วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาพรวมวิวัฒนการทฤษฎีการศึกษาปฐมวัย

ภาพรวมวิวัฒนาการทฤษฎีการศึกษาปฐมวัย
     ผู้ที่เริ่มศึกษาทฤษฎีแนวคิดทางการศึกษาอาจจะตั้งคำถามในใจไหมว่าทำไมจึงมี ทฤษฎีการศึกษามากมายนัก  แล้วใครหรืออะไรเป็นบ่อเกิดความคิดอันนำไปสู่การเกิดแรงบันดาลใจให้เกิดแนว คิดใหม่ๆจนนำไปสู่การคิดว่า  แนวคิด หลักการที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อคำถามที่เกิดขึ้น ในที่นี้ขอประมวลที่มาของการเกิดแนวคิดต่างๆ อันเป็นบ่อเกิดของการพัฒนาแนวคิดหลักการทางการศึกษาปฐมวัย โดยจะเรียงลำดับตามช่วงเวลาในอดีต ดังนี้
     แนวคิดแรกเริ่มของทฤษฎีต่างๆ  ที่ต่อมามีอิทธิพลต่อการนำไปเป็นแนวการเรียนการสอนในประเทศไทยส่วนใหญ่มา จากประเทศทางตะวันตก  โดยเรียงลำดับได้ดังนี้
ก่อนการปฏิรูปทางศาสนาในยุโรปใน คริสต์ศตวรรษที่  16
     ในสมัยนั้นการดูแลเด็ก ไม่ค่อยได้รับความสำคัญเท่าใดนัก เ็กถูกมองว่าเป็นผู้ใหญ่ตัวเล็กที่ควรได้รับการดูแลจากผู้หญิงในบ้าน
     ประกอบกับความเชื่อที่ว่า "เด็กมีบาปแต่เดิม" อันเป็นความเชื่อที่ว่า ทุกคนเกิดมาเป็นเด็กแห่งความดกรธแค้น เกิดมาพร้อมกับธรรมชาติอันเต็มไปด้วยความชั่วก่อนที่จะมีความดีเกิดขึ้นใน ตัวเรา การเลี้ยงดูเด็กจึงจะต้องทำด้วยความเข้มงวด รุนแรง ต้องถูกลงโทษ ดัดสันดาน ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อที่จะเป็นเด็กแห่งความดีและอ่อนโยน
ในช่วงศตวรรษที่ 16
     มีพระนิกายโปรแตสแตนท์ ชื่อ จอห์น อามอส คอมเมนิอุซ เป็นนักการศึกษาที่เมือง โมวาเรีย ประเทศเชคโกสโลวาเกีย เขาคิดว่า "เด็กเป็นรูปจำลองของพระพุทธเจ้า" เด็กทุกคนควรมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาในโรงเีรียนเพราะมีความเป็นมนุษย์เท่า เทียมกัน ไม่ควรลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี เมื่อเด็กตอบผิด การศึกษาเป็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่แรกเกิดและดำเนินไปจนตลอดชีวิต จึงควรมีการให้การศึกษากับเด็กเล็กใช้วิธีการสอนโดยเลียนแบบธรรมชาติ และจัดกลุ่มเด็กตามอายุ การเรียนการสอนควรเริ่มจากวัยทารกและควรออกแบบให้เหมาะสมกับอายุ ความสนใจและความสามารถของผู้เรียน ควรสอนสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้เรียนที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ในช่วงศตวรรษที่  17
     เกิดทฤษฎีกลุ่มใหม่ที่ควรให้ความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เด็กจึงถูกมองเป็นมนุษย์มากขึ้น เช่น จอห์น ล็อค นักปรับญาชาวอังกฤษ กล่าวว่า "เด็กเป็นเสมือนกระดาษเปล่า" เด็กไม่ได้มีพื้นฐานจากความชั่วร้าย แต่พื้นฐานของเด็กสามารถถูกสร้างและถูกหล่อหลอมได้ นับเป็นการศึกษายุโรปคนแรกที่เห็นความสำคัญของความแตกต่างรายบุคคลจากการมี ประสบการณ์แรกเริ่มกับผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้างเขา
ในศตวรรษที่ 18 ยุคเรอเนซองค์
     จัง จ๊าค รุสโซว เป็นนักปราชญ์ผู้เกิดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศฝรั่งเศษ รุสโซวมีความคิดเห็นที่ว่า "เด็กเป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมกับการรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด และมีความวามารถที่จะจัดระบบและเติบโตได้อย่างแข็งแรงได้ด้วยตนเอง" ทฤษฎีนี้นับเป็นจุดเริ่มแรกของการพัฒนาโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ และนำไปสู่หลักการที่สำคัญ 2 เรื่อง ที่ยังได้รับการยอมรับจนถึงปัจจุบัน คือ เรื่องความคิดในเรื่องระดับของการพัฒนาการของเด็ก และ เรื่องวุฒิภาวะ 
     การจัดการศึกษาควรให้สอดคล้องกับธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งความแตกต่างระหว่างบุคคล เขาเชื่อว่า "เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ" ที่สามารถทำสิ่งต่างๆได้เหมือนผู้ใหญ่ แต่เด็กก็คือเด็ก โดยธรรมชาติที่มีความเฉพาะในแบบของเด็ก แตกต่างจากผู้ใหญ่ เนื้อแท้ของเด็กมีความดีงาม ดังนั้นเด็กจึงควรได้รับการเติบโตตามธรรมชาติของเด็ก เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากประสบการณ์ตรงของเด็กกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม และจากการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กผ่านการเล่นอิสระ แนวคิดดังกล่าวได้มีอิทธิพล ต่อนักทฤษฎีอื่นๆในระยะต่อมา เช่น เพสตาลอซซี่ เฟอร์เบล มอยเตวซอรี่ เพียเจท์ และกีเซลล์
     โยฮัน ไฮนริช เพสตาลอสซี เป็นนักการศึกษาชาวสวิตเซอร์แลนด์ เพสตาลอซซีไม่เห็นด้วยกับแนวการศึกษาของเด็กสมัยนั้น ในเรื่องการเรียนรู็แบบท่องจำ การลงโทษอย่างรุนแรงเมื่อเด็กจำบทเรียนไม่ได้ การกีดกันเด็กยากจนเข้าโรงเรียน เขาเห็นด้วยกับรุสโซ ที่ว่าการศึกษาต้องเป็นไปตามธรรมชาติ "เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจ ความต้องการ และวิธีการเรียนรู้" นับว่าเป็นผู้ริเริ่มความเชื่อเรื่องความพร้อมของเด็ก ผ่านการดูและการให้การศึกษาในรูปของหลักสูตรบูรณาการ อันนำไปสู่การพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม จึงไม่ควรให้เด็กเรียนรู้ด้วยการท่องจำ แต่ควรให้เด็กได้เรียนตามความสามารถเขา เรียนจากประสบการณ์ตรงและการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว และให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มมากกว่าการสอนแบบตัวต่อตัวอย่างที่ ผ่านมา เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจ และเรียนรู้ด้วยตนเอง เขาเชื่อว่าโรงเรียนสามารถเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีจ่อตัวเอง แต่ต้องทำด้วยความเมตตา ปกครองด้วยความรักเพราะความรักที่ผู้ใหญ่มีต่อเด็ก เป็นพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะชาววยให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของตนเอง ครูจึงควรสอนโดยให้เด็กได้เรียน จากประสบการณ์ตรงจากการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ทำงานบ้าน ล้างจาน ร้องเพลง อ่านออกเสียงตามหนังสือ ได้เล่นของเล่น ฝึกหัดอาชีพ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ครูจัดให้นั้นเด็กจะต้องฝึกใช้การสังเกตการพิจารณาและการใช้ประสาทสัมผัส จากการใช้ชีวิต ขาบอกว่า "การสอนในโรงเรียนที่แท้จริงนั้น ไม่ต่างกับการสอนที่บ้านมากนัก จะต่างกันตรงที่ว่าวงแห่งความสนใจกว้างกว่าเท่านั้น"
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18
     ชาลส์ ดาวิน คือนักการศึกษาธรรมชาติชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎี Natural Selection and Survival of the Fittest ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องพัฒนาการของเด็กและการเลี้ยงดูเด็ก เขาเชื่อว่า สัตว์ทุกชนิดจะมีลักษณะบางอย่างที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ พัฒนาการของเด็กจะเป้นไปตามแบบแผนเดิมตามวิวัฒนาการของแต่ละชนิดของสิ่งมี ชีวิตแม้หลักการนี้พบว่าไม่เป็นจริงในภายหลัง แต่ก็นัีบว่าเป็นจุดแรกเริ่มของการศึกษาเด็กด้วยการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก อย่างละเอียดละออแต่ขณะเดียวกันก็เป็นจุดเริ่ม ของการแข่งขันในการเรียนรู้
     เฟรดริค วิลเฮม ฟรอเบลล์ เป็นนักการศึกษา เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน ผู้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกในประเทศเยอรมันนี  ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของการศึกษาอนุบาล เป็นผู้ให้กำเนิดการศึกษาปฐมวัย และเป็นผู้วางแนวทางสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง เขาเชื่อว่า การศึกษานั้นมีมิติประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกันภายใน คือ กิจกรรม อารมณ์ และพุทธิปัญญา เด็กเรียนรู้ด้วยผลการกระทำกิืจกรรมที่เกิดจากการกระทำจะก่อให้เกิดอารมณ์ และการตอบสนองทางจิตเพื่อสร้างแรงขับให้เด็ก เฟอร์เบลล์เสนอว่าการจัดการเรียนรู้ให้เด็กไม่ใช่ต้องเริ่มต้นที่เด็กเท่า นั้น หากต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กทำได้ดีเพราะเด็กคือเมล็ดพันธุ์ที่ควรได้รับการ ดูแลอย่างดี "เด็กๆ เปรียบเสมือนดอกไม้ดอกเล็กๆ ที่มีความแตกต่างและต้องการการปกป้องดูแลเอาใจใส่ และดอกแต่ละดอกมีความสวยในแบบของเขาเอง และมีความสนุกสนานเบิกบานเมื่ออยู่ท่ามกลางกลุ่มเพื่อน" เฟรอเบลล์ เป็นผู้เริ่มการศึกษาแบบเป็นทางการสำห���ับเด็ก คือมีโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกเมื่อปี ค.ศ.1837 ชื่อ "kindergarten" แปลว่า "สวนเด็ก" อันเริ่มมาจากการที่เขาได้รับการเสอนให้สอนเด็กๆในสวนแห่งหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่การเกิดแนวทางการสอนที่เรียกว่า "self activity" หรือกิจกรรมที่เกิดจากตัวเด็กเองเพื่อนำไปสู่การให้เด็กเกิดความมั่นใจและ ภูมิใจในตนเอง นั่นคือ เด็กควรเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจของเด็ก และควรมีโอกาสได้สำรวจสิ่งต่างๆที่ทำอย่างมีอิสระ คือจากการได้เล่น มีของเล่น มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและผู้คนรอบข้าง และได่เรียนรู้จากครูที่ได้รับการฝึกมาเป็นครู โดยบทบาทของครูเป็นเพีบงแต่ผู้แนะนำให้เกิดความคิด จัดสรรวัสดุเพื่อการเรียนรู้มากกว่าสอน เน้นให้เด็กได้ออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกาย ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นเกม ร้องเพลง ฝึกทำงานง่ายๆ ซึ่งเขาสร้างอุปกรณ์ที่เน้นการเรียนรู้ ผ่านการสัมผัสจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่ความเข้าใจในเรื่องที่เป็นนามธรรม โดยเขาได้สร้างของเล่นเพื่อการศึกษา คือ ชุดของขวัญ ประกอบด้วย ไหมพรม ไม้บล็อก วัสดุจากธรรมชาติ รูปทรงเรขาคณิต และชุดอาชีพ เป็นชุดกิจกรรมต่างๆ เช่น การตัด การพับ การปั้น การเย็บปัก การร้อยลูกปัด ซึ่งภายหลังมีอิทธิพลต่อการสร้างวัสดุเพื่อการศึกษาของมอนเตสซอรี่
ในต้นปี  ค.ศ. 1999
     มาเรีย  มอนเตสซอรี่  เป็นแพทย์หญืงของแรกของอิตาลี  ที่สามารถให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของเด็กปฐมวัย  ด้วยวิธีการพัฒนาเด็กจากความรู้พื้นฐานทางการแพทย์  โดยเริ่มจาก  การศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางสมองที่ประเทศอิตาลี  แล้วต่อมาจึงเริ่มสอนเด็กที่ศูนย์เลี้ยงในย่านยากจน  เรียกว่า  "Children's House" ให่้กับพ่อแม่ที่ต้องไปทำงาน  มอนเตสซอรี่ใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กแล้วนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่า  การศึกษาเรื่มตั้งแต่แรกเกิด  และช่วงปฐมวัยคือช่วงที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาและการเติบโต  ความสงสัยใคร่รู้ทำให้เด็กเรียนรู้  และการเรียนรู้ที่ดีที่สุดมาจากการปฏิบัติ  เคลื่อนไหวอย่างตื่นตัวมากกว่าการนั่งเงียบๆ  ฟังครูสอน  ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเหมือนแนวคิดของดิวอี้  ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานำไปสู่การวางแนวการศึกษาที่มให้ความสำคัญ  กับการเตรีบมเด็กให้มีพัฒนาการทางสติปัญญา  จากการมีพื้นนิสัย  ที่ดีผ่านการมีทักษะจากการใช้  ประสาทสัมผัสกับสื่ออุปกรณ์  ที่มีการจรัดลำดับขั้นตอนเป็นขั้นย่อยๆ  ที่เด็กได้แก้ไขการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีการจัดเตรียมไว้สำหรับเด็ก  เช่น  ขนาดของเครื่องใช้  เครื่องเรือนตามขนาดของร่างกายของเด็ก  เพราะเด็กชอบนั่งกับพื้นจึงควรมีเสื่อเล็กๆ  ให้เด็กนั่งเพื่อแสดงให้เห็นถึงพื้นที่การทำงานของเด็ก  สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การเรียนรู้ตามความสามารถในการพัฒนาที่แตกต่างกันของ เด็กแต่ละคน  สุดท้ายการนำไปสู่การเกิดปัญญา  โดยกล่าวว่า  "มือ  คือ  เส้นทางไปสู่การเรียนรู้  มือ  คือ  ครูที่สำคัญ"  เกิดเป็นแนวทางการศึกษาในปัจจุบันที่เรียกว่า  "แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่"
     รูดอล์ฟ  สไตเนอร์  เป็นนักปรัชญานักสังคมวิทยา  ศิลปิน  นักคิดเพื่อพัฒนาสังคม  นักวิทยาศาสตร์ทางจิตวิญญาณ  และนักการศึกษาชาวเยอรมัน  เป็นผู้้ก่อตั้งแนวคิด  แห่งมนุษยปรัชญาและก่อจั้งโรงเรียนวอดอล์ฟขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่  1   ที่เมืองสตุ๊ดการ์ด  ประเทศเยอรมณีเป็นโรงเรียนสำหรับลูกหลานของคนงานในโรงงานยาสูบ  โดยมีจุดประสงค์ของการศึกษาเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณ  จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นองค์รวมด้วยการเชื่อมโยง  ความรู้รอบด้านด้วยวิธีสัมผัสตรงกับธรรมชาติ  ให้เด็กได้มีความรู้สึกร่วมจากการริเริ่มมุ่งมั่นจั้งใจในการเรียนรู้  และการปฏิบัติจริงที่สอดรับกับศักบภาพเฉพาะของช่วงแต่ละวัย  และเน้นการให้ครูมองศิษย์ในฐานะมนุษย์  อันประกอบด้วยร่างกายและจิตใจและจิตวิญญาณที่มีความแตกต่าง  กาารรู้จักเด็กให้ถึงลักษณะเฉพาะบของเด็กแต่ละคน  ให้มากที่สุด  สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการศึกษาวอลดอร์ฟ
     จอห์น  ดิวอื้  เป็นนักปรัชญาชาวอเมริกัน  ในสมัยนั้นการเรียนส่วนใหญ่ของเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกา  มีลักษณะ  คือ  ให้เด็กนั่งเรียนแบบเงียบๆ  และเชื่อฟังครู  คอยรับแต่สิ่งที่ครูบอกว่า  ควรรู้อะไร  จึงเน้นการจำเป็นหลัก  แต่ดิวอี้เป็นนักการศึกษาผู้หนึ่งที่ลุกขึ้นมาชี้ว่า  โรงเรียนควรเป็นชุมชนแห่งความร่วมมือ  "จิตวิญญาณแห่งอิสรภาพและความเคารพซึ่งกันและกัน"  ที่ซึ่งไม่มีการบังคับเพื่อที่จะยัดเยียดวินัยแต่ให้วิวัฒนาการมาจาก  การมีส่วนร่สวมอย่างเป็นประชาธิปไตยในหมู่ครูและศิษย์  ที่จะเรียนรู้  ที่จะอยู่เพื่อทำงานร่วมกัน  แนวคิดสำคัญของ  ดิวอี้  คือ  การเรียนรู้จากการกระทำ  ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางจากการทำจริงในสถานการณ์จริงโดยใช้สื่อจริงตาม ธรรมชาติที่มีอยู่  เขาเริ่มโรงเรียนเป็นแบบห้องทดลอง  ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทดลองทฤษฎีทั้งหลายของเขาในเมืองชิคาโก  เน้่นใน  "งานอาชีพ"  ที่ปฏิบัติได้  ทักษะการแก้ปัญหา  ภาษา  และความเข้าใจในเรื่องคณิตศาสตร์จะถูกพัฒนาในการเรียนการสอน  ผ่านประสบการณ์จากการสำรวจ  และเรียนรู้จากทั้งในและนอกห้องเรียน  แม่แต่การจัดห้องเรียนเปลี่ยนจากการนั่งเรียนเป็นแถว  เป็นการใช้โต๊ะเก้าอี้ที่สามารถเคลื่อนไปตามที่ต่างๆได้  พื่อสะดวกต่อการทำงานกลุ่ม  ซึ่งต่อมาแนวคิดดังกล่าว มีอิทธิพลต่อระบบ  การศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก
     จี  สแตนลีย์  ฮอลล์  นักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน  ผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดเรื่องชีววิทยา  ของ  ดาร์วิน  และได้ทำงานร่วมกับนักเรียนของดาร์วิน  คิอ  อาร์โนลด์  กีเซลล์  เพื่อพัฒนาทฤษฎีวิิวัฒนาการในเรื่องที่ว่า  พัฒนาการของเด็กเป็นเรื่องที่การเกิดและการเจริญเติบโตเป็นไปได้โดย อัตโนมัติ  โดยใช้วิธีการศึกษาเกณฑ์ผ่านมาตรฐาน
     เมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษที่  20
     ซิกมัน  ฟรอยด์     เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย  ในช่วงศตวรรษที่  19  ในขณะที่แนวคิดด้านกระบวรการคิดของเพียเจท์เป็นที่นิยมในหมู่นักการศึกษา  ฟรอยด์  ตังข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับกระบวนการคิดจากกรณีที่น่าสนใจ  ของคนไข้ที่เป็นโรคจิตประสาทซึ่งต่อมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์  การได้พบกับคนไข้ของฟรอยด์  พยายามหาคำตอบที่แตกต่างไปจากทฤษฎีประสาทวิทยาที่มีอยู่ขณะนั้นและนำไปสู่ การสร้างขั้นของการพัฒนาการที่มีผลต่อการสร้างบุคลิกภาพขั้นพื้นฐาน  โดยเขาอธิบายว่า  เด็กทารกและเด็กในวัยเตาะแตะ  เป็นบุคคลที่มีบุคลิกเฉพาะตัวซึ่งประสบการณ์ในช่วงต้นของเด็กในวัยนี้  จะเป็นตัวก่อร่างพื้นฐานในเรื่องการเข้าใจตนเอง  ความรู้สึกดี  ความภูมิใจตนเอง  และบุคลิกภาพในภายหลัง  เด็กจึงต้องการการช่วยเหลือด้วยความละเอียดอ่อน  ในการเติมเต็มอารมณ์  ความรู้สึก  ในแต่ละขั้น  เช่น  เด็กวัยแรกเกิดถึงหนึ่งปี  คือขั้น  oral  stage อันเป็นวัยของการสำรวจโโยใช้ปาก  ช่วง  1 - 3 ปี  เป็นช่วงที่เด็กให้ความสนใจกับเรื่องการขับถ่าย  ส่วนวัย  3 - 6 ปี  เป็นช่วงของการแบ่งแยกลักษณะที่ชัดเจนของเพศหญิง  ชาย  ผู้ใหญ่จึงควรช่วยเด็กในการแสดงออกของอารมณ์ทางลบในทางที่เหมาะสม
     จอง เพียเจท์  นักจิตวิทยาชาวสวิส  ทีี่มีอิทธิพลอย่างสูงเกี่ยวกับพัฒนาการและการดูแลเด็ก  ในช่วงของต้นศตวรรษที่  19  เพียเจท์ได้ทำงานที่ศูนย์ทดสอบจิตวิทยาที่ประเทศฝรั่งเศสที่ทำให้เขาเริ่ม สงสัยเกี่ยวกับกระบวนการการคิดของเด็กที่ทำไมเด็กๆจึงมีคำตอบที่ผิดอย่างม่ำ เสมอ  เมื่อถูกตั้งคำถามซึ่งเขาไม่คิดว่าเด็กเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีวุฒิภาวะ หนฃรือผู้ใหญ่ที่โง่เขลา  แต่เด็กมีวิธีการตามลักษณะของตนเองในการนำเสนอเกี่ยวกับโลก  โดยเด็กจะสร้างความรู้ของตนเองขึ้นมาและจัดระเบียบความรู้เหล่านั้นไปกับ การพัฒนาโครงสร้างจากการตีความ  โดยพวกเขาเอง  เช่น  เด็กจะพบกับความยากลำบากในการทำความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ปริมาณหรือ จำนวนแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนโครงร่างการแสดงจำนวนของสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้ เห็น  และมักจะสับสนกับเรื่องของเวลาและความเร็วหรือแม้แต่ในมุมมองของทางด้าน คุณธรรมก็จะมองต่างออกไป  เช่น  เด็กจะมองที่ปริมาณของความเสียหายที่เกิดจากการกระทำมากกว่าความตั้งใจของ ผู้กระทำ  ความสงสัยนี้นำไปสู่การศึกษษระยะยาวถึงพัฒนาการการเติบโตทางความคิดของเด็ก และก่อร่างทฤษฎีว่าด้วยขั้นตอนของการพัฒนาการในการคิดของเด็ก
     ในระยะต่อมาเกิดแนวคิดใหม่คือ  กลุ่มปฏิวัติทางปัญญา  เป็นกลุ่มที่เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนมีความคิด  มีภาพในใจ และภาษาที่หล่ากหลายในจิตใจและสมอง  ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นจริงและสำคัญมาก  เป็นการศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์แต่ถูกนำมาปรับเปลี่ยนอีกทีโดยนักการศึกษา  แตาในความเป็นจริง  การเกิดขึ้นในเรื่องนี้กลับถูกไปใช้เป็นพื้นฐานการใช้พลังจากเครื่องจักร มากกว่าเป็นการคิดกับมนุษย์  เห็นได้จากการเกิดคอมพิวเตอร์  ที่ไม่ใช่แค่ใช้คิดเลขเร็วแต่ให้สามารถเล่นหมากรุก  หรือแก้ปัญหาในเชิงตรรก  ทำให้เกิดคำถามว่าแล้วในมนุษย์เป็นอย่าสงไรนำมาสู่การเกิดการปฏิวัติความ คิดจากทฤษฎีจิตวิทยา  2  กลุ่มที่มีมาก่อน  ในสาขาจิตวิทยา  เกิดมี  2  ลักษณะ  คือ
     กลุ่มที่  1  กลุ่มพฤติกรรมนิยม  พบในรัสเซียกับอเมริกา  เป็นกลุ่มที่สนใจทางด้านพฆติกรรม  ว่าในการเข้าใจมนุษย์นั้น  ควรดูจากการกระทำทำประจักษ์ได้  ที่สามารถสังเกตได้จากภายนอก  และวัดผลได้อย่างน่าเชื่อถภือ  กลุ่มนี้จะศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้จริง  ไม่ใช่พฤติกรรมแอบแฝงหรือปฏิกิริยาที่มีลักษณะเป็นความนึกคิด  เช่น  "แบนดูรา"  ผู้วางพื้นฐานการเรียนรู้โดยการสังเกต  ที่สามารถเกิดขึ้นกับเด็กได้ตลอดเวลา  หรือ  "สกินเนอร์"  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ผู้สร้างฟฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ  คือ  การกระทำใดใด  ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงแนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นๆ  จะลดลงและหายในที่สุด  ดังนั้การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็ก  ครูควรที่จะรู้วิธีการให้การเสริมแรงผ่านการทำเป็นตัวอย่างที่เหมาะสม เพราะจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองที่เหมาะสมกับเด็ก  สกินเนอร์ยังเน้นในเรื่องการเสริมแรงที่สำคัญรองลงมา  เช่น การกอด  การให้ดาว  การชม  การยอมรับ  เพื่อให้เด็กประสบความสำเร็จ  และต้องมีการจัดสถานการณ์ให้เกิดการตอบสนองโดยคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละ คน  แต่ถ้่าต้องการเลิกพฤติกรรมให้ใช้วิธีลงโทษ  หรือเมินเฉย  หรือถ้าเป็นพฤติกรรมที่มีความซับซ้อนให้หยุดการให้รางวัลซึ่งจะทำให้ พฤติกรรมนั้นค่อยๆหยุดไป
     กลุ่มที่  2  อัลเฟร็ด  บิเนท์  ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่สร้าง  intelligent test  เขากล่าวว่า  การทดสอบควรมีการจัดการอย่างไม่เป็นทางการ  ความฉลาดของเด็กจะดีขึ้นได้ถ้าได้รับการอบรมด้วยวิธีที่ละเอียดอ่อนเพื่อ ศึกษาดูว่าเด็กคนไหนพบความยากลำบากในโรงเรียน  คนไหนประสบความสำเร็จตามฐานความคิดเรื่อง ไอคิว  กลุ่มนี้ให้คำกำจัดความคำว่า  ปัญญาเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดซึ่งสามารถเปลี่ยนได้เมื่อมีวุฒิภาวะ สูงขึ้น  จากการมีประสบการณ์  จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่ออื่น
     ในศตวรรษนี้ได้เกิดมีทฤษฎีใหม่ๆ  งานวิจัยเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กเล็กทฤษฎีระบบชีววิทยา แขนงที่ว่าด้วความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่อกันเองและต่อสิ่งแวดล้อม  และ  ทฤษฎีระบบชีววิทยาแขนงที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่อตัวเองและ ต่อสิ่งแวดล้อม  ที่พัฒนาโดย Urie  Bronfenbrenner  นักจิตวิทยาชาวอเดมริกันที่เขาคิดว่ามีโครงสร้าง 4 แบบที่มีรผลต่อพัฒนาการของเด็ก  คือ  ไมโครซิสเต็ม  คือ  รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ที่มีทันทีต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และอิทธิพลของเด็กที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยทันที  ส่วนที่  2  คือ  เมโซซิสเต็ม คือ   อิทธิพลในระดับถัดไป  เช่น  โรงเรียน  เพื่อนบ้าน  สถานรับเลี้ยงเด็ก  วัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน  อิทธิพลในระดับที่  3  คือ  เอ๊กโซซิสเต็ม  รวมถึงอิทธิพลที่เด็กไม่ได้เกี่ยวพันโดยตรง  แต่มีผลต่อพัฒนาการเลี้ยงดู  เช่น  การศึกษาของพ่อแม่  ที่ทำงานของพ่อแม่  สุขภาพ  บริการในสังคม  และอิทธิพลในระดับที่ 4 คือ มาโครซิสเต็ม  ประกอบด้วย  ค่านิยม  กฏหมาย  แหล่งทรัพยากร  วัฒนธรรมที่เด็กถูกเลี้ยงมา
     กลุ่ม  Sociaocultural Theory นำโดยนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย  ชื่อ  ไวสกอฟกี้  เขาเริ่มมีความสนใจในเรื่องการศึกษาในช่วงของการปฏิรูปในประเทศรัสเซีย  โดยเขามีความหวังที่จะสร้างความเข้าใจใหม่ในอันที่จะแก้ปัญหาการศึกษาและ สังคมในช่วงนั้น  โดยตั้งข้อสันนิษฐานว่า  พัฒนาการของเด็กมีผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อมใน สังคม  เช่น  พ่อแม่  ครู  พี่น้อง  เพื่อนเล่น  และเพื่อนในชั้นเรียน  รวมทั้งการได้มีกับสิ่งอื่นๆ  เช่น  หนังสือ  ของเล่น  กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เด็กทำที่บ้านในห้องเรียน  หรือในสนามเด็กเล่น  ดังนั้นการเรียนรู้นำไปสู่การเกิดพัฒนาการ  นั่นคือ  เด็กเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ  ความรู้ใหม่ๆ  และแก้ปัญหาได้จากการสนับสนุนของผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีทักษะสูงกว่าซึ่ง สำหรับเด็กแล้วการเบ่นนำไปสู่การเรียนรู้สูงสุด  แม้ว่า ไวสกอฟกี้ จะเกิดในช่วงปีเดียวกับ เพียเจท์  แต่แนวคิดของเขายังไม่เป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงเวลานานจนกระ ทั่งเริ���มมีการแปลความคิดของเขาเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ.1970  หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว  ซึ่งปรากฏว่าความคิดของเขากลายเป็นที่นิยมทั้งในวงการจิตวิทยาและการศึกษา ในระยะต่อมา
     ภาพรวมของการพัฒนาแนวคิดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
     ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางตะวันตกตามที่กล่าว มาข้างต้น  แนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเล็กในระดับอนุบาลนั้น  เริ่มแรกของการให้การศึกษากับเด็กเล็กตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย  ยังเป็นการเลี้งดูโดยครอบครัวที่มีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่  เด็กจึงได้รับการอบรมสั่งสอนจากทั้งญาติพี่น้องและพ่อแม่  จึงนับเป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ  และการเรียนขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เรียน  จนสมัยกรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรี  จนถึงกรุงรนัตนโกสินทร์ตอนต้น  (รัชกาลที่  1 - 4 )  เด็กที่จะได้รับการศึกษาในระดับปฐมวัยจะเป็นกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่จะเรีนใน พระบรมมหาราชวังกับราชบัณฑิตหรือกลุ่มเด็กของครอบครัวที่มีฐานะดีจะมีครูมา สอนที่บ้าน  ส่วนเด็กที่มาจากครอบครัวบุคคลทั่วไปจะถูกนำไปฝากเรีนที่วัด  แต่เด็กผู้หญิงจะยังไม่มีโอกาสได้เรียน  ยกเว้นเด็กที่พ่อแม่ไปฝากไว้ในวังหรือตามบ้านเจ้านายเพื่อฝึกความเป็น กุลสตรีและงานอาชีพ
     จนมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  บ้านเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน  เช่น  การคุกคามจากจักรวรรดินิยม  การค้าขายกับต่างชาติทำให้มีการเผยแพร่ความรู้วิทยากรต่างๆตามแบบตะวันตก  และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก  กลับมาเป็นผู้นำในการพัฒนาบ้านเมือง  รวมทั้งนักเรียนไทยเดินทางไปศึกษาวิชาการต่างๆ  จากต่างประเทศก็ได้นำแนวคิดของทางตะวันตกมาพัฒนาบ้านเมือง  ปัจจัยด้านการเลิกทาสและระบบไพร่ทำให้ราษฎรจำนวนมากต้องทำมาหาเลี้ยงชีพเอง  จึงจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อดำรงชีพและเกิดความต้องการเข้ารับราชการ  เนื่องจากมีการปรับปรุงการปกครองและการบริหารส่วนกลางที่ต้องการข้าราชการ ไปปฏิบัติงานตามหัวเมืองต่างๆนำไปสู่การปรับปรุงการศึกษาในทุกระดับชั้น  แม้แต่การศึกษาปฐมวัยก็เริ่มมีการศึกษาที่มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น  ในสมัยเริ่มต้น  เรียกว่า  "โรงเลี้ยงเด็ก"  ในปีพ.ศ.2466  นับเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กแห่งแรกในประเทศไทยโดยดำริของพระอัครชายาเธอ  พระองค์เจ้าสวลีภิรมย์  กรมขุนสุทธาสินีนาฏ  ในรัชกาลที่  5  ซึ่งสูญเสียพระธิดาไปตั้งแต่ยังเยาว์  จึงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส  อันได้แก่  เด็กกำพร้า  เด็กยากจน  และเด็กเร่ร่อนให้ได้เข้ามาได้รับการศึกษาในโรงเรี้ยงเด็ก  โรงเลี้ยงเด็กแห่งนี้  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงเป็นผู้จัดการคนแรก  โดยเนื้อหาที่เรียนเน้นด้านความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ  เช่น  อ่านออกเขียนได้  คิดเลขเป็น  รู้จักรักษาอิริยาบถ  หุงข้าว  ต้มแกงเป็น  ขึ้นต้นไม้เป็น  ว่ายน้ำเป็น  ปลูกทับกระท่อมที่อยู่เป็น  ปลูกต้นไม้  เลี้ยงสัตว์  นอกเหนือจากการก่อตั้งโรงเลี้ยงเด็กแล้ว  โโได้รับแนวคิดตามแบบตะวันตกของเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่  อันนับเป็นแนวความคิดแบบ ตะวันตกแบบแรกที่เข้ามาในประเทศไทย
     ในรัชสมัยนี้ยังมีการจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบโรงเรียน  คือ  มีการจัดตั้งโรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนราชกุมารีสำหรับเชื้อพระวงศื  นับเป็นสถานศึกษาปฐมวัยแห่งแรกที่เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการอย่างมีระบบ โดเน้นวิธีการสอนแบบเรีนปนเล่น  เน้นการลงมือทำกิจกรรม  ต่อมาหน่วยงานรัฐเริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษากับคนทั่วไป  นอกเหนือจากเชื้อพระวงศ์  จึงเริ่มมีแนวคิดแบ่งระดับการศึกษาแบบทรงเจดีย์โดได้เพิ่มการสอนในรดับมูล ศึกษาอันเป็นหลักฐานเบื้องต้นของการศึกษา  ในระดับสามัญศึกษาเป็นระดับก่อนประถมศึกษาที่มีพระสงฆ์เป็นผู้สอนเน้นการ อ่านออกเขียนได้  และจริยธรรม  ซึ่งนับว่าตั้งแต่นั้นมาแนวคิดทางตะวันตกก็เริ่มเข้ามามีผลต่อการศึกษาไทย  อย่างไรก็ตามดูเหใือนว่า  ความคาดหวังสำหรับเด็กโลกสมัยปี 2000 จะดูต่างไปจากโลกของเด็กในยุคก่อนๆ  เช่น  มีหลาคนคิดว่าในช่วง 7 ปี แรกของชีวิตเด็กนั้นเราควรจะต้องสอนเด็กตลอดเวลาให้รู้จักตัวหนังสือ  ควรที่จะสามารถอ่านออกเขียนได้  มีแนวคิดว่าควรมีทักษะคณิตศาสตร์  หรือรู้จักใช้เทคโนโลยี เช่น  คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทันกับกระแสโลก  ในขณะเดียวกัน  การเรียนการสอนเบบเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง  อันเป็นนวคิดจาก จอห์น ดิวอี้ ผู้มีบทบาทสำคัญ  ในการเผยแพร่เรื่องนี้  ที่เน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแบบองค์รวม  มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรอีกครั้งในปี พ.ศ.2533  แนวคิดในเรื่องนี้ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม  จนประมาณปี พ.ศ.2538  เมื่อเริ่มมีการปฏิรูปทางการเมืองขึ้น  วงการการศึกษาก็ได้มีการเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปการศึกษาขึ้นอีกครั้ง  ซึ่งส่งผลทำให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาเกิดขึ้น  โดยเฉพาะที่กำหนดในมาตรา 22  ที่ให้ครูจัดการเรียนการสอน  โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  เป็นการเรียนรู้ที่ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ  ของแต่ละคน  เปลี่นแนวจากการเรีนการสอนแบบบรรยาย  มาเป็นการจัดกิจกรรมต่างๆ  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม  โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงการ  กระตุ้นให้เด็กรู้จักคิด  วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  โดยครูทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษา  และคอยเพิ่มเติมในส่วนที่เด็กยังขาดหรือต้องการความช่วยเหลือ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น