การเกิด การดำรง และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
การเกิด การดำรง และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ของอรสุดา เจริญรัถ*
อรสุดา เจริญรัถ. (2543). การเกิดขึ้น การดำรงอยู่และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยน
แปลงของสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์,
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คณะกรรมการควบคุม รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์
ผศ.ดร.สุรุวุฒิ ปัดไธสง
ผศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
ความสำคัญของปัญหา
ในอดีตพบว่าสังคมชนบทไทยดั้งเดิมนั้นเป็นสังคมที่มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย
เศรษฐกิจพื้นฐานเป็นการผลิตเพื่อยังชีพสำหรับบริโภคใช้สอยในครัวเรือนและใน
ชุมชน มิใช่เพื่อการแลกเปลี่ยน
การดำรงชีพเป็นลักษณะการพึ่งพิงธรรมชาติที่อยู่รอบตัว
ทำให้ชาวชนบทมีความใกล้ชิดผูกพันและตระหนักในสิ่งแวดล้อม
ซึ่งแสดงออกในรูปของความเชื่อ
และพิธีกรรมที่เอื้อต่อการรักษาความสมดุลของทรัพยากร
ธรรมชาติความสัมพันธ์หลักในชุมชนเป็นความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติและความสัมพันธ์ทางสายเลือด
(ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2537)
การ
เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชนบทไทยเกิดขึ้นเมื่อประเทศได้เข้าสู่กระบวนการ
พัฒนาที่มุ่งเน้นความทันสมัยตามแบบตะวันตก
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดเป็นต้น
นักวิเคราะห์วาทกรรมพยายามสะท้อนและเชื่อมโยงให้เห็นว่า
เริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อประเทศตะวันตกได้ใช้อำนาจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ การให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการเงินกู้
หรือคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ
ได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดวาทกรรมเพื่อสร้างความหมายต่อสิ่งใหม่
ที่เป็นคู่ตรงข้ามคือ “การพัฒนา” และ “ความด้อยพัฒนา” ให้เกิดขึ้น (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2540. หน้า 87)
การใช้อำนาจของประเทศตะวันตกกำหนดวาทกรรมการพัฒนาในลักษณะดังกล่าวนี้
นับว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างกระบวนทัศน์ที่ให้ความสำคัญกับการ
เปลี่ยนแปลงสภาพสังคมให้หลุดพ้น
จากสภาพความด้อยพัฒนาไปสู่การพัฒนา
วาทกรรมดังกล่าวจึงได้สร้างกฎเกณฑ์อีกชุดหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน
เพื่อให้ความหมายแก่ “สังคมที่พัฒนา” ว่า
คือสังคมที่มีความทันสมัยตามแบบสังคมตะวันตกซึ่งจะไปถึงได้
ด้วยวิธีการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสอดคล้องกับทฤษฎีความทันสมัย
(Modernization Theory)
ดังนั้นทุกสังคมจะสามารถหลุดพ้นจากความด้อยพัฒนาไปสู่ความเจริญได้ด้วยการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมให้เป็นแบบตะวันตก (Black. 1960. pp. 1-7)
ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ย่อมทำให้วิถีชีวิต โลกทัศน์
ระบบความเชื่อ และคุณค่าต่างๆ ของคนไทย
ไม่ว่าจะเป็นคนเมืองหรือคนในชนบทผันแปรไปจากเดิม
แนวทางการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่เชื่อกันมาแต่เดิมว่า
ถูกต้องและเหมาะสมว่าแท้จริงแล้ว
แนวทางการพัฒนาเช่นนี้ยังคงถูกต้องและสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยต่อไปอีก
หรือไม่ (เพ็ญสิริ จีระเดชากุล. 2542. หน้า 2)
แม้ในแวดวงการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการและปัญญาชน ก็พบว่า
เกิดกลุ่มแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่ “ต่อต้านทฤษฎีการทำให้ทันสมัย”
ซึ่งแท้จริงแล้วชุมชนชนบทไทยสามารถปรับตัวโดยสร้างระบบการบริหารจัดการภาย
ใต้บริบทที่มีความขัดแย้งและกดดันเพื่อหาทางเลือก
ที่ดีที่สุดให้แก่
สมาชิกชุมชน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขพึ่งพาตนเอง
และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมไว้ได้ ประเด็นที่ผู้วิจัยเห็นว่า
มีความสำคัญมากที่สุด คือ
ชุมชนเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอย่างเต็มที่เพื่อรักษา
“อำนาจและสิทธิ” ของตนในการตัดสินใจกำหนดทางเลือกการพัฒนา
รวมทั้งรักษา
ความสามารถในการควบคุม และการจัดการเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการ
รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ได้ด้วยตนเองอันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดของความพอเพียงในชุมชน
บทพิสูจน์เหล่านี้มีผลทำให้ฐานคิดในการพัฒนาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
โดยทำให้เกิดความตระหนักว่า
ชุมชนมิได้มีแต่ความว่างเปล่าและมีแต่ด้านที่เป็นปัญหา
แต่ชุมชนท้องถิ่นในทุกภูมิภาคล้วนมีภูมิปัญญา มีศักยภาพ มีพลังสร้างสรรค์
และมีทางเลือกของตนเองอย่างอิสระที่จะแก้ปัญหาของชุมชน
การพัฒนาไม่ว่าจะเป็นใน
แง่เป้าหมายหรือกระบวนการจึงควรเป็นการกำหนด
ตัดสินใจและดำเนินการจากชุมชนซึ่งเป็นผู้รับผลจากการพัฒนา
โดยกำหนดให้ชุมชนเป็นตัวตั้งรวมทั้งมีความหลากหลายและครอบคลุมในหลายมิติ
(เสรี พงศ์พิศ. 2531. ; กาญจนา แก้วเทพ. 2538)
คำถามที่จะต้องเกิดขึ้นตามมาก็คือ
การช่วงชิงอำนาจหรือการคืนสถานภาพความเป็นตัวของตัวเองให้แก่สังคมไทยในการ
สร้างวาทกรรมที่เกิดขึ้นจากความต้องการของสังคมไทยเองนั้นจะเกิดขึ้นได้
อย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง นักวิเคราะห์วาทกรรม เช่น
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2540. หน้า 128)
แสดงความเห็นว่าคงมิใช่ด้วยวิธีการประณามวาทกรรมการพัฒนาที่เป็นอยู่คือ
ความทันสมัยว่าเป็นระบบครอบงำที่ชั่วร้ายและต้องทำลายล้างลงด้วยวิธีการ
ปฏิวัติที่รุนแรงหรือด้วยวิธีการแย่งชิงอำนาจรัฐอย่างในวิธีคิดแบบเก่า
แต่สิ่งสำคัญก็คือจะต้องต่อสู้ และปะทะด้วยการสร้างวาทกรรมชุดใหม่ขึ้นมา
พร้อมเอกลักษณ์หรือตัวตน
และความหมายชนิดใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบของการการพัฒนาแบบเดิมอีกต่อ
ไปขึ้นมาทดแทน
อย่างไรก็ตาม
การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นนี้
ยังคงมีข้อจำกัดอย่างมากเท่าที่สังคมยังคงมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการพึ่ง
พิงของชนบทที่มีต่อภาคเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีแนวโน้มว่า
วาทกรรม
แห่งความพอเพียงทางเศรษฐกิจนี้จะพยายามช่วงชิงการยำ (Hegemony)
การให้ความหมายและกำหนดกฎเกณฑ์การพัฒนาจากวาทกรรมหลักแห่งความทันสมัยเพื่อ
ช่วงชิงอำนาจการกำหนดกระบวนทัศน์รวมทั้งการกำหนดแนวทางการพัฒนาให้กลับสู่
สังคมไทย
แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่ในปัจจุบันกลับ
พบว่ายังคงไม่เพียงพอที่จะอธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนต่างๆ ของปรากฎการณ์
รวมทั้งเป็นฐานอำนาจในการสร้างและสนับสนุนวาทกรรมใหม่ได้อย่างเพียงพอที่จะ
สามารถปะทะกับวาทกรรมเดิมอันจะทำให้เกิดการให้ความหมายและทางเลือกใหม่ต่อ
การพัฒนาซึ่งจะเป็นการคืนอำนาจให้แก่สังคมไทยและสังคมชนบทอย่างเต็มที่
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเห็นว่า มีความจำเป็นมากที่จะต้องศึกษาวิจัยเพื่อสร้างความรู้อย่างเร่งด่วน
เพื่อ
รองรับและสนับสนุนการเกิดขึ้นของวาทกรรมใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพปัจจุบันซึ่งสังคมไทยต้องประสบกับปัญหาการพัฒนาหลาย
ด้าน ซึ่งมีผลทำให้เกิดคำถาม เกิดความสงสัยและเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ
มากมายต่อวาทกรรมการพัฒนาเดิมที่มุ่งเน้นการไปสู่ความทันสมัยแต่เพียงอย่าง
เดียว
การเกิดขึ้นของวาทกรรมที่ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงนั้น แม้จะดูเหมือนว่าสังคมไทยได้เข้าใกล้
จุด
เปลี่ยนผ่านของวาทกรรมการพัฒนาซึ่งจะมีผลสืบเนื่องเชื่อมโยงถึงการเปลี่ยน
แปลงกระบวนทัศน์และแนวทางการพัฒนาทั้งหมด
อันจะเป็นความหวังใหม่ในการคืนอำนาจให้แก่สังคมและชนบทไทยก็ตาม
แต่เมื่อพิเคราะห์ดูให้ดีแล้วจะเห็นว่า หากการเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของวาทกรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด
มีขั้นตอนและความสลับซับซ้อนของบรรดาเงื่อนไขต่าง ๆ ที่นำไปสู่การก่อตัว การเกิดของวาทกรรม
และ
ภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรม
รวมถึงผลกระทบหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำจากภาคปฏิบัติการจริงของวาท
กรรมการพัฒนาชุดนั้นด้วยแล้ว องค์ความรู้ต่าง ๆ
เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฎอยู่
ในสังคมไทยขณะนี้จึงยังมีอยู่น้อยมาก ไม่เพียงพอที่จะรองรับและสนับสนุนการต่อสู้ช่วงชิงการนำใน
การสร้างความหมาย และกฎเกณฑ์การพัฒนาจากวาทกรรมเดิมที่มุ่งไปสู่ความทันสมัย ซึ่งมีความได้
เปรียบในแง่ของการพัฒนาองค์ความรู้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้การสร้างความรู้
ที่
จะนำไปสู่การอธิบายและการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นในฐานะที่เป็นการสร้างความรู้สำหรับอธิบาย
ทำความเข้าใจและให้ความหมายรวมทั้งนำไปสู่การสร้างทางเลือกสำหรับการพัฒนา
ของสังคมไทยต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การศึกษานี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะเป็นปรากฎการณ์ทาง
สังคมอย่างหนึ่งว่า มีการเกิดขึ้น ดำรงอยู่
และปรับตัวไปอย่างท่ามกลางความเป็นพลวัตของบริบททางสังคม
ที่เปลี่ยนผ่านจากสังคมประเพณีเข้าสู่สังคมทันสมัย
ปัญหาการวิจัย
1.
การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทสังคมแบบประเพณี
(Traditional Society) ก่อนยุคเศรษฐกิจทุนนิยมการค้ามีเงื่อนไข
ปัจจัยอย่างไร
2. เศรษฐกิจพอเพียงมีการเปลี่ยนแปลง
หรือปรับตัวภายใต้บริบทที่เปลี่ยนผ่านจากโครงสร้างสังคมแบบประเพณี
ไปสู่สังคมทันสมัย (Modern Society) อย่างไร
ขอบเขตการศึกษา
เนื่องจากการศึกษาวิจัยนี้
ต้องการศึกษาถึงปรากฎการณ์การเกิดขึ้น การดำรงอยู่
และการปรับตัวของระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้บริบททาง
สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมประเพณี มาเป็นสังคมทันสมัย
โดยกำหนดนิยามความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การผลิต
การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการจัดสรรผลผลิต
โดยมุ่งศึกษาและทำความเข้าใจว่าภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปของสังคมซึ่งเป็น
บริบทที่แวดล้อมอยู่นั้น
ประชาชนในชนบทมีทัศนะและให้ความหมายกับการเกิดขึ้น การดำรงอยู่
และการปรับตัว ของกิจกรรมหลัก 4 ประการดังกล่าวนี้อย่างไร
และด้วยเหตุที่การอธิบายและให้ความหมายดังกล่าวเป็นทัศนะที่เกิดขึ้นจากมุม
มองของราษฎรในชนบทเอง
ดังนั้นการวิจัยนี้จึงใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพในการสร้างองค์ความรู้ที่มา
จากทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory)
ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เน้นการศึกษาปรากฎการณ์สังคมจากมุมมองและการให้ความหมายของ
คนที่อยู่ในปรากฎการณ์
ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาสร้างมโนทัศน์
และหาความเชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์ต่าง ๆ
ให้ได้ข้อสรุปเชิงทฤษฎีสำหรับการอธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฎการณ์
ที่เกิดขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผลของการวิจัยจะช่วยทำให้เข้าใจถึงกระบวนการในการสร้างเอกลักษณ์ การให้ความหมาย
การสร้างชุดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับวาทกรรมการพัฒนาที่นำไปสู่คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ได้ลึกซึ้งมากขึ้น
2. ผลของการวิจัยจะช่วยทำให้เข้าใจถึงการเกิด
การดำรงอยู่ และการปรับตัวของระบบ
ความสัมพันธ์ทางสังคมของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้บริบททางสังคมต่าง ๆ
ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. ผลของการวิจัยทำให้เกิดความรู้ที่จะสนับสนุนและอธิบายวาทกรรมใหม่ที่ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการดำเนินการวิจัย
เนื่อง
จากการศึกษาวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์นั้น
ต้องการทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ซึ่งเป็นปรากฎการณ์สังคมที่มีความซับซ้อน
หลากหลายและเชื่อมโยงกันในหลายมิติ
ดังนั้นการพยายามทำความเข้าใจถึงวิธีการที่บุคคลให้ความหมายต่อสิ่งต่าง ๆ
รอบตัว เพื่อเชื่อมโยงไปถึงคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีคิดและการกระทำของบุคคล
ย่อมทำให้สามารถเข้าใจปรากฎการณ์ทางสังคมที่ศึกษาได้อย่างลึกซึ้งและสมบูรณ์
มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามผู้วิจัยพบว่าความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่
ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์นี้ได้อย่างเพียงพอ ดังนั้น
การใช้วิธีวิทยาของการสร้างทฤษฎีจากฐานราก (Grounded Theory)
จึงเป็นสิ่งจำเป็นของการศึกษาวิธีวิทยาแบบนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่า
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
จะต้องเข้าใจถึงกระบวนการที่บุคคลให้ความหมาย (Meaning)
ต่อสิ่งนั้นเสียก่อน
ทั้งนี้เพราะความเข้าใจต่อการให้ความหมายของคนจะทำให้สามารถอธิบายถึงความ
คิดและพฤติกรรมของคนเหล่านี้ได้ (นภาภรณ์ หะวานนท์. 2539. หน้า 102)
สนาม
ก่อนการตัดสินใจเลือกสนามผู้วิจัยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิชาการอื่น ๆ
และเดินทางไปดูพื้นที่จริงในจังหวัดต่าง ๆ
แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบว่าพื้นที่ใดมีความสอดคล้อง
และเหมาะสมที่จะเลือกเป็นสนามในการศึกษามากที่สุด
ในที่สุดผู้วิจัยเจาะจงเลือกพื้นที่ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นสนามในการศึกษา
เนื่องจากพบว่าหมู่บ้านดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะ
ของเศรษฐกิจพอเพียงตามคำนิยามและขอบเขตที่กำหนดไว้มากที่สุด
การเข้าสู่สนาม
หลังจากเลือกพื้นที่แล้ว
ผู้วิจัยได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ก่อนเข้าสู่สนามจริง
โดยได้มีการทดลองสัมภาษณ์ตามแนวคำถามที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบ
สำหรับการสร้างแนวคำถามการสัมภาณ์นั้น ได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์และปัญหา
เป็นแนวคำถามปลายเปิด
เพื่อให้การเข้าสู่สนามมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ผู้วิจัยได้วางแผนและเตรียมการ
โดยทำการศึกษาข้อมูลทางกายภาพและประวัติชุมชน ร่วมทั้งสภาพบริบทต่างๆ ก่อน
และได้นำคณะผู้เก็บข้อมูลอันประกอบด้วยนักวิชาการที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ
การศึกษาวิจัยชุมชน จำนวน 2 คน และผู้ช่วยนักวิจัย จำนวน 3 คน
ซึ่งทุกคนได้ทำการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับประเด็นการวิจัย
กรอบความคิดในการศึกษารวมทั้งแนวคำถามล่วงหน้าเป็นอย่างดีแล้วเข้าไปสำรวจ
พื้นที่ก่อน
โดยภายหลังเมื่อกลับออกมาก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการ
สัมภาษณ์
การแบ่งหน้าที่รวมทั้งการประสานงานในการเก็บข้อมูลก่อนเข้าสู่สนามจริง
ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากการเข้าไปสำรวจพื้นที่ล่วงหน้าประมาณ 2 อาทิตย์
การเลือกบุคคลผู้ให้ข้อมูลหลัก
ในการศึกษานี้ผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักโดยใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎี ซึ่งจะกำหนดลักษณะ
ของผู้ให้สัมภาษณ์ไว้กว้าง ๆ ตามกรอบแนวคิดที่สร้างขึ้น เช่น ผู้นำท้องถิ่นและกลุ่มองค์กรชุมชน
ผู้นำทางด้านศาสนาและพิธีกรรม ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้แทนกลุ่มสตรีและแม่บ้าน เจ้าหน้าที่
ของ
รัฐ ผู้อาวุโส เด็กและเยาวชน
โดยคำนึงถึงความหลากหลายของการให้ความหมายตามลักษณะที่แตกต่างกันของกลุ่ม
ผู้ให้ข้อมูลหลักเหล่านี้ โดยไม่เจาะจงว่าจะเก็บข้อมูลจากใคร
ลักษณะใดหรือต้องการข้อมูลจำนวนมากเท่าใด ความไวต่อทฤษฎีและมโนทัศน์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักรายแรกจะเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็น
ถึงผู้ให้สัมภาษณ์รายอื่น ๆ
การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล
ความสมบูรณ์ของมโนทัศน์และทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นมาจากข้อมูลเป็นเงื่อนไขที่
สำคัญมาก
ดังนั้นในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นการสร้างมโนทัศน์เชิงทฤษฎี
(Theoretical Coding)
ด้วยวิธีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับทฤษฎีในลักษณะที่นำข้อมูลที่
มีอยู่เป็นจำนวนมากน้มาแยกส่วน หรือจัดหมวดหมู่ตามคุณสมบัติ
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการตีความ (Interpretation)
เพื่อสร้างมโนทัศน์ขึ้นมาจากข้อมูลแล้วดำเนินการเชื่อมโยงมโนทัศน์ในรูปความ
สัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ โดยคำนึงถึงเงื่อนไข และบริบทที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่ศึกษา
ทั้งนี้ทฤษฎีที่สร้างขึ้นมาจะสามารถสะท้อนความจริงและมีลักษณะเป็นนามธรรม
อันจะนำไปสู่การสร้างอำนาจในการอธิบายปรากฎการณ์ที่ศึกษาได้
ด้วยเหตุนี้กระบวนการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจึงต้องดำเนินไปควบคู่กับ
การเก็บข้อมูลพร้อมทั้งมีการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งอื่น (Triangulation)
ด้วย
ผลการศึกษา
การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้โครงสร้างสังคมแบบประเพณี
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพบว่า หมู่บ้านพอเพียง
(ชื่อสมมุติ) ในยุคก่อนปี 2518
เมื่อยังไม่มีถนนตัดผ่านเข้าไปในหมู่บ้านจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง
ใหญ่จากอิทธิพลภายนอกที่หลั่งไหลเข้ามานั้น
กล่าวได้ว่าโครงสร้างสังคมของหมู่บ้านนี้มีลักษณะแบบสังคมประเพณีอย่างเต็ม
ที่ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของวิถีการผลิต
พบว่าเป็นไปเพื่อการยังชีพด้วยการอาศัยการเกษตรกรรมต่าง ๆ
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการปัจจัย 4
ให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขพอสมควรตามอัตภาพ
อีกทั้งหมู่บ้านนี้มีโครงสร้างสังคมที่มีความซับซ้อนน้อย หน่วยสังคมต่าง ๆ
ทำหลายหน้าที่ ทำให้มีความสามารถในการบูรณาการสูง
และการมีระบบคุณค่าและความเชื่อต่าง ๆ ในสิ่งเหนือธรรมชาติที่พิสูจน์ไม่ได้
ก็ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่พบในสังคมประเพณีทั้งสิ้น
การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ภายใต้สังคมประเพณีของหมู่บ้านนี้มีเงื่อนไขหลัก 2 ประการ คือ
1. การมีวิถีการผลิตแบบยังชีพของหมู่บ้านซึ่งการผลิตเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคของตนเองเป็นหลัก
2. ศักยภาพของหมู่บ้านที่ยังคงสามารถดำรง รักษา “อำนาจ”
ในการดูแลจัดการทรัพยากรต่าง ๆและกระบวนการขัดเกลาทางสังคมของตนเองไว้
นอก
จากนั้นยังพบว่ามีเงื่อนไขอื่นๆ
ที่สนับสนุนให้หมู่บ้านเกิดเศรษฐกิจพอเพียงและดำรงอยู่ได้ในโครงสร้างสังคม
ประเพณีของหมู่บ้าน ดังนี้
1. การปลอดจากการแทรกแซงของอิทธิพลภายนอกและระบบการค้าแบบเงินตรา
2. สภาพของป่าที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งทรัพยากรที่เพียงพอ
3. เทคโนโลยีที่มีขนาดเหมาะสมและไม่ซับซ้อนจนเกินไป
4. จำนวนประชากรที่เหมาะสม
มโนทัศน์
ต่าง ๆ ทั้งหมดจากการวิเคราะห์ข้อมูล
เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของการเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของเศรษฐกิจพอเพียงใน
โครงสร้างสังคมแบบประเพณีก็คือ
การที่ชุมชนมีอำนาจในการควบคุมและดูแลทรัพยากรของตนเองอย่างเต็มที่
นอกจากนั้นยังพบว่า การมีจำนวนประชากรที่เหมาะสม การมีสภาพป่า
ที่อุดม
สมบูรณ์ การผูกพันกันในลักษณะเครือญาติ
รวมทั้งการมีวิถีการผลิตที่เป็นไปเพื่อการยังชีพและการบริโภคในครอบครัวโดย
ปราศจากการแทรกแซงของอิทธิพลภายนอก
ก็เป็นเงื่อนไขสนับสนุนที่สำคัญเช่นกัน
การดำรงอยู่และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยนแปลงบริบทจากสังคมประเพณีมาสู่สังคมทันสมัย
การศึกษานี้พบว่า
เงื่อนไขที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากสังคมประเพณีมาสู่สังคม
ทันสมัย ก็คือ การมีอิทธิพลภายนอกในรูปแบบต่าง ๆ
เข้ามาแทรกแซงไม่ว่าจะเป็นการมีถนน สัมปทานป่า การค้าขายแบบทุนนิยม
และการศึกษาสมัยใหม่ ไฟฟ้ารวมทั้งสื่อต่าง ๆ
ปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้การจัดระเบียบทางสังคมตั้งแต่โลกทัศน์
ระบบคุณค่าและบรรทัดฐานของชุมชนที่ปรากฎอยู่ในรูปจารีตประเพณี
ความเชื่อต่าง ๆ แตกต่างไปจากเดิม
ในด้านการผลิต พบว่า
การจัดการปัจจัยการผลิตและการจัดการในการผลิตต้องเปลี่ยนแปลงไป
โดยบรรทัดฐานของชุมชนที่เคยควบคุมให้สมาชิกจัดการปัจจัยการผลิตบนพื้นฐานของ
ความสมดุลกับธรรมชาติและการเอื้อเฟื้อแบ่งปันกันในชุมชนต้องเปลี่ยนเป็น
บรรทัดฐานของเงินตราและปัจเจกชนเข้ามาแทนที่
ในด้านการบริโภค พบว่า อิทธิพลจากภายนอกที่เข้ามา
ทำให้ทัศนคติและพฤติกรรมในการบริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะการเลียนแบบ
และการพึ่งพาผลผลิตต่าง ๆ จากภายนอกมากขึ้น
มีผลทำให้การบริโภคและการผลิตไม่ได้ดำรงอยู่ในอำนาจและการควบคุมของครอบครัว
และชุมชนอีกต่อไป
แต่ต้องไปสัมพันธ์กับตลาดภายนอกที่ตนเสียเปรียบเนื่องจากมีอำนาจต่อรองที่
ด้อยกว่า จึงทำให้เกิดความไม่เพียงพอในการบริโภคขึ้น
การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เหล่านี้มีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคเกิดขึ้น
ซึ่งชุมชนมีความจำเป็นต้องมีการปรับตัวภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
มโนทัศน์ที่ได้จากการศึกษาพบว่า
กระบวนการปรับตัวของชุมชนดังกล่าวตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่สำคัญ 2 ประการ
คือการปรับตัวโดยพยายามรักษาความสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภค
และการปรับตัวด้วยการพยายามสร้างกระบวนการต่อรองและการจัดการรูปแบบต่าง ๆ
กระบวนการปรับตัวด้านการผลิต
ที่ปรับตัวเข้าสู่การมีสองวิถีการผลิตร่วมกัน ทั้งวิถีการผลิตแบบยังชีพ
และการค้าซึ่งทำให้บรรทัดฐานเดิมที่เคยควบคุมความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยว
ข้องกับการผลิตเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใหม่ เช่น
มีการรวมกลุ่มกันทำการเพาะปลูกในลักาณะเกษตรเชิงอนุรักษ์
การตั้งกลุ่มทอผ้า กลุ่มออมทรัพย์และธนาคารข้าว
เพื่อธำรงรักษาการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของความ
สมดุลกับธรรมชาติและพึ่งพาอาศัยแบ่งปันกันในชุมชนไว้ภายใต้รูปแบบการรวม
กลุ่มทำกิจกรรมการเพาะปลูกเชิงอนุรักษ์แทน
กระบวนการปรับตัวด้านการบริโภค
ที่พยายามดรงวิถีการผลิตเพื่อการบริโภคและการยึดมั่นในจารีตประเพณีเดิมที่
เกี่ยวกับการบริโภค ในขณะเดียวกันก็สร้างระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ เช่น
การวิสาสะกันในกลุ่มสมาชิก บทบาทการเข้ามาควบคุมสื่อของครอบครัว
ต่างก็เป็นกระบวนการปรับตัวที่
เข้ามาควบคุมให้การบริโภคเป็นไปอย่างเหมาะสมภายใต้เงื่อนไขของความสมดุลกับการผลิตทั้งสิ้น
การปรับตัวด้านการแลกเปลี่ยนและการจัดสรรผลผลิต ที่พยายามสร้างอำนาจต่อรองและความสัมพันธ์
ที่เท่าเทียมกันผ่านการรวมตัวกันเป็นกลุ่มต่าง ๆ แสดงถึงการพยายามปรับตัวเข้าสู่ความสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคไว้
การเกิด การดำรง และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
การเกิด การดำรง และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ของอรสุดา เจริญรัถ*
อรสุดา เจริญรัถ. (2543). การเกิดขึ้น การดำรงอยู่และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยน แปลงของสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.คณะกรรมการควบคุม รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์
ผศ.ดร.สุรุวุฒิ ปัดไธสง
ผศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
ความสำคัญของปัญหา
ในอดีตพบว่าสังคมชนบทไทยดั้งเดิมนั้นเป็นสังคมที่มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย
เศรษฐกิจพื้นฐานเป็นการผลิตเพื่อยังชีพสำหรับบริโภคใช้สอยในครัวเรือนและใน
ชุมชน มิใช่เพื่อการแลกเปลี่ยน
การดำรงชีพเป็นลักษณะการพึ่งพิงธรรมชาติที่อยู่รอบตัว
ทำให้ชาวชนบทมีความใกล้ชิดผูกพันและตระหนักในสิ่งแวดล้อม
ซึ่งแสดงออกในรูปของความเชื่อ
และพิธีกรรมที่เอื้อต่อการรักษาความสมดุลของทรัพยากร
ธรรมชาติความสัมพันธ์หลักในชุมชนเป็นความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติและความสัมพันธ์ทางสายเลือด
(ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2537)
การ
เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชนบทไทยเกิดขึ้นเมื่อประเทศได้เข้าสู่กระบวนการ
พัฒนาที่มุ่งเน้นความทันสมัยตามแบบตะวันตก
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดเป็นต้น
นักวิเคราะห์วาทกรรมพยายามสะท้อนและเชื่อมโยงให้เห็นว่า
เริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อประเทศตะวันตกได้ใช้อำนาจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ การให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการเงินกู้
หรือคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ
ได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดวาทกรรมเพื่อสร้างความหมายต่อสิ่งใหม่
ที่เป็นคู่ตรงข้ามคือ “การพัฒนา” และ “ความด้อยพัฒนา” ให้เกิดขึ้น (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2540. หน้า 87)
การใช้อำนาจของประเทศตะวันตกกำหนดวาทกรรมการพัฒนาในลักษณะดังกล่าวนี้
นับว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างกระบวนทัศน์ที่ให้ความสำคัญกับการ
เปลี่ยนแปลงสภาพสังคมให้หลุดพ้น
จากสภาพความด้อยพัฒนาไปสู่การพัฒนา
วาทกรรมดังกล่าวจึงได้สร้างกฎเกณฑ์อีกชุดหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน
เพื่อให้ความหมายแก่ “สังคมที่พัฒนา” ว่า
คือสังคมที่มีความทันสมัยตามแบบสังคมตะวันตกซึ่งจะไปถึงได้
ด้วยวิธีการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสอดคล้องกับทฤษฎีความทันสมัย
(Modernization Theory)
ดังนั้นทุกสังคมจะสามารถหลุดพ้นจากความด้อยพัฒนาไปสู่ความเจริญได้ด้วยการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมให้เป็นแบบตะวันตก (Black. 1960. pp. 1-7)
ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ย่อมทำให้วิถีชีวิต โลกทัศน์
ระบบความเชื่อ และคุณค่าต่างๆ ของคนไทย
ไม่ว่าจะเป็นคนเมืองหรือคนในชนบทผันแปรไปจากเดิม
แนวทางการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่เชื่อกันมาแต่เดิมว่า
ถูกต้องและเหมาะสมว่าแท้จริงแล้ว
แนวทางการพัฒนาเช่นนี้ยังคงถูกต้องและสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยต่อไปอีก
หรือไม่ (เพ็ญสิริ จีระเดชากุล. 2542. หน้า 2)
แม้ในแวดวงการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการและปัญญาชน ก็พบว่า
เกิดกลุ่มแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่ “ต่อต้านทฤษฎีการทำให้ทันสมัย”
ซึ่งแท้จริงแล้วชุมชนชนบทไทยสามารถปรับตัวโดยสร้างระบบการบริหารจัดการภาย
ใต้บริบทที่มีความขัดแย้งและกดดันเพื่อหาทางเลือก
ที่ดีที่สุดให้แก่
สมาชิกชุมชน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขพึ่งพาตนเอง
และรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมไว้ได้ ประเด็นที่ผู้วิจัยเห็นว่า
มีความสำคัญมากที่สุด คือ
ชุมชนเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอย่างเต็มที่เพื่อรักษา
“อำนาจและสิทธิ” ของตนในการตัดสินใจกำหนดทางเลือกการพัฒนา
รวมทั้งรักษา
ความสามารถในการควบคุม และการจัดการเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการ
รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ได้ด้วยตนเองอันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดของความพอเพียงในชุมชน
บทพิสูจน์เหล่านี้มีผลทำให้ฐานคิดในการพัฒนาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
โดยทำให้เกิดความตระหนักว่า
ชุมชนมิได้มีแต่ความว่างเปล่าและมีแต่ด้านที่เป็นปัญหา
แต่ชุมชนท้องถิ่นในทุกภูมิภาคล้วนมีภูมิปัญญา มีศักยภาพ มีพลังสร้างสรรค์
และมีทางเลือกของตนเองอย่างอิสระที่จะแก้ปัญหาของชุมชน
การพัฒนาไม่ว่าจะเป็นใน
แง่เป้าหมายหรือกระบวนการจึงควรเป็นการกำหนด
ตัดสินใจและดำเนินการจากชุมชนซึ่งเป็นผู้รับผลจากการพัฒนา
โดยกำหนดให้ชุมชนเป็นตัวตั้งรวมทั้งมีความหลากหลายและครอบคลุมในหลายมิติ
(เสรี พงศ์พิศ. 2531. ; กาญจนา แก้วเทพ. 2538)
คำถามที่จะต้องเกิดขึ้นตามมาก็คือ
การช่วงชิงอำนาจหรือการคืนสถานภาพความเป็นตัวของตัวเองให้แก่สังคมไทยในการ
สร้างวาทกรรมที่เกิดขึ้นจากความต้องการของสังคมไทยเองนั้นจะเกิดขึ้นได้
อย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง นักวิเคราะห์วาทกรรม เช่น
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2540. หน้า 128)
แสดงความเห็นว่าคงมิใช่ด้วยวิธีการประณามวาทกรรมการพัฒนาที่เป็นอยู่คือ
ความทันสมัยว่าเป็นระบบครอบงำที่ชั่วร้ายและต้องทำลายล้างลงด้วยวิธีการ
ปฏิวัติที่รุนแรงหรือด้วยวิธีการแย่งชิงอำนาจรัฐอย่างในวิธีคิดแบบเก่า
แต่สิ่งสำคัญก็คือจะต้องต่อสู้ และปะทะด้วยการสร้างวาทกรรมชุดใหม่ขึ้นมา
พร้อมเอกลักษณ์หรือตัวตน
และความหมายชนิดใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบของการการพัฒนาแบบเดิมอีกต่อ
ไปขึ้นมาทดแทน
อย่างไรก็ตาม
การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นนี้
ยังคงมีข้อจำกัดอย่างมากเท่าที่สังคมยังคงมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการพึ่ง
พิงของชนบทที่มีต่อภาคเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีแนวโน้มว่า
วาทกรรม
แห่งความพอเพียงทางเศรษฐกิจนี้จะพยายามช่วงชิงการยำ (Hegemony)
การให้ความหมายและกำหนดกฎเกณฑ์การพัฒนาจากวาทกรรมหลักแห่งความทันสมัยเพื่อ
ช่วงชิงอำนาจการกำหนดกระบวนทัศน์รวมทั้งการกำหนดแนวทางการพัฒนาให้กลับสู่
สังคมไทย
แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่ในปัจจุบันกลับ
พบว่ายังคงไม่เพียงพอที่จะอธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนต่างๆ ของปรากฎการณ์
รวมทั้งเป็นฐานอำนาจในการสร้างและสนับสนุนวาทกรรมใหม่ได้อย่างเพียงพอที่จะ
สามารถปะทะกับวาทกรรมเดิมอันจะทำให้เกิดการให้ความหมายและทางเลือกใหม่ต่อ
การพัฒนาซึ่งจะเป็นการคืนอำนาจให้แก่สังคมไทยและสังคมชนบทอย่างเต็มที่
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเห็นว่า มีความจำเป็นมากที่จะต้องศึกษาวิจัยเพื่อสร้างความรู้อย่างเร่งด่วน
เพื่อ
รองรับและสนับสนุนการเกิดขึ้นของวาทกรรมใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพปัจจุบันซึ่งสังคมไทยต้องประสบกับปัญหาการพัฒนาหลาย
ด้าน ซึ่งมีผลทำให้เกิดคำถาม เกิดความสงสัยและเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ
มากมายต่อวาทกรรมการพัฒนาเดิมที่มุ่งเน้นการไปสู่ความทันสมัยแต่เพียงอย่าง
เดียว
การเกิดขึ้นของวาทกรรมที่ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงนั้น แม้จะดูเหมือนว่าสังคมไทยได้เข้าใกล้
จุด
เปลี่ยนผ่านของวาทกรรมการพัฒนาซึ่งจะมีผลสืบเนื่องเชื่อมโยงถึงการเปลี่ยน
แปลงกระบวนทัศน์และแนวทางการพัฒนาทั้งหมด
อันจะเป็นความหวังใหม่ในการคืนอำนาจให้แก่สังคมและชนบทไทยก็ตาม
แต่เมื่อพิเคราะห์ดูให้ดีแล้วจะเห็นว่า หากการเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของวาทกรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด
มีขั้นตอนและความสลับซับซ้อนของบรรดาเงื่อนไขต่าง ๆ ที่นำไปสู่การก่อตัว การเกิดของวาทกรรม
และ
ภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรม
รวมถึงผลกระทบหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำจากภาคปฏิบัติการจริงของวาท
กรรมการพัฒนาชุดนั้นด้วยแล้ว องค์ความรู้ต่าง ๆ
เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฎอยู่
ในสังคมไทยขณะนี้จึงยังมีอยู่น้อยมาก ไม่เพียงพอที่จะรองรับและสนับสนุนการต่อสู้ช่วงชิงการนำใน
การสร้างความหมาย และกฎเกณฑ์การพัฒนาจากวาทกรรมเดิมที่มุ่งไปสู่ความทันสมัย ซึ่งมีความได้
เปรียบในแง่ของการพัฒนาองค์ความรู้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้การสร้างความรู้
ที่
จะนำไปสู่การอธิบายและการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นในฐานะที่เป็นการสร้างความรู้สำหรับอธิบาย
ทำความเข้าใจและให้ความหมายรวมทั้งนำไปสู่การสร้างทางเลือกสำหรับการพัฒนา
ของสังคมไทยต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การศึกษานี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะเป็นปรากฎการณ์ทาง
สังคมอย่างหนึ่งว่า มีการเกิดขึ้น ดำรงอยู่
และปรับตัวไปอย่างท่ามกลางความเป็นพลวัตของบริบททางสังคม
ที่เปลี่ยนผ่านจากสังคมประเพณีเข้าสู่สังคมทันสมัย
ปัญหาการวิจัย
1.
การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทสังคมแบบประเพณี
(Traditional Society) ก่อนยุคเศรษฐกิจทุนนิยมการค้ามีเงื่อนไข
ปัจจัยอย่างไร
2. เศรษฐกิจพอเพียงมีการเปลี่ยนแปลง
หรือปรับตัวภายใต้บริบทที่เปลี่ยนผ่านจากโครงสร้างสังคมแบบประเพณี
ไปสู่สังคมทันสมัย (Modern Society) อย่างไร
ขอบเขตการศึกษา
เนื่องจากการศึกษาวิจัยนี้
ต้องการศึกษาถึงปรากฎการณ์การเกิดขึ้น การดำรงอยู่
และการปรับตัวของระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้บริบททาง
สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมประเพณี มาเป็นสังคมทันสมัย
โดยกำหนดนิยามความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การผลิต
การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการจัดสรรผลผลิต
โดยมุ่งศึกษาและทำความเข้าใจว่าภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปของสังคมซึ่งเป็น
บริบทที่แวดล้อมอยู่นั้น
ประชาชนในชนบทมีทัศนะและให้ความหมายกับการเกิดขึ้น การดำรงอยู่
และการปรับตัว ของกิจกรรมหลัก 4 ประการดังกล่าวนี้อย่างไร
และด้วยเหตุที่การอธิบายและให้ความหมายดังกล่าวเป็นทัศนะที่เกิดขึ้นจากมุม
มองของราษฎรในชนบทเอง
ดังนั้นการวิจัยนี้จึงใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพในการสร้างองค์ความรู้ที่มา
จากทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory)
ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เน้นการศึกษาปรากฎการณ์สังคมจากมุมมองและการให้ความหมายของ
คนที่อยู่ในปรากฎการณ์
ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาสร้างมโนทัศน์
และหาความเชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์ต่าง ๆ
ให้ได้ข้อสรุปเชิงทฤษฎีสำหรับการอธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฎการณ์
ที่เกิดขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผลของการวิจัยจะช่วยทำให้เข้าใจถึงกระบวนการในการสร้างเอกลักษณ์ การให้ความหมาย
การสร้างชุดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับวาทกรรมการพัฒนาที่นำไปสู่คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ได้ลึกซึ้งมากขึ้น
2. ผลของการวิจัยจะช่วยทำให้เข้าใจถึงการเกิด
การดำรงอยู่ และการปรับตัวของระบบ
ความสัมพันธ์ทางสังคมของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้บริบททางสังคมต่าง ๆ
ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. ผลของการวิจัยทำให้เกิดความรู้ที่จะสนับสนุนและอธิบายวาทกรรมใหม่ที่ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการดำเนินการวิจัย
เนื่อง
จากการศึกษาวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์นั้น
ต้องการทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ซึ่งเป็นปรากฎการณ์สังคมที่มีความซับซ้อน
หลากหลายและเชื่อมโยงกันในหลายมิติ
ดังนั้นการพยายามทำความเข้าใจถึงวิธีการที่บุคคลให้ความหมายต่อสิ่งต่าง ๆ
รอบตัว เพื่อเชื่อมโยงไปถึงคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีคิดและการกระทำของบุคคล
ย่อมทำให้สามารถเข้าใจปรากฎการณ์ทางสังคมที่ศึกษาได้อย่างลึกซึ้งและสมบูรณ์
มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามผู้วิจัยพบว่าความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่
ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์นี้ได้อย่างเพียงพอ ดังนั้น
การใช้วิธีวิทยาของการสร้างทฤษฎีจากฐานราก (Grounded Theory)
จึงเป็นสิ่งจำเป็นของการศึกษาวิธีวิทยาแบบนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่า
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
จะต้องเข้าใจถึงกระบวนการที่บุคคลให้ความหมาย (Meaning)
ต่อสิ่งนั้นเสียก่อน
ทั้งนี้เพราะความเข้าใจต่อการให้ความหมายของคนจะทำให้สามารถอธิบายถึงความ
คิดและพฤติกรรมของคนเหล่านี้ได้ (นภาภรณ์ หะวานนท์. 2539. หน้า 102)
สนาม
ก่อนการตัดสินใจเลือกสนามผู้วิจัยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิชาการอื่น ๆ
และเดินทางไปดูพื้นที่จริงในจังหวัดต่าง ๆ
แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบว่าพื้นที่ใดมีความสอดคล้อง
และเหมาะสมที่จะเลือกเป็นสนามในการศึกษามากที่สุด
ในที่สุดผู้วิจัยเจาะจงเลือกพื้นที่ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นสนามในการศึกษา
เนื่องจากพบว่าหมู่บ้านดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะ
ของเศรษฐกิจพอเพียงตามคำนิยามและขอบเขตที่กำหนดไว้มากที่สุด
การเข้าสู่สนาม
หลังจากเลือกพื้นที่แล้ว
ผู้วิจัยได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ก่อนเข้าสู่สนามจริง
โดยได้มีการทดลองสัมภาษณ์ตามแนวคำถามที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบ
สำหรับการสร้างแนวคำถามการสัมภาณ์นั้น ได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์และปัญหา
เป็นแนวคำถามปลายเปิด
เพื่อให้การเข้าสู่สนามมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ผู้วิจัยได้วางแผนและเตรียมการ
โดยทำการศึกษาข้อมูลทางกายภาพและประวัติชุมชน ร่วมทั้งสภาพบริบทต่างๆ ก่อน
และได้นำคณะผู้เก็บข้อมูลอันประกอบด้วยนักวิชาการที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ
การศึกษาวิจัยชุมชน จำนวน 2 คน และผู้ช่วยนักวิจัย จำนวน 3 คน
ซึ่งทุกคนได้ทำการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับประเด็นการวิจัย
กรอบความคิดในการศึกษารวมทั้งแนวคำถามล่วงหน้าเป็นอย่างดีแล้วเข้าไปสำรวจ
พื้นที่ก่อน
โดยภายหลังเมื่อกลับออกมาก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการ
สัมภาษณ์
การแบ่งหน้าที่รวมทั้งการประสานงานในการเก็บข้อมูลก่อนเข้าสู่สนามจริง
ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากการเข้าไปสำรวจพื้นที่ล่วงหน้าประมาณ 2 อาทิตย์
การเลือกบุคคลผู้ให้ข้อมูลหลัก
ในการศึกษานี้ผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักโดยใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎี ซึ่งจะกำหนดลักษณะ
ของผู้ให้สัมภาษณ์ไว้กว้าง ๆ ตามกรอบแนวคิดที่สร้างขึ้น เช่น ผู้นำท้องถิ่นและกลุ่มองค์กรชุมชน
ผู้นำทางด้านศาสนาและพิธีกรรม ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้แทนกลุ่มสตรีและแม่บ้าน เจ้าหน้าที่
ของ
รัฐ ผู้อาวุโส เด็กและเยาวชน
โดยคำนึงถึงความหลากหลายของการให้ความหมายตามลักษณะที่แตกต่างกันของกลุ่ม
ผู้ให้ข้อมูลหลักเหล่านี้ โดยไม่เจาะจงว่าจะเก็บข้อมูลจากใคร
ลักษณะใดหรือต้องการข้อมูลจำนวนมากเท่าใด ความไวต่อทฤษฎีและมโนทัศน์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักรายแรกจะเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็น
ถึงผู้ให้สัมภาษณ์รายอื่น ๆ
การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล
ความสมบูรณ์ของมโนทัศน์และทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นมาจากข้อมูลเป็นเงื่อนไขที่
สำคัญมาก
ดังนั้นในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นการสร้างมโนทัศน์เชิงทฤษฎี
(Theoretical Coding)
ด้วยวิธีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับทฤษฎีในลักษณะที่นำข้อมูลที่
มีอยู่เป็นจำนวนมากน้มาแยกส่วน หรือจัดหมวดหมู่ตามคุณสมบัติ
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการตีความ (Interpretation)
เพื่อสร้างมโนทัศน์ขึ้นมาจากข้อมูลแล้วดำเนินการเชื่อมโยงมโนทัศน์ในรูปความ
สัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ โดยคำนึงถึงเงื่อนไข และบริบทที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่ศึกษา
ทั้งนี้ทฤษฎีที่สร้างขึ้นมาจะสามารถสะท้อนความจริงและมีลักษณะเป็นนามธรรม
อันจะนำไปสู่การสร้างอำนาจในการอธิบายปรากฎการณ์ที่ศึกษาได้
ด้วยเหตุนี้กระบวนการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจึงต้องดำเนินไปควบคู่กับ
การเก็บข้อมูลพร้อมทั้งมีการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งอื่น (Triangulation)
ด้วย
ผลการศึกษา
การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้โครงสร้างสังคมแบบประเพณี
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพบว่า หมู่บ้านพอเพียง
(ชื่อสมมุติ) ในยุคก่อนปี 2518
เมื่อยังไม่มีถนนตัดผ่านเข้าไปในหมู่บ้านจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง
ใหญ่จากอิทธิพลภายนอกที่หลั่งไหลเข้ามานั้น
กล่าวได้ว่าโครงสร้างสังคมของหมู่บ้านนี้มีลักษณะแบบสังคมประเพณีอย่างเต็ม
ที่ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของวิถีการผลิต
พบว่าเป็นไปเพื่อการยังชีพด้วยการอาศัยการเกษตรกรรมต่าง ๆ
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการปัจจัย 4
ให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขพอสมควรตามอัตภาพ
อีกทั้งหมู่บ้านนี้มีโครงสร้างสังคมที่มีความซับซ้อนน้อย หน่วยสังคมต่าง ๆ
ทำหลายหน้าที่ ทำให้มีความสามารถในการบูรณาการสูง
และการมีระบบคุณค่าและความเชื่อต่าง ๆ ในสิ่งเหนือธรรมชาติที่พิสูจน์ไม่ได้
ก็ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่พบในสังคมประเพณีทั้งสิ้น
การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ภายใต้สังคมประเพณีของหมู่บ้านนี้มีเงื่อนไขหลัก 2 ประการ คือ
1. การมีวิถีการผลิตแบบยังชีพของหมู่บ้านซึ่งการผลิตเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคของตนเองเป็นหลัก
2. ศักยภาพของหมู่บ้านที่ยังคงสามารถดำรง รักษา “อำนาจ”
ในการดูแลจัดการทรัพยากรต่าง ๆและกระบวนการขัดเกลาทางสังคมของตนเองไว้
นอก
จากนั้นยังพบว่ามีเงื่อนไขอื่นๆ
ที่สนับสนุนให้หมู่บ้านเกิดเศรษฐกิจพอเพียงและดำรงอยู่ได้ในโครงสร้างสังคม
ประเพณีของหมู่บ้าน ดังนี้
1. การปลอดจากการแทรกแซงของอิทธิพลภายนอกและระบบการค้าแบบเงินตรา
2. สภาพของป่าที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งทรัพยากรที่เพียงพอ
3. เทคโนโลยีที่มีขนาดเหมาะสมและไม่ซับซ้อนจนเกินไป
4. จำนวนประชากรที่เหมาะสม
มโนทัศน์
ต่าง ๆ ทั้งหมดจากการวิเคราะห์ข้อมูล
เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของการเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของเศรษฐกิจพอเพียงใน
โครงสร้างสังคมแบบประเพณีก็คือ
การที่ชุมชนมีอำนาจในการควบคุมและดูแลทรัพยากรของตนเองอย่างเต็มที่
นอกจากนั้นยังพบว่า การมีจำนวนประชากรที่เหมาะสม การมีสภาพป่า
ที่อุดม
สมบูรณ์ การผูกพันกันในลักษณะเครือญาติ
รวมทั้งการมีวิถีการผลิตที่เป็นไปเพื่อการยังชีพและการบริโภคในครอบครัวโดย
ปราศจากการแทรกแซงของอิทธิพลภายนอก
ก็เป็นเงื่อนไขสนับสนุนที่สำคัญเช่นกัน
การดำรงอยู่และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยนแปลงบริบทจากสังคมประเพณีมาสู่สังคมทันสมัย
การศึกษานี้พบว่า
เงื่อนไขที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากสังคมประเพณีมาสู่สังคม
ทันสมัย ก็คือ การมีอิทธิพลภายนอกในรูปแบบต่าง ๆ
เข้ามาแทรกแซงไม่ว่าจะเป็นการมีถนน สัมปทานป่า การค้าขายแบบทุนนิยม
และการศึกษาสมัยใหม่ ไฟฟ้ารวมทั้งสื่อต่าง ๆ
ปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้การจัดระเบียบทางสังคมตั้งแต่โลกทัศน์
ระบบคุณค่าและบรรทัดฐานของชุมชนที่ปรากฎอยู่ในรูปจารีตประเพณี
ความเชื่อต่าง ๆ แตกต่างไปจากเดิม
ในด้านการผลิต พบว่า
การจัดการปัจจัยการผลิตและการจัดการในการผลิตต้องเปลี่ยนแปลงไป
โดยบรรทัดฐานของชุมชนที่เคยควบคุมให้สมาชิกจัดการปัจจัยการผลิตบนพื้นฐานของ
ความสมดุลกับธรรมชาติและการเอื้อเฟื้อแบ่งปันกันในชุมชนต้องเปลี่ยนเป็น
บรรทัดฐานของเงินตราและปัจเจกชนเข้ามาแทนที่
ในด้านการบริโภค พบว่า อิทธิพลจากภายนอกที่เข้ามา
ทำให้ทัศนคติและพฤติกรรมในการบริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะการเลียนแบบ
และการพึ่งพาผลผลิตต่าง ๆ จากภายนอกมากขึ้น
มีผลทำให้การบริโภคและการผลิตไม่ได้ดำรงอยู่ในอำนาจและการควบคุมของครอบครัว
และชุมชนอีกต่อไป
แต่ต้องไปสัมพันธ์กับตลาดภายนอกที่ตนเสียเปรียบเนื่องจากมีอำนาจต่อรองที่
ด้อยกว่า จึงทำให้เกิดความไม่เพียงพอในการบริโภคขึ้น
การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เหล่านี้มีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคเกิดขึ้น
ซึ่งชุมชนมีความจำเป็นต้องมีการปรับตัวภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
มโนทัศน์ที่ได้จากการศึกษาพบว่า
กระบวนการปรับตัวของชุมชนดังกล่าวตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่สำคัญ 2 ประการ
คือการปรับตัวโดยพยายามรักษาความสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภค
และการปรับตัวด้วยการพยายามสร้างกระบวนการต่อรองและการจัดการรูปแบบต่าง ๆ
กระบวนการปรับตัวด้านการผลิต
ที่ปรับตัวเข้าสู่การมีสองวิถีการผลิตร่วมกัน ทั้งวิถีการผลิตแบบยังชีพ
และการค้าซึ่งทำให้บรรทัดฐานเดิมที่เคยควบคุมความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยว
ข้องกับการผลิตเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใหม่ เช่น
มีการรวมกลุ่มกันทำการเพาะปลูกในลักาณะเกษตรเชิงอนุรักษ์
การตั้งกลุ่มทอผ้า กลุ่มออมทรัพย์และธนาคารข้าว
เพื่อธำรงรักษาการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของความ
สมดุลกับธรรมชาติและพึ่งพาอาศัยแบ่งปันกันในชุมชนไว้ภายใต้รูปแบบการรวม
กลุ่มทำกิจกรรมการเพาะปลูกเชิงอนุรักษ์แทน
กระบวนการปรับตัวด้านการบริโภค
ที่พยายามดรงวิถีการผลิตเพื่อการบริโภคและการยึดมั่นในจารีตประเพณีเดิมที่
เกี่ยวกับการบริโภค ในขณะเดียวกันก็สร้างระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ เช่น
การวิสาสะกันในกลุ่มสมาชิก บทบาทการเข้ามาควบคุมสื่อของครอบครัว
ต่างก็เป็นกระบวนการปรับตัวที่
เข้ามาควบคุมให้การบริโภคเป็นไปอย่างเหมาะสมภายใต้เงื่อนไขของความสมดุลกับการผลิตทั้งสิ้น
การปรับตัวด้านการแลกเปลี่ยนและการจัดสรรผลผลิต ที่พยายามสร้างอำนาจต่อรองและความสัมพันธ์
ที่เท่าเทียมกันผ่านการรวมตัวกันเป็นกลุ่มต่าง ๆ แสดงถึงการพยายามปรับตัวเข้าสู่ความสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคไว้