วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

สมอง กับ...การเรียนรู้

สมอง กับ...การเรียนรู้

แต่ ก็อย่าลืมว่า ไม่เฉพาะ ๓ ประเด็นหลักที่ได้กล่าวมาเท่านั้นนะครับ ที่จะช่วยในกระบวนการพัฒนาสมองเด็ก ยังมี เรื่องของ อาหาร นมแม่ การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การป้องกันความเครียด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสมองเด็ก ทั้งนั้น
          
              ผมได้รับการติดต่อจาก ผู้ประสานงานของ “มูลนิธิรักษ์เด็ก” ให้ไปคุยเรื่องของ “สมองกับการเรียนรู้” จึงเป็นโอกาสอันดี ที่ได้ค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำเององค์ความรู้ใหม่ไปร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมเวที

          กลุ่มเป้าหมายในเวทีดังกล่าว ทางผู้จัดบอกว่า เป็นกลุ่มของผู้เลี้ยงดูเด็ก (ผดด.)และบรรดาคุณครูปฐมวัย ดังนั้น การมุ่งเน้นและนำไปใช้โดยตรงก็จะเป็นกลุ่มเด็กปฐมวัยที่มีอายุ ตั้งแต่แรกเกิดถึงหกปี

          อย่างที่ได้เขียนในบันทึก เรื่องบางเรื่องที่เราอาจยังไม่รู้...เกี่ยวกับสมอง มาแล้ว เราทราบกันดีว่า มีผลวิจัยมากมายทำให้เราทราบว่า การพัฒนาสมองนั้นมีผลมาจากการเลี้ยงดู การส่งเสริม การสนับสนุนเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง พ่อแม่ (ร้อยละ ๔๐ – ๗๐) มากกว่าพันธุกรรม(ร้อยละ ๓๐ – ๖๐ )

          ประเด็นนี้ทำให้เราทราบว่า  การที่จะทำให้เด็กฉลาดนั้น อยู่ที่ “การจัดกระบวนการเรียนรู้” สำหรับเด็ก ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กเป็นสำคัญ


          ความเป็นจริงทางประสาทวิทยาเผยให้รู้ว่า ในวัย ๒ – ๓ ขวบแรกของชีวิต เด็กตัวเล็กๆ มีความสามารถที่จะเรียนรู้เกือบทุกสิ่งทุกอย่างได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่รู้ตัว ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และกระหายที่จะเรียนรู้วิชา ทักษะ ไปพร้อมกับการละเล่นต่างๆอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งหากการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นในวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว จะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก บางสิ่งบางอย่างอาจจะไม่สามารถทำได้เลย


          กระบวนการพัฒนาสมอง ที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาสมองเด็กได้ อยากจะขอแยกเป็นประเด็นหลักๆดังนี้ครับ
  • เล่นเพลินๆ...สมองพัฒนา

  • ดนตรี ลีลา พัฒนาสมอง

  • นิทาน สร้างความฉลาด


เล่นเพลินๆ...สมองพัฒนา

          สำหรับเด็ก “การเล่น” คือ การเรียนรู้ครับ การเล่นทำให้สมองเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นกับประสบการณ์และสิ่งกระตุ้นต่างๆที่สองได้รับ การเล่นของเด็ก จะเป็นการกระตุ้นสมองโดยตรง เด็กจะได้ฝึกใช้ความคิดต่างๆ เช่น การแก้ปัญหา จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เด็กก็จะคิดแก้ปัญหาเป็น มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีงานวิจัยของ Kotulax ในปี       พ.ศ.๒๕๓๙ ได้นำเด็กมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พร้อมทั้งของเล่นเพื่อนเล่น อาหารดี เรียนรู้สิ่งต่างๆและการละเล่น พบว่า มีไอคิวมากกว่าอีกกลุ่มที่ตรงกันข้ามและสมองมีการทำงานมากขึ้น (ยืนยันจากเครื่องตรวจสมอง) และเขากล่าวว่า ไอคิวสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากกว่า ๒๐ แต้มได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการกระตุ้นต่างๆ หลักง่ายๆสำหรับการเล่นของลูกที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรใส่ใจ คือ
          ของเล่นที่เลือกให้ ลูกควรมีความหลากหลาย เหมาะกับวัย และพัฒนาการของลูกรวมถึงเรื่องความปลอดภัยด้วยนะครับ ส่วนความหลากหลายนี้ไม่ได้จำกัดแค่ชนิดของการเล่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงของเล่นที่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นได้หลากหลาย เพราะนั่นเท่ากับ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองเล่นวิธีใหม่ๆ ได้ลองผิดลองถูก นั่นหมายความว่า สมองเด็กกำลังทำงาน
          ของเล่นที่เข้าลักษณะอย่างที่บอก เช่น ชุดหม้อข้าวหม้อแกง ชุดของเล่นประกอบการเล่นบทบาทสมมุติ บล็อกตัวไม้ ตัวต่อเลโก้ เป็นต้น</p><p>
          เล่นกลางแจ้งต้องไม่ขาด   เด็กในเมืองที่มีของเล่นราคาแพง มีเครื่องเล่นชั้นดี ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เด็กได้รับการพัฒนาได้ครบ โดยเฉพาะเด็กเล็กๆที่ต้องการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การได้ออกไปวิ่งเล่น เล่นเครื่องสนามเป็นประจำ จะช่วยให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งนั่นหมายถึง สมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวก็ได้พัฒนาไป ด้วย
          พ่อแม่ คือ เพื่อนเล่นและเป็นของเล่นชั้นดีให้ กับลูกได้ การที่พ่อแม่ได้ร่วมเล่นกับลูก จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก กระตือรือร้น มีสมาธิกับการเล่น และลูกยังได้ความภูมิใจ ความสุขที่มีพ่อแม่อยู่ด้วย ดังนั้นในโรงเรียนและศูนย์เลี้ยงเด็ก  บทบาทของครูและพี่เลี้ยงเด็กก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับพ่อแม่ของเด็กครับ
        
          ให้อิสระในการเล่นกับเด็ก  ให้เด็กได้จัดการการเล่นด้วยตนเอง อย่าไป         กะเกณฑ์กับลูกมากเกินไป ให้ลูกได้ทดลองหาวิธีเล่นด้วยตัวเขาเอง แล้วเราจะพบว่า เด็กทำได้ดีและสนุกกับการค้นคว้าหาวิธีการเล่นใหม่ๆ</p><p> 
ดนตรี ลีลา พัฒนาสมอง
          จังหวะ ท่วงทำนอง ความถี่ของดนตรี มีผลต่อการเชื่อมต่อกันของเส้นใยประสาท ซึ่งการเชื่อมต่อของใยประสาทนี้ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อการพัฒนาเครือข่ายสมองเด็กมากเท่านั้น นอกจากนี้ คุณทราบมั้ยครับว่า ดนตรี ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการจำ ทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และดีต่อสุขภาพใจของลูกด้วยครับ</p><p>
          ดนตรีเป็นเรื่องของเสียง ซึ่งเสียงของดนตรี จะมีความพิเศษกว่าเสียงอื่นๆ เพราะเสียงดนตรีจะมีระดับของความถี่ที่แตกต่างกัน ทำให้มีความหลากหลายของคลื่นเสียงมากกว่าเสียงชนิดอื่น และคลื่นของความถี่ที่หลากหลายเหล่านี้ก็จะไปสอดคล้องกับทฤษฎีทางด้านการ พัฒนาการของสมองที่ว่า สมองจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อถูกกระตุ้นในจังหวะแรกๆของชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าต้องการกระตุ้นการฟังให้ได้เสียงครบทุกย่านความถี่ก็ ต้องกระตุ้นด้วยความถี่ที่หลากหลาย</p><p>
          เคยอ่านเจอในงานเขียนชิ้นหนึ่งบอกว่า เสียงบรรเลงจากเครื่องดนตรีทางภาคอีสาน น่าจะสามารถที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาสมองมากที่สุด </p><p>
นิทานสร้างความฉลาด
          มีคนบอกว่า “อยากให้ลูกฉลาดต้องเล่านิทานให้ลูกฟัง” เป็นคำกล่าวที่เป็นความจริง   ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า ถ้าอยากให้ลูกฉลาด พ่อแม่ต้องเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ เพราะภาพและตัวหนังสือ บนหนังสือนิทาน คือ ภาษาอย่างหนึ่งครับ</p><p>
          เด็กมักจะมีคำถามและอยากให้พ่อแม่เล่าซ้ำ ยิ่งได้ถามมาก ฟังมาก ก็ยิ่งจะเพิ่มพูนความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น</p><p>
          การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง ลูกจะได้เรียนรู้เรื่อง ภาษาไปด้วยในตัว เพราะลูกได้ฟังทั้งรูปประโยค บทสนทนา การใช้ภาษาโต้ตอบ ด้วยความสนุกสนาน ซึ่งจะทำให้จำแม่นขึ้น</p><p>
          การที่ลูกได้ฟังเรื่องซ้ำๆหลายๆครั้ง จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในเรื่องราวมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นขั้นแรก ของการฝึกให้มีความคิดรวบยอดและการจับประเด็น เพราะความที่จำได้ทั้งเรื่องจะทำให้ลูกเห็นภาพรวมของเรื่องทั้งหมด ความอยากรู้อยากเห็นของลูกจะทำให้ลูกมีสมาธิจดจ่อกับเรื่องที่ฟัง ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะในการฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ภาษา</p><p>
          เสียงเล่านิทานของพ่อแม่จะส่งเสริมให้ลูกสร้างจินตนาการ เป็นภาพไปทุกช่วงของเรื่อง ภาพเหล่านี้จะเกิดจากประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมของลูกบวกกับจินตนาการใหม่ที่ ลูกสร้างขึ้นเอง ทำให้เกิดการรับรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน</p><p>
          บทสรุปหรือคติในนิทานจะช่วยขยายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรับรู้ภาษา ของลูกยิ่งขึ้นไปอีก
          นิทานช่วยปลูกฝัง นิสัยรักการอ่านซึ่งเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญอีกขั้น ที่สำคัญที่สุด ความใกล้ชิดและความรู้สึกร่วมระหว่างพ่อแม่ผู้เล่ากับลูกซึ่งเป็นผู้ฟัง เป็นบรรยากาศที่ดีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของลูกอย่าง ยิ่ง
          คุณครูและผู้เลี้ยงดูเด็ก ทำหน้าที่ บทบาทของพ่อแม่ของเด็กในขณะที่เด็กอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็ก  กระบวนการต่างๆก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่าง ดี
         แต่ก็อย่าลืมว่า ไม่เฉพาะ ๓ ประเด็นหลักที่ได้กล่าวมาเท่านั้นนะครับ ที่จะช่วยในกระบวนการพัฒนาสมองเด็ก ยังมี เรื่องของ อาหาร นมแม่ การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การป้องกันความเครียด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสมองเด็ก ทั้งนั้น

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เอกสารประกอบการนำเสนอ “กระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเขตพื้นที่อำเภอปางมะผ้า”
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น สมองกับกระบวนเรียนรู้
ภายใต้โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่โรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย”ดำเนินการโดย   มูลนิธิรักษ์เด็ก  (The Life Skills Development Foundation)สนับสนุนโดย   บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และองค์การ เชฟ เดอะ ซิลเดร็น  (สหรัฐอเมริกา)


เอกสารอ้างอิงการเขียน :
          สมองและการเรียนรู้,หมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๓๑๗ กันยายน ๒๕๔๘,หน้า
๑๗ – ๒๖ ,สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน บจก.
          แผนที่นำทาง สร้างศักยภาพ สมองลูก,ชุดเสริมสร้างพัฒนาการและการศึกษา,บริษัทรักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป จำกัด,เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น