กลไกการพัฒนาทางปัญญา (Mechanism of Cognitive development)
กลไกการพัฒนาทางปัญญาของพีอาเจต์ เรียกว่า ภาวะความสมดุล (Equilibrium) เป็นความสมดุล (balance) ของโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure) กับสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก (World) ที่มันไม่เหมือนกัน (match) กับสิ่งที่เขาเคยคิดไว้ก่อน (preconceived) ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ใหญ่อาจจะใช้คำว่า “แมว” เมื่อเอ่ยถึงสัตว์ แต่เด็กอาจจะคิดไปว่ามันคือ สุนัข พีอาเจต์บอกว่ามันไม่เหมือนกัน(mismatch) ระหว่างสิ่งที่เป็นจริงของโลกกับอีกสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในความคิดเดิม เขาเรียก ว่าการเสียสมดุล (Disequilibrium) และเขาบอกว่ามันเป็นเรื่องดีสำหรับเด็ก ๆ เพราะมันจะเป็นการกระตุ้นที่จะพัฒนาให้เด็กเป็นผู้ชำนาญการ (expertise)สภาวะการเข้าสู่สมดุล (Equilibration) มี 2 กระบวนการทั้งสองกระบวนการนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสกีมาทางปัญญา (Cognitive Schema) ของเด็ก ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำความเข้าใจ(understand) และจัดระเบียบความรู้ใหม่ ตัวอย่างเช่น สกีมา (Schema) ของเด็กเกี่ยวกับเรื่องหมา ก็คือ เป็นสัตว์มี 4 ขา และเห่า กระบวนการที่ หนึ่ง เรียกว่า assimilation เด็กจะรับข้อมูลใหม่เข้าไปในสกีมา จากตัวอย่างเด็กจะรู้จักสุนัขและมีสกีมา เกี่ยวกับสุนัข สายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น Coker Spaniel เด็กก็จะ assimilating ประสบการณ์เกี่ยวกับสุนัขสายพันธุ์ต่าง ๆ เข้าไปในสกีมาที่เรียกว่า “สุนัข” กระบวนการที่ สอง เรียกว่า accommodation เป็นการสร้างสกีมาขึ้นมาใหม่ หลังจากการจัดระเบียบข้อมูล (organize information) ที่ไม่สามารถ assimilate เข้าไปในสกีมาเดิมได้ ยกตัวอย่างเด็กจะรู้จัก raccoon และรู้จักสุนัข เป็นอย่างดี raccoon มันคล้ายกับสุนัขที่ เดิน 4 ขา แต่ไม่เหมือนสุนัขที่มีอยู่ในป่า และเป็นสัตว์กลางคืน ดังนั้น เด็กเขาจะปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) และสร้างสกีมาขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับ raccoon (Sternberg & williams, 1960 : 45-46)
ขั้นของการพัฒนาการทางปัญญา (Stages of Cognitive development) ขั้นของการพัฒนาการทางสติปัญญาของ piaget มีดังนี้ Sensorimotor , preoperational , concrete operational และ Formal operation ซึ่งแต่ละขั้นพัฒนาการเป็นการสังเกตลูกของเขาเอง ดังนี้
- ขั้นที่ 1 Sensorimotor Stage อยู่ช่วงแรกเกิด – 2 ปี พีอาเจต์
ได้แบ่งขั้น Sensorimotor ออกเป็นขั้นย่อย 6 ขั้น คือ 1. Reflexive 2.
Primary Circular Reactions 3. Secondary Circular Reaction 4.
Coordination of Secondary Reaction 5. Tertiary Circular Reaction 6.
Beginning of thought โดยสรุปก็คือ ขั้น Sensorimotor
เป็นขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญาความคิดก่อนระยะเวลาที่เด็กอ่อนจะพูดและใช้
ภาษาได้ พีอาเจต์กล่าวว่าสติปัญญาความคิดของเด็กในวัยนี้
แสดงออกโดยการกระทำ (Action)
เด็กสามารถแก้ปัญหาได้แม้ว่าจะไม่สามารถที่จะอธิบายได้
- ขั้นที่ 2 Preoperational (18 เดือน – 7 ขวบ)
เด็กวัยนี้อยู่ในช่วงพัฒนาการคิด (develop the metal representation)
มีการใช้คำพูดในการสื่อสารกับบุคคลในครอบครัวและคนอื่น
ยังยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง เด็กสามารถบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ
ตัวได้ แต่ยังเรียงลำดับของจากมากไปหาน้อยไม่ได้
และยังไม่เข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น
- ขั้นที่ 3 Concrete operations (อายุ 7-12 ปี )
โดยทั่วไปเกิดในช่วงประมาณ ( 7 ปี หรือบางทีก็ 6 ปี – 12 ปี
ซึ่งเด็กสามารถสร้างความคิดภายในได้ (internal representation )
คิดเป็นเหตุผลได้และสามารถคิดย้อนกลับสามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลาย ๆ
อย่าง
- ขั้นที่ 4 Formal operations โดยประมาณจะอยู่ในช่วง 11 ปี หรือ 12 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่ ช่วงวัยนี้ จะสามารถคิดย้อนกลับ (Reverse) เข้าใจนามธรรม (abstract) สามารถมองเห็นความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกัน มีความคิดเชิงเหตุผลและอุปมาได้ พัฒนาการนี้จัดว่าเป็นขั้นสุดยอดของความคิด เริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง
- ข้อจำกัด เกี่ยวกับหลักฐานที่พีอาเจต์ (piaget) นำมาสนับสนุนในเรื่องขั้นพัฒนาการตามธรรมชาติ
- คำถามเกี่ยวกับอายุที่เด็กทำภารกิจบรรลุได้แตกต่างกันไปตามชนิดของภารกิจ
- ความล้มเหลวของเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตามที่ทำภารกิจล้มเหลว
- พีอาเจต์ (Piaget) ให้เหตุผลที่มีความเหมาะสมเพียงใด ผู้ใหญ่หรือผู้ใหญ่ทั้งหมดหรือไม่ที่จะมีเหตุผลขั้น formal operation ได้
- ทฤษฎีนี้สามารถ อ้างอิงสรุปข้ามวัฒนธรรมได้หรือไม่
จะเห็นได้ว่าทฤษฎีของพีอาเจต์ (piaget) ให้ความสำคัญกับเรื่องของการคิด (thinking) และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการทางด้านปัญญาของมนุษย์ที่เป็นกระบวน การภายใน (inside) และข้างนอก(Outward) หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถความเจริญเติบโต และการประยุกต์ความสามารถที่เด็กมีตามภาวะการเจริญเติบโต (mature) ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์หรือภารกิจต่าง ๆ ที่เขาต้องเจอในโลก ซึ่งแนวคิดสำคัญนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก
Social Constructivism
ทฤษฎีของ Lev Vygotsky เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่ได้ศึกษาทางด้านพัฒนาการทางปัญญาเช่นเดียวกับพีอาเจ ต์ แต่จะแตกต่างกันบ้างที่เขาให้ความสนใจกับการมีปฏิสัมพันธ์จากโลกภายนอก (outward) จะทำให้เกิดพัฒนาการทางปัญญาใน (inside) ขณะที่ทฤษฎีของ พีอาเจต์จะเป็นการศึกษาด้านภาวะการเจริญเติบโตภายในของมนุษย์ อายุ และขั้นพัฒนาการจะมีผลต่อการนำไปและประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ภายนอก หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการเริ่มจากข้างใน (inside) ไปยังข้างนอก (outward)
Lev ygotsky (1896 – 1934 )
เกิดปีเดียวกันกับพีอาเจต์ เขาไม่จบวิทยาศาสตร์แต่ได้รับการศึกษา ในด้านกฏหมายจากมหาวิทยาลัยมอสโค ต่อจากนั้นเขาไปศึกษาทางด้านอักษรศาสต ร์ (literature) และภาษาศาสตร์ (linguistics) และทำให้เขาได้รับปริญญาเอกและได้เขียนหนังสือ ชื่อ psychology of art ทฤษฎีของ Vygotsky เขาให้ความสำคัญกับเรื่องการเมือง (political environment ) มาก เขาเริ่มต้นทำงานทางด้านจิตวิทยา ในระยะสั้น ๆ หลังจากรัสเซียได้ปฏิรูปการปกครอง จากระบบกษัตริย์ (Czar) เป็นระบบ Marxism ปรัชญาของเขาให้ความสำคัญกับเรื่องทางสังคมและการมีส่วนร่วม ซึ่งเขาเชื่อว่าแต่ละคนล้วนมีเป้าหมายของตนเองและต้องการบรรลุเป้าหมายนั้น ดังนั้นจึงต้องมีการสนับสนุนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) และร่วมมือกันทำงาน (Co – operation)
Vygotsky เสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 38 ปี ในขณะที่ทฤษฎีของพีอาเจต์มีอิทธิมากเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านปัญญาในปี 1960-1970 แต่ทฤษฎีของ Vygotsky กลับได้รับการกล่าวขวัญมากหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว โดยเฉพาะในปี 1980- 1990
ทฤษฎี Vygotsky ค่อนข้างมีข้อจำกัดมากกว่าของพีอาเจต์ แต่ว่าวิธีการและแนวคิดสำคัญของเขา ได้รับการยอมรับมากเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านปัญญาใน 3 เรื่อง คือ กระบวนการภายใน (internalization) the zone of proximal development และ Scaffolding (Sternberg & William : 202)
- Internalization (กระบวนการภายในจิตใจ)
กระบวนการภายในจิตใจ (internalization) ก็คือการซึมซับ (obsorption) หรือการนำเอาความรู้(knowledge) ที่มีอยู่ในบริบทของสังคมนั้น ๆ ด้วยการสังเกต(observe) ด้วยตัวเอง Vygotsky เชื่อว่าความคิดและภาษามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ทักษะทางภาษาจะไปช่วยพัฒนาความคิดของพวกเขา ยกตัวอย่าง การมีทักษะทางภาษาที่เข้มแข็ง เด็ก ๆ ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่พูดคุยกันได้ดี และเรียนรู้จากการสนทนาได้มากกว่าการที่พวกเขาจะไม่เข้าใจถ้อยคำที่ผู้ใหญ่ พูดคุยกันเลย
- บริเวณความใกล้เคียงพัฒนาการทางปัญญา (The Zone of proximal development )
แนวคิดที่สองของ Vygotsky ก็คือ Zone of proximal development หรือเรียกว่า ZPD ซึ่งเป็นขอบเขต (Range) ระหว่าง 2 สิ่ง คือ สิ่งหนึ่งเป็นขอบเขตที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยอิสระ กับอีกขอบเขตที่เด็กสามารถทำได้ เช่น กัน แต่ต้องได้รับการแนะนำ (guidance) จากผู้ชำนาญการ โดยธรรมดาแล้วเด็ก ๆ เขาจะทำอะไรโดยการสังเกต โดยจะอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์เดิมที่พวกเขามี นอกจากการมีปฏิสัมพันธ์ก็คือ “ประสบการณ์” (experience) Vygotsky ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับขอบเขตระหว่างการที่สามารถทำได้ด้วยตนเองกับการทำได้ โดยอาศัยการชี้แนะ ความแตกต่างดังกล่าวทำให้เกิดประโยชน์ต่อนักการศึกษามาก
วิกอทสกี้ อธิบายว่า เด็กแต่ละคนที่อยู่ในวัยเดียวกันจะมี ZPD แตกต่างกัน บางคนอยู่เหนือ Zone of proxima growth บางคนอยู่ระหว่าง และบางคนอยู่ต่ำกว่า ตัวอย่างเช่นในการทดสอบเด็กอายุ 5 ขวบ 2 คน ด้วยการให้ตอบคำถาม ปรากฏว่าเด็กสองคนตอบปัญหาได้เท่ากัน ผู้ทดสอบมักจะ สรุปว่าเด็กสองคนตอบปัญหาของเด็กอายุ 7 ขวบ โดยได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น อธิบายหรือชี้แนะปรากฏว่าเด็กคนหนึ่งสามารถตอบได้แต่อีกคนตอบไม่ได้ ก็แสดงว่าเด็กที่ตอบไม่ได้อยู่ต่ำกว่า ZPD วิกอทสกี้ (Vygotsky ) เรียกการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ว่า “Scaffoldindg” ซึ่งหมายความว่าการใช้ความช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ หรือการแก้ปัญหาหรือการทำอย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งเด็กไม่สามารถทำได้ด้วยตนเองให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์
(สุรางค์ โค้วตระกูล , 25456 : 63)
Scaffolding
นัก จิตวิทยาหลายคนได้ขยายแนวคิด วิกอทสกี้ (Vygotsky) หรือทำความเข้าใจจากเด็กเรียนรู้และคิดได้อย่างไร (How children learn and think)
Scaffolding เป็นเทคนิคสำคัญที่จะไปกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการในตัวผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามลำพังได้ โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับ ZPD ของ Vygotsky ที่นิยามเกี่ยวกับ Scaffold หลายคนอาจจะนึกถึงโครงสร้างชั่วคราวเป็นข้างต้น ที่คอยสนับสนุนการทำงานของงานก่อสร้างโดยเฉพาะตึกสูง ๆ ให้สามารถทำงานได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่เข้าถึงได้ยาก แต่ใน Instructional Scaffolding แล้วก็จะเป็นยุทธศาสตร์การสอน (teaching strategy) ซึ่งก็จะมีความคล้ายคลึงกันกับความหมายที่กล่าวมาข้างต้น แต่พื้นที่ใช้เกี่ยวกับการสร้าง(Construction site) ความรู้
ยุทธศาสตร์นี้จะเป็นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนด้วยการร่วมมือ กัน(Collaborative) ในภารกิจที่มันซับซ้อนและยากที่จะทำสำเร็จเพียงคนเดียวโดยผู้สอนจะคอยสนับ สนุนช่วยเหลือให้ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง โดยแนวคิด Vygotsky นี้จะสนับสนุน Instruction Scaffolding ซึ่งเป็นเทคนิคนักการสอนที่มาจากการทำงานของเขา ซึ่งเขาเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กจะต้องได้รับการแนะนำจากผู้ใหญ่และการหล่อหลอมทางสังคม (Hope Haartman , 2002)
เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน Stern berge (2002 : 61) ได้เสนอแนะหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
- เด็กจะเรียนรู้ด้วยการสื่อสารทั้งที่เป็นทั้งกระบวนการภายในและกระบวน
การภายนอก กล่าวคือ เด็ก ๆ จะคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ
และสังเกตสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา นักเรียนที่มีความคิดก็จะเป็นค้นพบ Model
ในการเรียนรู้ของพวกเขาซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งในเรื่องที่ดี (good)
หรือไม่สมบูรณ์ (ill)ได้
- ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะไม่สามารถบรรลุ
เต็มตามศักยภาพมีน้อยมากที่ครูจะพบว่า
เด็กเขาจะบรรลุผลได้เต็มตามศักยภาพซึ่งทฤษฎีของ Vygotsky
จะบอกว่าเด็กอยู่นอกขอบเขตของ ZPD
และครูต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือเด็กให้พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพนั้น
- ภาษาและความคิดเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ภาษามีความสำคัญมากในการสอนและประสบการณ์เรียนรู้ก็จะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง สำหรับทุก ๆ คน ครูต้องเป็นผู้สร้างไม่ใช่เป็นผู้ทำลายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาถิ่นของเด็กเมื่อเขามาที่โรงเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น