์ ที่ได้รับการยอมรับ เคารพ ศรัทธา เช่น ความซื่อสัตย์ (Honesty), Uprightness และ ความจริงใจ (Sincerity) ที่สามารถเรียกศรัทธา ความเคารพนับถือจากบุคคลรอบข้าง
บุคคลที่มี MQ สูงควรจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
ñ  ควบคุมตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Effective self-control) ต่อแรงผลักดัน  สิ่งเร้าที่จะทำให้ทำในทางที่เสื่อม เช่น  Bribery และCorruption.
ñ  Merit is the foundation of all actions and behavior with noble manner.
ñ  รักษาคำพูด
The 4th Q : Advancement Adversity Intelligence Quotient (AQ)
เป็นที่แน่นอนว่าคนที่มีทั้ง  IQ + EQ + MQ ย่อมต้องเป็นคนดีในสังคมมนูนย์
ในขณะที่  คนที่มีเฉพาะ IQ + EQ อาจเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ  แต่ทำร้ายสังคม
มนุษย์  3Qs อาจมีข้อจำกัดบางอย่าง 
ขาดก๊อกสอง”  ที่จะสร้างฝันที่ยิ่งใหญ่ให่สมบูรณ์ได้
“You can never make a great dream come true, if you do not have a great dream in the first place.”
ถ้าไม่ใฝ่ฝันแล้ว  ไม่มีทางเป็นจริงได้แน่”
อันของสูง  แม้นปอง  ต้องจิต
ถ้าไม่คิดปีนป่าย  จะได้หรือ”
ความมักใหญ่ ใฝ่สูง”

มนุษย์พิเศษ  ที่มีแรงผลักดันมากกว่าปกติ เท่านั้น  ที่จะทำได้
เหมือนกับมนุษย์ 3Q อาจไม่มีคุณค่า  ถ้าไม่มีสิ่งนี้
จำเป็นต้องมีความมุมานะ พยายาม เป็นพิเศษ
อาจเป็นไปในรูปแบบของ “อำนาจ  สถานทางเศรษฐกิจ ข้อมูลสารสนเทศ องค์ความรู้”
ในสถานการณ์วิกฤต “อุปสรรคที่ไม่อาจเอาชนะได้  สิ่งกีดขวาง รั้งหน่วง ความล้มเหลวที่เผชิญอยู่ ปัญหาสำคัญๆ รอบด้าน”
คุณจะปรับเปลี่ยนให้เป็น “โอกาส” ได้หรือไม่ ?
ทำได้  ถ้าคุณมี  3Qs และ AQ ด้วย
AQ  เป็นสิ่งที่คุณมีเหนือกว่าคนอื่น  พลังขับดันในตัวเอง (Extraordinary Self-motivation) และInspiration บวกกับพลังองค็ความรู้ที่มีอยู่  จะทำให้สามารถก้าวพ้นวิกฤตได้  คุณจะ “เหนือปกติ”
การแบ่งระดับคะแนนของ AQ
กลุ่ม จ
(AQ = 0)
ผู้ละเลย  ไม่พยายามยามปีนป่ายภูเขาแห่งชีวิตเลย พยายามพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา
กลุ่ม ง 
(AQ = 1)
ไม่มีทางทำได้” รู้แต่ไม่มีความพยายามใด ไ ทั้งสิ้น
กลุ่ม ค
(AQ = 2)
ทำไปนิดหน่อย แล้วเลิก” พยายาม คิด วางแผน เตรียมการ และลงมือทำ  แต่พอเจอปัญหา เห็นว่าเป็นเรื่องยากลำบากแน่ ๆ  “เลิก”
กลุ่ม ข
(AQ = 3)
มีจำนวนน้อยลง  เป็นคนที่มีพรสวรรค์ และแรงผลักดันสูงพอสมควร
แต่พอมาถึงจุดที่จวนจะสำเร็จ  หมดความพยายาม เห็นว่ามาถึงจุดนี้ได้ก็ดีพอแล้ว
เลิก” เป็นบุคคลที่เหมาะกับ “ลูกจ้าง หรือ มืออาชีพ” ที่พอใจกับเงินเดือน ประโยชน์พื้นฐานสังคม(รักษาพยาบาล ค่าเล้าเรียน ...) และกองทุนบำเหน็จบำนาญ รวมถึง อาจเป็นเจ้าของกิจการขน่ดเล็กได้ด้วย
กลุ่ม ก
(AQ = 4)
มนุษย์พิเศษ  “อึด” สร้างแรงจูงใจของตนเอง (Motivation) และ Inspiration
มี AQ สูงเป็นพิเศษ เป็นบุคคลที่ประสบโอกาส หรือ วิกฤตในชีวิต
สามารถแก้ปัญหาได้  เอาชนะอุปสรรขัดขวางได้  ทำลายสิ่งกีดขวางต่าง ๆ
มุ่งไปสู่ “จุดสูงสุด”
นอกจากนั้น ยังสามารถข้ามผ่านจุดสูงสุดด้านต่าง ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ
นับป็น “ผู้ประสบผลสำเร็จ” แต่ก็อาจไม่มีความสุข
เพราะเหตุต้องพึ่งพา ระดับต่าง ๆ ของ EQ หรือ MQ ในบางสถานการณ์

Paul G. Stoltz, “Adversity Quotient : Turning Obstacles Into Opportunities” (1997)อธิบายรายละเอียดในเรื่องนี้
 
The 5th : องค์ก ร Organizational Intelligence Quotient (OQ) 
และสมดุลความฉลาด Balanced Intelligences (BI)
มนุษย์ที่มีทั้ง 4Qs ข้างต้นมารวมอยู่ในองค์กรเดียวกัน
มิได้หมายความว่า มี OQ แล้ว
แต่อาจไม่มี “จิตวิญญานแห่งองค์กร” เลยก็ได้
เป็นไปได้ที่อาจเป็น “Artificially made intelligent”
เหมือนกับ “มารยาท” ในสังคมมนุษย์ “สร้าง” ขึ้นาให้ดูดี
But the case of human organization is worse than any artificial intelligent system, that has no soul and no mind of its own, and that is better off than a mentally retarded organization with weak soul at the system level but too strong determination at individual and/or subsystem levels. We can call this type of bureaucracy as, “A low OQ institution without BI.”
Michael D. McMaster, “The Intelligence Advantage : Organizing for Complexity”, (1996), and Jack Ring “Toward the Intelligent Enterprise” 1999.
Organizational Intelligent Quotient (OQ) จากหนังสือของ Mc Master and the 10-pages Internet article by Ring. However, I have found these landmark workpieces to be admirable and valuable assets for myself and probably others in this globalization and information age.
IQ, EQ, MQ and AQ และการมุ่งเน้นศึกษาวิเคราะห์ด้านองค์กร :
IQ ส่วนบุคคล อาจมีความแตกต่างไปจาก Organizational IQ.
ตัวอย่างของ James Bond มีความฉลาดครบในทุกด้น (Practical plus Psychomotor and Verbal/interpersonal และ Biological intelligent) ในตัวบุคคล

 
แต่การที่มีองค์กรสนับสนุน ที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ถ้าปราศจากองค์กรเหล่านี้  ผลสำเร็จของงาน 007 จะเป็นอย่างไร
ถ้ามี  IQ organization ต่ำ
เมื่อมีบุคลากร IQ มารวมกันในองค์กร มิได้หมายความว่าจะมี IQ organization สูงตามไปด้วยในทันที
น่าแปลกใจ ที่บางครั้ง ค้นพบว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติในบางสถานการณ์
ทำไม?  เพระาว่า  IQ  ส่วนบุคคล มีความจำเป็น  แต่ไม่เพียงพอ
จำเป็นต้องมี ประการแรก คือ EQ, MQ และAQ ที่ประสานเกื้อกูลอย่างเหมาะสม (Positive Synergy and in good balance)
ประการที่สอง คือ  OQ มีมิติของ EQ ในระดับขององค์กรอยู่ด้วย
เมื่อบุคลากรที่มี EQ สูงทำงานร่วมกัน อาจจะทำให้เกิด หรือไม่ทำให้เกิด EQ organization
ด้วยหตุว่า  EQ ที่สูงส่งของแต่ละบุคคล อาจไม่มี หรือมีแตกต่างกันออกไปในด้านMQ
ศรีธนญชัย” เพียงคนเดียว อาจทำให้ทั้งองค์กร มี  EQ และ/หรือ  IQ ต่ำไปทันที “ปลาเน่าตัวเดียว เหม็นไปทั้งฆ่อง”
ถ้าองค์กรใด องค์กรหนึ่ง มี “ศรีธนญชัย”  IQ และ EQ สูงมาก  แต่ MQ ต่ำ  องค์กรจะเป็นอย่างไร ?
มิติของ MQ ต่อ OQ อาจแสดงออกมาในรูปที่ บุคลากรMQ สูมารวมตัวกันอยู่ในองค์กรที่มีผู้บริหารภาวะผู้นำต่ำ  หรือ โครงสร้างองค์กรไม่เหมาะสม 
เป็นไปได้ที่อาจมีการพัฒนาองค์กร เพื่อผสมผสานMQ หรือกลบเกลื่อน ลบล้างไปในที่สุดในระยะยยาว
Organizational intelligent quotient ในมิติของ AQ  บุคคลากร AQ  สูง ในองค์กรที่ตกต่ำไปเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลบางสิ่งบางอย่าง
ในที่สุด จะประสบกับการปรับสมดุลในกลุ่ม IQ, EQ, MQ และAQ ในระดับบุคคล
OQ to have a healthy and totally productive organization that will provide all kinds of benefits at minimum costs for all stakeholders and the environment, including the ecosystem and the balance of Nature.
The Balanced Intelligences (BI), that is. We need to scientifically study the BI dynamics, like aerodynamics, and come up with an organization and management engineering (or bio-engineering) that can better design and develop organizations capable of flying higher with more dynamic stability and have the performance characteristics plus the features of a convertible helicopter-jet aircraft or an excellent hybrid of a hummingbird and an eagle.
The characteristics and dynamism of BI is shown graphically in Exhibit B. The BI map in the exhibit shows BI profiles of two persons, Joe and Jan. In comparison between them, Joe has higher IQ and MQ than Jan, but he has lower EQ and AQ.
เป็นไปได้ที่ องค์กรที่มีบุคลากรประเภท “นาย ก” จำนวนมาก
อาจมี OQ สูงกว่าองค์กรที่มีเปอร์เซนของบุคลากรแบบ “นาง ข”
The balanced intelligences (BI) is a very crucial success factor for people and organizations in the New Economy, or the knowledge-based economy, especially for innovative enterprises that have to become learning organizations with effective organizational learning (OL) principles and practices. We need to design and develop a set of reliable instruments for measurement of BI, including training and development programs for continuous improvement of the dynamic balanced intelligences. This is the mission of our forthcoming book : The Balanced Intelligences.
บทสรุป
มนุษย์ไม่ควรอยู่อย่างโดดเดี่ยว  เราถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสังคม องค์กร ในหลากหลายรูปแบบ  หลากหลายสมาชิก
ความอยู่รอด และคุณภาพชีวิตของเรา  (Quality of lives and survival of the homosapiens) ขึ้นอยู่กับ “สุขภาพ” “ความฉลาด” และ “การปรับสมดุล” ขององค์กร/สังคม
สังคมมนุษย์ หยุดนิ่ง อยู่กับที่ไม่ได้  เคลื่อนไหว ช้า หรือ เร็ว เท่านั้น
และไม่ควรเคลื่อนไหว หรือเติบโต เร็วเกินไป จนเสีย “สมดุล”
บุคคล 1, 2 หรือ 3 Qs ไม่เพียงพอกับศตวรรษที่ 21st
เราต้องการอย่างน้อย 4Qs.
แต่มนุษย์ 4Qs มารวมกันอยู่ในองค์กร ก็ไม่ได้ประกันว่า OQ จะสูงตามไปด้วย
เราต้องการ “มนุษย์พันธุ์ใหม่” สำหรับทฤษฎีองค์กรใหม่  เทคโนโลยีการบริหารจัดการแบบใหม่
ที่จะ “ออกแบบ”  “พัฒนา” สมดุลความฉลาด ในองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น