วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวทางการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัย



แนวทางการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัย

การอ่านเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาชาติ ผู้ที่อ่านมากย่อมรู้มาก และได้เปรียบผู้อ่านน้อยเสมอ



             การอ่านนอกจากเป็นอาหารสมองที่ดีแล้วยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการทาง ด้านอารมณ์ และจิตใจให้แก่ผู้อ่านด้วย ยิ่งผู้อ่านได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากเรื่องที่อ่านมากเท่าไร การเรียนรู้ก็ยิ่งพัฒนาขึ้นเท่านั้น การอ่านกับเด็ก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณครูควรปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านตั้งแต่ ยังเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยอนุบาล  เพราะ เด็กในวัยนี้จะซึบซับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวได้ง่ายและรวดเร็ว ยิ่งถ้าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากคุณครูเป็นประจำและสม่ำเสมอด้วยแล้ว เด็กก็จะเกิดความคุ้นเคยและเคยชินกับการอ่านหนังสือ จนพัฒนาเป็นนิสัยรักการอ่านโดยไม่รู้ตัว ซึ่งแนวทางการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัยนี้ ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
            1. จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ การจัดมุมหนังสือให้มีแสงสว่างที่พอเหมาะในการอ่าน ชั้นวางหนังสือที่เด็กสามารถหยิบและจัดให้เป็นระเบียบ
            2. สำรวจความต้องการอ่านของเด็ก  เพื่อจัดหนังสือให้ตรงตามความต้องการและเหมาะสมกับวัยของเด็ก
            3. จัดป้ายนิเทศหมุนเวียนเปลี่ยนให้บ่อย ๆ เพื่อเป็นแรงดึงดูดใจและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจอยากอ่าน
            4. จัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การสอนแบบโครงการ
            5. กระตุ้นและสร้างความสนใจให้อยากรู้เรื่องราวในหนังสือด้วยการจัดนิทรรศการ แนะนำหนังสือใหม่ เล่าเรื่องประกอบ อ่านหนังสือให้นักเรียนฟังทุกวัน สนับสนุนให้นักเรียนได้เล่าเรื่องที่อ่านให้เพื่อน ๆ ฟัง หรือให้เด็กยืมหนังสือไปอ่านร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน
            6. คุณครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่าน โดยการอ่านหนังสือให้นักเรียนเห็นและพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องราว ของหนังสืออยู่เสมอ คุณครูควรเป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส กระตุ้นให้เด็กรักการอ่านด้วยปิยวาจา เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินโดยไม่บังคับ ให้กำลังใจและยกย่องชมเชย เมื่อนักเรียนแสดงความสนใจในการอ่าน
            7. ให้หนังสือเป็นรางวัลในโอกาสต่าง ๆ เช่น เมื่อทำความดี ตอบคำถามถูกต้อง หรือเมื่ออ่านหนังสือได้จำนวนมาก

            เมื่อ เด็กได้รับการส่งเสริมการอ่านที่ดีเช่นนี้แล้ว เชื่อว่าพวกเขาก็จะรักและเห็นคุณค่าของหนังสือมากขึ้น และคราวนี้ประเทศของเราก็จะมีนักอ่านตัวน้อยเพิ่มขึ้นอีกหลายคนเลยค่ะ

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้
1 ทฤษฎีการเรียนรู้จาก การเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถที่จะ เก็บข้อมูล และเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืนมา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูล ความมากน้อยของข้อมูล จากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนำไปปฏิบัติ
2 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer Theory) ทฤอมูลเก่า ทฤษฎีนี้ขึ้นษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มาจาก การใช้ความเชื่อมโยง ระหว่าง ความเหมือน หรือความเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อยู่กับ ข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน
3 ทฤษฎีของความกระตือรือร้น (Motivation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การประสบความสำเร็จและผลที่จะได้รับด้วย เช่น ถ้าทำอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ ก็จะมีความกระตือรือร้น
4 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active Participation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถ ในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับ ความอยากจะเรียนรู้ และมีส่วนร่วม ถ้ามีความอยากเรียนรู้ และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น
5 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บรวบรวมและการดำเนินการจัดการกับข้อมูล (Information Processing Theory) ทฤษฎีนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
  • ส่วนแรกพูดถึง ความสามารถในการจำระยะสั้นของสมอง ซึ่งมีขีดจำกัด สามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มก้อน (Chunking) ได้ประมาณ 7 ข้อมูล หรือ 5-9 คือ 7 บวกลบ 2 ข้อมูลก้อนนี้เป็นข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งอาจเป็นตัวเลข หรือคำพูด หรือตำแหน่งของตัวหมากรุก หรือใบหน้าคน เป็นต้น
  • ส่วนที่ 2 พูดถึง TOTE มาจาก Test-Operate-Test-Exit ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย มิลเลอร์ (Miller) และคณะ กล่าวว่า ต้องมีการประเมินว่า ได้มีการกระทำที่บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าหาก บอกว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ก็จะต้องมีการกระทำ หรือปฏิบัติการใหม่เพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
6 ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หรือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ อีกทฤษฎีหนึ่ง ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ การศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริง มีมากกว่า การเรียนรู้ เพราะสามารถนำไปใช้ใน สภาวะการเรียนรู้ ในสังคม ได้ด้วย ชอว์ ทำการศึกษา เรื่องรูปแบบ และ ทฤษฎีการเรียนรู้ และพัฒนา เขาเชื่อว่า ในระบบการศึกษา มีความสำคัญต่อเนื่องไป ถึง ระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับ การสอนด้วย วิธีให้อย่างเดียว หรือ แบบเดียว จะเสียโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคม ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาส ที่จะมีโครงสร้าง หรือพัฒนา ไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน
ชอว์ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ในรูปแบบของพัฒนาการ ของ สังคมและจิตวิทยา ว่าเป็นแนวคิด หรือ ความเข้าใจ ที่เป็น คอนสตรัคทิวิซึ่ม (Constructivism) คือ รูปแบบที่ผู้เรียนเป็น ผู้สร้างความรู้ ไม่ใช่เป็น ผู้รับอย่างเดียว ดังนั้นผู้เรียน ก็คือ ผู้สอนนั่นเอง แต่ใน ระบบการศึกษาทุกวันนี้ รูปแบบโครงสร้าง จะตรงกันข้ามกับ ความคิดดังกล่าว โดยครูเป็น ผู้หยิบยื่นความรู้ให้ แล้วกำหนดให้ นักเรียนเป็นผู้รับความรู้นั้น
อย่างไรก็ตาม คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีแตกต่างจาก คอน-สตรัคทิวิซึ่ม ตรงที่ ทฤษฎีคอนสตรัคทิวิซึ่ม คือ ทฤษฎีที่กล่าวว่า ความรู้เกิดขึ้น สร้างขึ้นโดยผู้เรียน ไม่ใช่เป็นการให้จากผู้สอนหรือครู ในขณะที่ คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีความหมาย กว้างกว่านี้ คือ พัฒนาการของเด็ก ในการเรียนรู้ มีมากกว่า การกระทำ หรือ กิจกรรม เท่านั้น แต่รวมถึง ปฏิกิริยาระหว่างความรู้ ในตัวเด็กเอง ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อม ภายนอก หมายความว่า เด็กสามารถเก็บข้อมูล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก และเก็บเข้าไป สร้าง เป็นโครงสร้าง ของความรู้ภายใน สมองของตัวเอง ขณะเดียวกัน ก็สามารถเอา ความรู้ภายใน ที่เด็กมีอยู่แล้ว แสดงออกมา ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม ภายนอกได้ ซึ่งจะเกิดเป็น วงจรต่อไป เรื่อย ๆ คือ เด็กจะเรียนรู้เองจาก ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ กลับเข้าไปในสมอง ผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่ แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
ดังนั้น ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม จึงให้ความสำคัญ กับโอกาสและ วัสดุที่จะใช้ใน การเรียนการสอน ที่เด็กสามารถนำไป
สร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายใน ตัวเด็ก เองได้ ไม่ใช่ซึ่งไม่ใช่วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจธรรมชาติ ของกระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้าง กระบวนการ เรียนรู้ นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้น ตามธรรมชาติของเด็ก แต่ละคน ครูควรคิดค้น พัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียน อย่างไรจึงจะให้ ผู้เรียนสามารถ สร้างความรู้ขึ้นเองได้ ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนา และสร้าง วัสดุอุปกรณ์ ประกอบการเรียน การสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่ จะใช้อุปกรณ์การเรียน การสอน ที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์ด้วย วิธีการเรียนแบบใหม่ คือ การสร้างให้ผู้เรียน สร้างโครงสร้างของ ความรู้ขึ้นเอง
ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) และ ศาสตราจารย์ มิทเชล เรสนิก (Mitchel Resnick) มีความเห็นว่า ทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม คือ ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน
สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วย การสร้างความรู้ใหม่ ขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูล ที่หลั่งไหลเข้ามา ในสมองของผู้เรียน เท่านั้น โดยความรู้ จะเกิดขึ้นจาก การแปลความหมาย ของประสบการณ์ที่ได้รับ
สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้น มีความหมายกับ ผู้เรียนคนนั้นมุ่งการสอน การป้อนความรู้ให้ คิดค้นแต่วิธีที่จะสอนอย่างไรจึงจะได้ผล ซึ่งไม่ใช่ วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจ ธรรมชาติ ของ กระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้างกระบวนการ เรียนรู้นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้นตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
ครูควรคิดค้นพัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่า จะให้โอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้
ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนาและสร้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่จะใช้อุปกรณ์ การเรียนการสอน ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้วยวิธีการเรียนแบบใหม่ คือการสร้างให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้าง ของความรู้ขึ้นเอง
มีความหมายกับผู้เรียนคนนั้นทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม บอกว่า การจะให้การศึกษากับเด็กขึ้นอยู่กับว่า เรามีความเชื่อว่า ความรู้เกิดขึ้น ได้อย่างไร ถ้าหากเราเชื่อว่าความรู้เกิดจากการที่เด็กพยายามจะสร้างความรู้ขึ้นเอง การให้การศึกษาก็จะต้อง ประกอบด้วย การดึงเอา ความรู้นี้ ออกมาจากเด็ก ด้วยการขอให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือตอบคำถาม ที่จะใช้ความรู้นั้น และให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วม ในกิจกรรม ที่จะทำให้ เกิดกระบวนการสร้างความรู้ ในทางตรงข้ามถ้าเราเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ภายนอก การให้การศึกษา ก็จะต้อง ประกอบด้วย การให้ประสบการณ์ที่ถูกต้องกับเด็ก แสดงให้เด็กเห็นถึงวิธีที่ถูกต้องที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือบอกคำตอบที่ถูกต้อง ให้กับเด็ก วิธีนี้คือ การศึกษาในสมัยก่อนนั่นเอง

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

MQ (Moral Quotient) คือระดับจริยธรรมศีลธรรมบุคคล ซึ่งสามารถการควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีความกตัญญู เป็นคนดี มีระเบียบวินัย มีสำนึกผิดชอบชั่วดี และเคารพนับถือผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคมและมนุษยชาติ บางคนเข้าใจว่า EQ กับ MQ นั้นคือ สิ่งเดียวกันแต่จิตแพทย์ จาก ม.ฮาร์วาด ดร.โรเบิร์ต โคลส์ ( Cole ; 1997 ) ได้แยกเอาระดับความคิดด้านจริยธรมมและศีลธรรมนี้ออกมาจากความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญเฉพาะขึ้นอีก ดร.โรเบิร์ต โคลส์ กล่าวว่า MQ นั้นไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ขณะที่บุคคลเจริญเติบโตขึ้นมาแล้ว เหมือนดังคำโบราณของไทยที่ว่า "สันดอนนั้นขุดได้ แต่สันดานนั้นขุดยาก"
การที่บุคคลคนหนึ่งจะมี MQ ระดับดี ต้องเริ่มปลูกฝังในวัยเด็กจึงจะได้ผล อาศัยปัจจัย 3 อย่างด้วยกันคือ การสอนศีลธรรมโดยตรงให้กับเด็ก การถ่ายทอดทางศีลธรรมจากผู้ใหญ่ให้กับเด็ก ความรักและวินัย
MQ เป็นเรื่องที่ต้องฝึกมาตั้งแต่วัยเด็ก ถ้าบุคคลได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาแต่ยังเป็นเด็ก บุคคลก็สามารถ พัฒนาพื้นฐาน MQ ของตนขึ้นมาในระดับหนึ่ง (มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง) และ MQ นี้ก็จะฝังลึกลงไปในจิตใต้สำนึก ของบุคคลผู้นั้น และจะรอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่น ๆ แต่ถ้าบุคคลไม่มี MQ อยู่ในจิตสำนึกดั้งเดิมแล้ว ไม่ว่าโตขึ้นจะได้รับการกระตุ้น อย่างไรก็ไม่สามารถ ทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นคนดีขึ้นมาได้มากนัก
ในทางจิตวิทยา เรื่องระดับพัฒนาการทางจริยธรรม ได้มีนักจิตวิทยาได้เสนอทฤษฏีที่น่าสนใจ ไว้นานแล้วก่อน ที่จะมีการเสนอเรื่อง MQ ก็คือ Lawrance Kolhberg 1927-1987 ซึ่งนับว่าเป็นทฤษฏี ที่อาจนำไปทำความเข้าใจบุคลิกภาพของบุคคลได้อีกแนวคิดหนึ่ง

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ทฤษฎีของโคลเบิร์ก (Kolhberg) เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานสืบเนื่องมาจาก ทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิร์กได้ปรับปรุงวิธีการวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมทั้งได้ทำการวิจัยอย่างกว้าวขวาง ไม่เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ได้ทำการวิจัยในประเทศอื่น ที่มีวัฒนธรรมต่างไป เช่น ประเทศไต้หวัน เตอรกี และเม็กซิโก เป็นต้น โคลเบิร์กได้คิดวิธีวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีระบบการ ให้คะแนนอย่างมีระเบียบ แบบแผน ผู้ที่จะใช้วิธีการให้คะแนนระดับพัฒนาการทางจริยธรรม จะต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษ วิธีการวิจัยที่โคลเบิร์กใช้ก็คล้ายคลึง กับวิธีการของพีอาเจต์มาก คือสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรม ที่ผู้ตอบยาก ที่จะตัดสินใจได้ว่า "ถูก" "ผิด" "ควรทำ" หรือ "ไม่ควรทำ" อย่างเด็ดขาด เพราะขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง การตอบจะขึ้น กับวัยของผู้ตอบ เกี่ยวกับความเห็นใจ ในบทบาทของผู้พฤติกรรมในเรื่องค่านิยม ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึด จากการวิเคราะห์คำตอบของผู้ตอบวัยต่าง ๆ โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น คำอธิบายของระดับและขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก มีดังต่อไปนี้

ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional) ในระดับนี้เด็กจะได้รับ กฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ "ดี" "ไม่ดี" จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดา มารดา ครูหรือเด็กโต และมักจะคิดถึงผลที่ตามมาที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษมาให้
พฤติกรรม "ดี" พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล
พฤติกรรม "ไม่ดี" พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ
โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
1.1 การลงโทษ และการเชื่อฟัง (Punishment and Obedience Orientation)
1.2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน (Instrumental Relativist Orientation)

ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (Conventional) พัฒนาการจริยธรรมระดับนี้ ผู้ทำถือว่า การประพฤติตนตาม ความคาดหวัง ของผู้ปกครอง บิดา มารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิดเพราะกลัวว่า ตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่คำนึงถึงผลตามที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ถือว่าความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี เป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนมีหน้าที่จะรักษามาตรฐานทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
2.1 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ "เด็กดี" (Interpresonal Concordance of "good boy, nice girl" Orientation)
2.2 กฎและระเบียบ ("Law-andorder" Orientation) การทำถูกไม่ประพฤติผิด คือ การทำ ตามหน้าที่ประพฤติตนไม่ผิดกฎหมาย และรักษาระเบียบแบบแผนของสังคม

ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post-conventional Level) พัฒนาการ ทางจริยธรรมระดับนี้ เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะ ตีความหมายของ หลักการและมาตรฐานทาง จริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักฐานของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม การตัดสิน "ถูก" "ผิด" "ไม่ควร" มาจากวิจารณญาณของตนเอง ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจหรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์ – กฎหมาย ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น

สรุปแล้ว พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมี 3 ระดับ และ 6 ขั้น ขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรม มีดังนี้

ขั้นที่ 1 การลงโทษ และการเชื่อฟัง
โคลเบิร์กกล่าวว่าในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน "ถูก" หรือ "ผิด" เป็นต้นว่าถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ "ผิด" และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม
เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ "ถูก" และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล

ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราะอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล ไม่ได้คิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการ เห็นใจผู้อื่น หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตน แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค "ถ้าเธอทำให้ฉัน ฉันจะให้........."

ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับ "เด็กดี"
พัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ "คนดี" ตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของบิดามารดา หรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรม "ดี" หมายถึง พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับ หรือไม่ประพฤติผิดเพราะเกรงว่าพ่อแม่จะเสียใจ

ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ
โคลเบิร์กอธิบายว่า เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นนี้ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบร้อยต้องมี กฎหมายและข้อบังคับ คนดีหรือ คนที่มีพฤติกรรมถูกต้อง คือคนที่ปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และความเป็นระเบียบของสังคม

ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ใน สังคมยอมรับ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรที่จะปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้มาตรฐานทางจริยธรรม ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่า สิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ "ถูก" และ "ผิด" ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเห็น ความสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคล แต่เปิดให้มีการแก้ไข โดยคำนึงถึงประโยชน์และ สถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น

ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล (Universal Ethical Principle Orientation)
ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อ ความยุติธรรม ของมนุษย์ทุกคนในขั้นนี้สิ่งที่ "ถูก" "ผิด" เป็นสิ่งที่มโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ

สรุปแล้ว โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น ถือว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์เป็นไปตามขั้นอย่างมีระเบียบ คือเริ่มจากขั้นที่ 1,2,3,4,5 และ 6 ตามลำดับ บุคคลทุกคนจะต้องผ่านพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นต้น ๆ ซึ่งเป็นรากฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นต่อไป และเมื่อผ่านแล้ว ก็ยากที่จะกลับไปขั้นเดิมอีก
สรุปลำดับขั้นพัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม " ดี" คือได้รางวัล "ไม่ดี"คือการได้รับโทษ
ขั้นที่ 1. บุคคลใช้เกณฑ์ทางจริยธรรม โดยยึดการลงโทษ การเชื่อฟัง เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
ขั้นที่ 2. บุคคลใช้ กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน ไม่คิดถึงความยุติธรรม ไม่เห็นใจผู้อื่น ทำเพื่อสนองความต้องการ ของตนเอง ทำโดยมีเงื่อนไข ระดับจริยธรรมตามกฏเกณฑ์สังคม
ขั้นที่ 3. บุคคลทำตามความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับเด็กดี good boy, nice girl
จะทำตามผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา ยอมรับโดยไม่คำนึงความถูกต้อง
ขั้นที่ 4. บุคคลยึดกฎและระเบียบ การทำตามหน้าที่ ประพฤติตนไม่ผิดกฎหมาย รักษาระเบียบแบบแผน ของสังคม
ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์ของสังคม
ขั้นที่ 5. บุคคลยึดหลักสัญญาประชาคม หรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นที่ 6. บุคคลยึดหลักการคุณธรรมสากล

โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโลกก็ประสบกับปัญญาใหม่ ๆ ซึ่งในอดีตไม่เคยเกิดขึ้นและปัญหาบางปัญหาก็มี ความซับซ้อน และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในทุกด้านส่งผลให้บุคคลที่ไม่สามารถจัดการกับ การเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ต้องเผชิญกับ ความยุ่งยาก อาชีพบางอาชีพ หากบุคคลากรที่ไม่สามารถปรับตัว กับการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องออกจากอาชีพไปก็มี โลกของงานอาชีพ หลายอาชีพ ในปัจจุบันได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วโดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลง ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และเทคโนโลยีการสื่อสารดังนั้นบุคคลที่พึงประสงค์ในศตวรรษนี้ นอกจากเป็นผู้มีบุคลิกภาพ ด้านองค์ประกอบ IQ ,EQ, และ MQ ในระดับสูงแล้ว ยังมีองค์ประกอบ ที่ปัจจุบันใน วงการธุรกิจ ให้ความสำคัญมากคือ องค์ประกอบด้าน AQ

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ศธ.ช็อก! WEF จัดอันดับการศึกษา “ไทย” คุณภาพต่ำ ตามก้น “เขมร-เวียดนาม”

ศธ.ช็อก! WEF จัดอันดับการศึกษา “ไทย” คุณภาพต่ำ ตามก้น “เขมร-เวียดนาม”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กันยายน 2556 17:33 น.
       ศธ.เต้น! เหตุ WEF จัดอันดับการศึกษาไทยคุณภาพต่ำ ไล่ตามก้น กัมพูชา-เวียดนาม “จาตุรนต์” สั่งวิเคราะห์ด่วนหาที่มาที่ไปและข้อมูลตัวชี้วัดที่นำมาใช้ ก่อนปรับการศึกษาทั้งระบบ
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       วันนี้ (3 ก.ย.) ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการประชุมของ World Economic Forum (WEF) - The Global Information Technology Report 2013 ได้จัดอันดับคุณภาพการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มสุดท้ายอันดับที่ 8 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีคะแนนต่ำที่สุด รองจากประเทศเวียดนาม ที่ได้อันดับ 7 และประเทศกัมพูชา อันดับ 6 ซึ่งทั้งนี้ ผลการจัดอันดับได้สรุปว่า เงินทุนไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดของการมีระบบการศึกษาที่ดี และการที่ครูอาจารย์มีเงินเดือนสูง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสามารถทางการสอนสูงตามไปด้วย สำหรับประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการผลักดันเรื่องเงินเดือนครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็ต้องเร่งรัดครูในเรื่องประสิทธิภาพในการสอนควบคู่กันไปด้วย
      
       ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ.กล่าวต่อว่า ทั้ง นี้ สำหรับประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีที่สุดในกลุ่มอาเซียน เรียงตามลำดับที่ดีที่สุด ดังนี้ อันดับ 1 ประเทศสิงคโปร์ อันดับ 2 ประเทศมาเลเซีย อันดับ 3 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม อันดับ 4 ประเทศฟิลิปปินส์ อันดับ 5 ประเทศอินโดนีเซีย อันดับ 6 ประเทศกัมพูชา อันดับ 7 ประเทศเวียดนาม และอันดับ 8 ประเทศไทย ซึ่ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มาก และได้สั่งการให้ตนวิเคราะห์ที่มาที่ไปของผลการจัดอันดับดังกล่าว จากนี้ตนจะต้องไปศึกษาว่าผลการจัดอันดับที่ออกมามีความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ ไหน โดยจะต้องดูวิธีการจัดว่าใช้อะไรมาเป็นตัวชี้วัดบ้าง
      
       อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูหลักๆ พบว่า การจัดอันดับดังกล่าวเป็นการประเมินภาพรวมการจัดการศึกษาของแต่ละประเทศ และคาดว่าจะมีการนำคะแนนการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ Program for International Student Assessment (PISA) มาเป็นองค์ประกอบด้วย เพราะฉะนั้น ต้องไปดูรายละเอียดให้ชัดเจน เนื่องจากหากดูข้อมูลคะแนนสอบ PISA 2012 ที่กำลังจะประกาศผลเร็วๆ นี้ โดยประเทศเวียดนามเข้าสอบครั้งแรก และขณะนี้เริ่มทราบผลคะแนนแล้วว่า คะแนนคณิตศาสตร์ของเวียดนามได้สูงพอๆ กับประเทศจีน เมื่อครั้งที่ร่วมเข้าสอบ PISA ในปี 2009 ซึ่งเท่าที่ดู เวียดนามน่าจะติดอันดับ 1 ใน 5 มากกว่า ดังนั้น จึงต้องไปศึกษาวิธีการประเมินและตัวชี้วัดให้ละเอียดก่อน จึงจะสามารถวิเคราะห์ผลการจัดอันดับครั้งนี้ได้
      
       “ข้อมูลนี้ถือว่าน่าตกใจ เพราะอันดับของเราถือว่าต่ำมาก แต่เมื่อเทียบในอันดับโลกเราก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ไม่ต่ำขนาดนี้ ดังนั้นจึงต้องไปวิเคราะห์ข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่า เป็นเพราะอะไร แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาไทยก็จะต้องมีการปรับใหญ่ทั้งระบบ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่การปรับหลักสูตรเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น ที่สำคัญต้องไปดูการจัดการศึกษาในภาพรวมว่าได้มาตรฐานโลกหรือไม่ และถ้าดูจากผลการวิเคราะห์คะแนน PISA ที่ผ่านมาเห็นได้ชัดเจนว่า เด็กไทยคิดไม่เป็น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ประเด็นสำคัญที่เราจะต้องไปเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ การปฏิรูปวิธีการเรียนการสอน และปฏิรูปครู ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ.กล่าว
       

คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 8 บรรทัด/ปี เร่งหนุนเยาวชนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น

คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 8 บรรทัด/ปี เร่งหนุนเยาวชนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น


ศธ.เปิดงาน เผยคนไทยรู้หนังสือมากขึ้น ถึงร้อยละ 97 ส่วนการอ่านหนังสือยังน้อยเฉลี่ย 8 บรรทัดต่อปี ขณะที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน มาเลเซีย เวียดนาม อ่านหนังสือ 5 เล่มต่อปี
ศ.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ พ.ศ.2555 พร้อมกล่าวว่า ปัจจุบันอัตราผู้รู้หนังสือของไทยเพิ่มขึ้น ขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จะเร่งผลักดันให้เยาวชนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่รู้หนังสือ หากต้องการเรียนก็จะมีหลักสูตรเร่งรัด เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน คาดว่าจะมีผลให้ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือ กลับมารู้หนังสือมากขึ้น
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กล่าวว่า อัตราการอ่านหนังสือของคนไทย จากการสำรวจเมื่อปี 2553 อยู่ที่เฉลี่ยปีละ 8 บรรทัด ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม มีอัตราการอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 5 เล่ม ส่วนประเทศในแถบยุโรปอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 16 เล่ม คาดว่าการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยมาจากการมีสื่ออื่นให้ศึกษาเพิ่มขึ้น ทั้งอินเทอร์เน็ต และช่องทางอื่นๆ อย่างไรก็ตาม กศน.จะเร่งผลักดันและส่งเสริมให้คนไทยอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น ด้วยโครงการบ้านหนังสือ กระจายหนังสือดีให้ประชาชนได้อ่าน . - สำนักข่าวไทย

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด ตอน ม้าตีนปลาย


เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด ตอน ม้าตีนปลาย
ถ้าลูกเรียนไม่เก่ง อ่านไม่ออก เมื่อชั้นอนุบาลหรือ ป 1 ท่านจะทำอย่างไร?
หมอจะเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ของหมอและลูกหมอเองให้ฟังเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดกับผู้อ่านทุกท่าน ถ้าเป็นกรณีลูกของคุณ คุณจะทำอย่างไร?
ลูกชายคนโต เรียนโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งที่เน้นการเลี้ยงดูเด็ก สอนเด็กให้ช่วยเหลือตัวเอง เข้าสังคมเล่นกับเพื่อน ไม่เน้นการเรียนการสอนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้หรือแม้กระทั่งการบวกเลข ไม่ว่าจะเป็นเลขหนึ่งหลักหรือสองหลักก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อลูกหมอเริ่มเข้าโรงเรียนชั้นประถม 1 อ่านหนังสือเป็นคำไม่ได้เลย อ่านวันที่ที่ครูจดบนกระดานไม่ได้ อ่านได้แต่ ก .. ไก่ ข.. ไข่ ค... ควาย หรือคำง่ายๆ เช่น กา ขา เป็นต้น ในขณะที่เด็กคนอื่นส่วนมากอ่านออกและบวกเลขได้แล้ว ถ้าคุณเป็นตัวหมอ คุณคิดว่าคุณควรทำอย่างไร
1)จ้างครูมาสอนพิเศษตัวต่อตัว
หรือ 2)ส่งลูกไปเรียนพิเศษ และทำการบ้านเพิ่มเติม
หรือ 3) ติวและสอนหนังสือลูกด้วยตัวเองอย่างเข้มข้นเพื่อให้ลูกเรียนทันเพื่อน
ถ้าคุณตอบข้อ 1, 2 หรือ 3 ข้อใดข้อหนึ่งคุณคิด ........ผิดครับ เพราะหมอแน่ใจในตัวลูกหมอว่าไม่โง่แน่นอน (ถ้าคุณผู้อ่านยังจำได้ คนเราจะฉลาดหรือไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมครับ) หมอจึงปล่อยให้ลูกเรียนอย่างสบายตามปกติ ไม่มีการติวหรือเรียนพิเศษ เพียงแต่ให้ทำการบ้านตามที่คุณครูสั่ง หมอมีหน้าที่ตรวจว่าลูกทำการบ้านคร บและถูกต้องเพียงเท่านั้น เสาร์อาทิตย์เป็นวันครอบครัว เป็นวันพักผ่อน พาไปเที่ยวเขาดินแทบทุกอาทิตย์ ไม่มีการส่งลูกไปเรียนพิเศษตั้งแต่เช้าจรดเย็นอย่างที่หลายคนทำกันอยู่ ถึงเวลาสอบเทอมแรกลูกหมอยังอ่านหนังสือไม่คล่อง เวลาสอบลูกเล่าว่าต้องให้คุณครูยืนอยู่ข้างๆ อ่านโจทย์ให้ฟังแล้วให้ลูกเลือกคำ ตอบเอง ผลการสอบเทอมแรกลูกหมอได้ที่ 29 จาก 30 คน อ่านไม่ผิดหรอกครับ ได้ที่ 2 จากท้ายห้อง น่าตกใจไหมครับ? ถึงตอนนี้ถ้าคุณเป็นตัวหมอ คุณจะทำอย่างไร?
1)จ้างครูมาสอนพิเศษตัวต่อตัว
หรือ 2) ส่งลูกไปเรียนพิเศษและทำการบ้านเพิ่มเติม
หรือ 3) สอนหนังสือลูกด้วยตัวเองอย่างเข้มข้นเพื่อให้ลูกสอบดีขึ้น
ถ้าคุณตอบข้อ 1 , 2 หรือ 3 ข้อใดข้อหนึ่ง คุณตอบ........ผิดครับ ปิดเทอมหมอส่งลูกไปอยู่กับอาม่า(แม่ของหมอ)ที่กาญจนบุรี ไปใช้ชีวิตเรียนรู้ธรรมชาติต่างจังหวัด เปิดเทอมจึงไปรับกลับมาเรียนตามปกติ ไม่มีการสอนหรือเรียนพิเศษเพิ่มเติมเหมือนเทอมแรก ผลการสอบเทอมปลาย ลูกหมอเริ่มอ่านหนังสือได้คล่อง สอบได้ที่ประมาณ 22 – 23 ของห้อง ปิดเทอมใหญ่ก็ไปอยู่กับอาม่าที่ต่างจังหวัดเหมือนเคยจนเปิดเทอม กลับมาเรียน ป.2 ลูกไปเรียนตามปกติ ทุกอย่างยังทำเหมือนเดิม หมอเพียงตรวจการบ้านว่าทำครบและถูกต้อง ผลการสอบปรากฏว่าลูกค่อยๆ ดีขึ้นจนประมาณ ป . 3 ก็เริ่มเห็นว่าลูกทันเพื่อนในชั้นแล้ว แต่เกรดการสอบก็อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปานกลางของห้อง จะมาเริ่มเห็นว่าลูกเริ่มเก่งประมาณ ม. 1 พอถึง ม. 3 หมอก็แน่ใจว่าลูกเก่งพอสมควร สอบได้เกรด 3 กว่า พอ ม. 4 – ม. 6 ผลการสอบก็ดีขึ้นตามลำดับ จนสามารถสอบเข้าเรียนแพทย์ได้ จากเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก สอบได้ที่ท้ายสุดของห้อง ปัจจุบันเรียนจบเป็นหมออายุรกรรมโรคหัวใจแล้วครับ
ลูกคนที่ 2 ก็เหมือนกัน ตอนเข้าเรียนชั้นประถม 1 อ่านไม่ออก เขียนเป็นคำไม่ได้ ปรากฏว่าโรงเรียนมีโครงการทดลองจับ เด็กเรียนอ่อนทั้งหมด 40 กว่าคนรวมอยู่ห้องเดียวกัน ให้ครูประจำชั้น 2 คนดูแล สอนติวพิเศษตอนเย็นทุกวัน ครูสั่งการบ้านเยอะแยะไปหมด เช่นเลข 10 ข้อ แต่ละข้อจะมี 10 ข้อย่อย รวมเป็น 100 ข้อต่อครั้ง ตอนเย็นพ่อแม่ต้องมานั่งรอกันเต็มหน้าห้องทุกวัน หลายคนเป็นทุกข์กังวลใจมากและนั่งคุยปรับทุกข์กันเอง ส่วนหมอนั้นชินเสียแล้ว เพราะประสบการณ์จากลูกคนแรกสอนว่าถ้าลูกเรานั้นใช้ได้ เริ่มต้นถึงจะช้ากว่า แต่ท้ายที่สุดก็จะสามารถทันเพื่อนได้โดยตัวเขาเอง โดยไม่ต้องเร่งเรียนพิเศษ ผลการสอนปรากฏว่าเย็นวันหนึ่ง หมอไปถึงหน้าห้อง เห็นห้องปิดหมดทั้งประตูและหน้าต่าง ปิดไฟมืดและเงียบ พ่อแม่นั่งรอคอยกันเต็มหน้าห้องเหมือนทุกวัน ถามได้ความว่าครูทนไม่ไหว ในความเป็นเด็กอ่อนของนักเรียนทั้งห้อง ซนมาก ไม่สนใจเรียน ไม่ยอมนั่งเรียน เดิน วิ่งไม่ฟังครู จนครูทนไม่ไหว ร้องไห้ ปิดประตูหน้าต่างรวมทั้งไฟและพัดลม ปล่อยให้เด็กนั่งนิ่งเงียบอยู่ในห้อง เป็นการทำโทษ สักพักจึงปล่อยกลับบ้าน ทำเอาพ่อแม่ใจเสียกันแทบทุกคน ยกเว้นหมอคนเดียวที่มีประสบการณ์มาแล้ว จึงรู้สึกเฉยๆ เพราะสังเกตเห็นและคิดว่าลูกเรานั้นใช้ได้ โตขึ้นก็จะเก่งและดีขึ้นได้โดยตัวเขาเองเหมือนพี่ของเขาเช่นเดียวกัน ช่วงเสาร์อาทิตย์ก็เป็นวันครอบครัว พาลูกไปเที่ยวเล่นตามประสาเด็ก เที่ยวเขาดินเหมือนเดิม ปิดเทอมลูกคนเล็กก็ไปอยู่กับอาม่าพร้อมพี่ชาย ผลการสอบของลูกคนเล็กเป็นไปตามคาด ปีแรกๆคล้ายพี่ชาย แต่ผลการเรียนก็ดีขึ้นตามลำดับ ถึง ม.3 ก็เห็นชัดว่าเขาเรียนใช้ได้ สอบเข้าเรียนได้คณะวิศวะจุฬาฯ จนจบทำงาน 3 ปี แล้วได้ทุนจากธนาคารแห่งหนึ่ง ไปเรียนจบปริญญาโทบริหารธุรกิจ ( MBA) ประเทศสหรัฐอมริกา และกลับมาทำงานที่ธนาคารแห่งนั้นอยู่ในขณะนี้
จากประสบการณ์ที่ได้จากลูกทั้ง2คนที่ผ่านมา หมอจึงไม่แน่ใจว่าการเรียนพิเศษ การติวนั้นจะช่วยให้ลูกเรียนเก่งขึ้น ฉลาดขึ้นในระยะยาวได้จริงอย่างที่หลายคนตั้งความหวังไว้หรือไม่? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหมอส่งลูกไปเรียนพิเศษ ติวอย่างเข้มข้น ลูกจะเรียนเก่งสอบเอนทรานซ์ได้ดีกว่านี้หรือไม่? แต่หมอแน่ใจอยู่เรื่องหนึ่งว่า การเคี่ยวเข็ญให้เด็กเรียนหนักทั้งที่เด็กไม่พร้อม ศักยภาพไม่เพียงพอ แทนที่จะช่วยส่งเสริมเด็ก หมอคิดว่ากลับจะทำให้เด็กเหนื่อยเกินไป รู้สึกล้าและเบื่อการเรียน จนโตขึ้นเป็นคนที่ไม่อยากเรียนรู้ ไม่สนใจเรียนเพิ่มเติม ไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เรียนได้แต่ในห้อง ค้นคว้าเรียนเองไม่ได้ คิดเองไม่เป็นและทำงานไม่เป็น การยัดเยียดให้เด็กเรียนจนเต็มสมอง จนสมองไม่มีที่ว่างพอที่จะเติมหรือใส่อะไรลงไปได้อีกเมื่อโตขึ้นไม่น่าจะเป็นผลดีต่อตัวเด็ก ถ้าเปรียบเหมือนม้าแข่ง การเฆี่ยนม้าให้วิ่งเต็มที่อยู่ตลอด เวลา โดยที่โค้ชไม่รู้จัก ไม่เข้าใจสภาพและศักยภาพของม้า ไม่มีผ่อนหนัก ผ่อนเบา จนม้าหมดแรง หมดสภาพ ก็มีแต่จะพ่ายแพ้ เหมือนม้าตีนต้น สู้รู้จักผ่อนหนัก ผ่อนเบา ถนอมม้า แล้วเร่งเมื่อถึงเวลา ก็จะเข้าสู่เส้นชัย เปรียบเหมือนม้าตีนปลายน่าจะได้ผลดีกว่า
ขอให้มีความสุข และสนุกกับการเลี้ยงลูกนะครับ

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทางสติปัญญา


ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทางสติปัญญา

ประกอบไปด้วย

1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตก ต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการ ของเขา

2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำ เป็นที่ต้องทำก่อนการสอน

3 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของกาเย่
การจำแนกแยกแยะ (Discriminaitons) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือน








1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการ อย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการ กระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีการเรียนรู้


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54)

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้


ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)
ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและ สามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น


ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก


-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับ สิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก


ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี

พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้าง กฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไป ก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี


ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี

ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่ง ที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณา เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น

2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่

3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย

4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้

5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง

6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่ง อย่างทัดเทียมกัน


ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็น ระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการ ของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ

ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง

ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรม


หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ

--เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด

--เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่

--เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ

--เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน

--ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง

การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้

--ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ

--ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น

--ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ

--เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง

--ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร

--ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน

--ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป

--ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)


ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
--มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน

--พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ

--ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น


+++++++++++++++++++++++++++++++







2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์


บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจาก เพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้ เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ
บรุนเนอร์ มีดังนี้ (Brunner,1963:1-54)



ทฤษฎีการเรียนรู้

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิด ประสิทธิภาพ

3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน


กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน

การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้ เรียน

ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน

การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน

การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น

การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++







ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของกาเย่



แม้กาเย่ จะมิใช่นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยมโดยตรง แต่ผลงานของเขาส่วนใหญ่ได้เน้นให้เห็นถึงความเชื่อและแนวคิดของกลุ่มพุทธิ นิยม กาเย่ใช้โมเดลการเรียนรู้สะสมเป็นตัวอธิบายความเจริญทางสติปัญญาและพัฒนาการ ของความสามารถใหม่ ๆ ที่มีผลมาจากการเรียนรู้


จากทัศนะของกาเย่ เด็กพัฒนาเนื่องจากว่า เขาได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ พฤติกรรมที่อาศัยกฎที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเพราะเด็กได้มีกฎง่าย ๆ ที่จำเป็นมาก่อน ในระยะเริ่มแรกเด็กจะได้รับนิสัยง่าย ๆ ที่ช่วยทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้น เพื่อให้ได้มาซึ่งกลไกพื้นฐาน และการตอบสนองทางคำพูด ต่อมาก็จะเป็นการจำแนกความคิดรวบยอดเป็นกฎง่าย ๆ และในที่สุดก็จะเป็นกฎที่ซับซ้อน

การพัฒนาทางสติปัญญา จึงได้แก่การสร้างความสามารถในการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระยะหรือขั้นของการพัฒนาการดูเหมือนว่าจะสัมพันธ์กับอายุของเด็ก เนื่องจากการเรียนรู้ต้องใช้เวลา มีข้อจำกัดทางสังคมเป็นตัวกำหนด หรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราความเร็วในการให้ความรู้และข่าวสารแก่เด็ก สำหรับกาเย่แล้ว ความสามารถในการเรียนรู้อาจต้องรอการฝึกฝนที่เหมาะสม การถ่ายทอดในแนวตั้งและแนวนอน


กาเย่ได้แบ่งวิธีการที่ประสบการณ์เดิมถ่ายโอนผลของมันไปสู่พฤติกรรมในอนาคตเป็น 2 วิธี


- การถ่ายโอนในแนวนอน ซึ่งได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ของเนื้อหาที่เรียนรู้จากสาขาหนึ่งกับวิธีการใหม่ ๆ ที่ใช้กับสาระในสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น นักปรัชญาที่คุ้นเคยกับการนำไปสู่ความไม่มีเหตุผล (Reduction to Absurdity) ในลักษณะที่เป็นสื่อในการพิสูจน์ข้อความต่าง ๆ (ว่าไม่ถูกต้อง) สามารถที่จะนำความรู้นี้ไปใช้กับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่เขาเผชิญได้


- การถ่ายโอนในแนวตั้ง ได้แก่ การเรียนความรู้บางอย่างมาก่อนที่มีความจำเป็นต่อการเรียนความรู้อื่นๆ ในสาขาวิชาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การจะเรียนการคูณโดยไม่มีความรู้ในเรื่องการบวกมาก่อนจะยากมาก

กาเย่ มีความเชื่อว่าความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ด้าน คือ


1) ลักษณะด้านสติปัญญา (Intellectual Skills) ประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ประการคือ
การจำแนกแยกแยะ (Discriminaitons) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือน
การสร้างความคิดรวบยอด (Concepts) หมายถึง ความสามารถในการจัดกลุ่มวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ โดยระบุคุณสมบัติร่วมกันของวัตถุหรือสิ่งนั้น ๆ แบ่งเป็น 2 ระดับย่อย ๆ คือ

o ความคิดรวบยอดระดับรูปธรรม (concrete Concerpts)

o ความคิดรวบยอดระดับนามธรรมที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือวัฒนธรรมต่าง ๆ (Defined Concepts)

การสร้างกฎ (Rules) หมายถึง ความสามารถในการนำความคิดรวบยอดต่าง ๆ มารวมเป็นกลุ่ม ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น เพื่อให้สามารถสรุปอ้างอิง และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง (Procedures of Higher Order Rules) หมายถึง ความสามารถในการนำกฎหลาย ๆ ข้อที่สัมพันธ์กันมาประมวลเข้าด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น



2) กลยุทธ์ทางความคิด (Cognitive Strategies) หมายถึง กระบวนการที่มนุษย์ใช้ในการช่วยให้ตนได้รับข้อมูลและจัดกระทำกับข้อมูลจน เกิดการเรียนรู้ตามที่ตนต้องการ ประกอบด้วย
- กลวิธีเกี่ยวกับการใส่ใจ (Attending)
- กลวิธีเกี่ยวกับการทำความเข้าใจความคิดรวบยอด (Encoding)
- กลวิธีเกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งที่อยู่ในความทรงจำ (Retrieval)
- กลวิธีเกี่ยวกับการแก้ปัญหา (Problem Solving)
- กลวิธีเกี่ยวกับการคิด (Thinking)

3) ข่าวสารจากคำพูด (Verbal Information)
- คำพูดที่เป็นชื่อของสิ่งต่าง ๆ (Names or Labels)
- คำพูดที่เป็นข้อความ/ข้อเท็จจริง (Facts)

4) ทักษะทางกลไก (Motor Skills)

5) เจตคติ (Attitudes)

กาเย่ มีความเชื่อต่อไปอีกว่า
การเรียนรู้และความจำที่เกิดขึ้นในโครงสร้างของสมองมนุษย์เปรียบเทียบได้ หรืออธิบายได้โดยทฤษฎีการจัดระบบข้อมูล (Information-Processing Theories) กล่าวคือ เมื่อเราได้รับข้อมูลจากภายนอก สมองของเราก็จะรับรู้และบันทึกเอาไว้ บางเรื่องก็เก็บเอาไว้ในความทรงจำระยะสั้น ถ้าเรื่องนั้น ๆ มีความสำคัญสมองก็จะบันทึกไว้ในความทรงจำระยะยาว เปรียบเสมือนส่วนที่เก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องสมองกล เมื่อถึงคราวที่จะใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้นี้ สมองก็จะส่งข้อมูลออกมาในรูปของความจำ หรือการระลึกได้ แล้วนำข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้ตามที่ต้องการ

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
ความคิดของกาเย่ในเรื่องนี้มีแนวปฏิบัติโดยตรงต่อการศึกษาใน โรงเรียนหลายประการ การศึกษาในโรงเรียนไม่เพียงแต่จะสามารถทำให้เกิดผลด้านอัตราการพัฒนาสติ ปัญญาเท่านั้น แต่จะต้องแสดงบทบาทที่สร้างอิทธิพลในเรื่องนี้อย่างชัดเจน หมายความว่า เด็ก ๆ จะต้องพัฒนาให้เร็วที่สุดทันทีที่เราสามารถสอนเขาได้

จากรูปแบบการเรียนรู้สะสมของกาเย่ ความพร้อมในการเรียนของนักเรียนมิได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในทางชีววิทยา เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการจัดให้งานด้านทักษะมีความเหมาะสม และนิสัยที่จำเป็นสำหรับการเรียนทักษะใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นตามที่เราต้องการจะพัฒนา นอกจากนี้ถ้าเด็กไม่สามารถจะเรียนรู้ทักษะเฉพาะบางอย่าง เช่น การอ่าน ก็จะมีการกำหนดให้ครูตรวจสอบขั้นตอนย้อนหลัง เพื่อหาสิ่งที่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อนการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นแล้วเริ่ม สอนอ่านใหม่



    วิธีของกาเย่อาจจะขัดกับแบบรูปของเพียเจต์ ซึ่งครูมีหน้าที่คอยดูว่าเด็กมีความสามารถทางด้านใดเมื่อไร แล้วเตรียมการให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถของเขาในแต่ละระยะ และนำไปสู่พัฒนาการที่สูงขึ้นในทางการใช้ความคิดและสติปัญญา ตามนัยของกาเย่ครูสามารถสอนการคงที่ของปริมาณ (Conservation) หรือการอ่าน หรือนามธรรมที่ต้องใช้ความคิด โดยการกำหนดลำดับขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนเรียนรู้ที่จะนำไปสู่พัฒนาการ ทางสติปัญญาของเด็ก

เรียนรู้ในบริบทจริงจากการสัมภาษณ์เทียบเคียงพัฒนาการ

เรียนรู้ในบริบทจริงจากการสัมภาษณ์เทียบเคียงพัฒนาการ

        มนุษย์ ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรูปแบบ วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว จะช่วยให้เด็กเข้าใจ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการการส่งและรับข่าวสาร การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น
                       เด็กเรียนการฟังและการพูด โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่ เด็ก ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจ และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของ     ภาษาแม่ เมื่ออายุได้สี่หรือห้าปี



7 ขั้นตอนพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
โลแกน และโลแกน ( 1974 อ้างอิงจาก อารยา  สุขวงศ์. 2533 :107-109)
1.ระยะเปะปะ (Random Stage)
                       อายุตั้งแต่แรกเกิด-6 เดือน ในระยะนี้จะพบว่า      เด็กทารกมีการเปล่งเสียงอย่างไม่มีความหมาย การเปล่งเสียงของเด็กเป็นการบ่งบอกให้ผู้ใหญ่  รับรู้ถึงความต้องการของเด็ก เด็กจะส่งเสียงเมื่อไม่สบายตัว เมื่อเจ็บปวด เมื่อถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว แม้กระทั่งความรู้สึกที่เป็นสุข การเปล่งเสียงทำให้เด็กได้รับการตอบสนองจากผู้เลี้ยงดู และ   เมื่ออายุ 6 เดือน เสียงของเด็กจะเริ่มชัดเจน เรียกเสียงที่เปล่งในระยะนี้ว่าเสียงอ้อแอ้ ที่เรียกกันว่าเริ่มคุยแต่ยังไม่สามารถสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ในช่วงนี้เป็นระยะที่ควรสนับสนุนการพูดของเด็กโดยการพูดคุยด้วย เด็กที่สุขภาพดี มีการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด มีคนพูดคุยด้วย จะมีโอกาสพัฒนา ทางภาษาได้ดีกว่าเด็กที่เจ็บป่วยหรือถูกทอดทิ้ง  
2.ระยะแยกแยะ (Jergon State)
                           อายุ 6 เดือน-1 ปี ในระยะนี้ เด็กจะเริ่มแยกแยะเสียง ที่เขาได้ยินในสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงพูดคุยของแม่หรือผู้ให้การเลี้ยงดู เด็กจะแสดงลักษณะของการหยุดฟัง และแสดงอาการจดจำเสียงที่ได้ยินได้ เด็กจะรู้สึกพอใจถ้าหากเปล่งเสียแล้วได้รับการตอบสนองในทางบวก เช่น การพูดคุยด้วยหรือการแสดงอาการยิ้มแย้ม เด็กจะเปล่งเสียงเหล่านั้นซ้ำๆ อีก ในบางครั้งเด็กจะทำเสียงตามเสียงที่พูดคุยด้วย
3.ระยะเลียนแบบ (Imitaion Stage)
                     อายุ 1-2 ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเสียงของคนที่ใกล้ชิด เป็นเสียงที่เด็กวัยนี้สนใจและเริ่มเลียนแบบ เสียงที่เปล่งขึ้นของเด็ก จะเริ่มมีความหมายและแสดงกิริยาตอบสนองการได้ยินเสียงของผู้อื่น นักภาษาศาสตร์ถือว่า เป็นขั้นตอนที่แสดงถึงพัฒนาการทางภาษาอย่างแท้จริงของเด็ก
4.ระยะขยาย (The Stage of Expansion)
                2-4 ปี เด็กจะเริ่มหัดพูดโดยเปล่งเสียงออกมาเป็นคำๆ ระยะแรกจะเป็นการพูดโดยเรียกชื่อคำนามออกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งของต่างๆ    ที่อยู่ใกล้ตัว รวมทั้งคำคุณศัพท์ที่เด็กได้ยินผู้ใหญ่พูดกัน ความสามารถในการพูดของเด็กอายุ 2-4 ปี มีดังนี้
         อายุ 2 ปี เริ่มพูดเป็นคำและสามารถใช้คำที่เป็นคำนามได้ถึงร้อยละ 20
         อายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคได้
         อายุ 4 ปี เริ่มใช้คำศัพท์ต่างๆ ได้กว้างขวางขึ้น สามารถใช้คำขึ้นต้นหรือคำลงท้าย    อย่างที่ได้ยินผู้ใหญ่ใช้
        5.ระยะโครงสร้าง (Structure Stage)
                          อายุ 4-5 ปี การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ซึ่งทำให้เด็กได้สังเกตการณ์ใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้างและนำมาทดลองใช้ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น จากการฟังนิทาน ดูรายการวิทยุโทรทัศน์ การเล่นกับเพื่อน หรือพี่น้อง การพูดคุยกับผู้ใหญ่ ล้วนแล้วแต่เป็นการช่วยให้เด็กเก็บข้อมูลทางภาษาให้เพิ่มมากขึ้น        เด็กจะรู้สึกเล่นสนุกกับคำ คิดสร้างคำและประโยคด้วยตนเอง โดยจดจำคำหรือวลีตลอดจนประโยคที่ได้ยินมา
6.ระยะตอบสนอง (Responding Stage)
             อายุ 5-6 ปี การพัฒนาทางภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล เด็กได้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้น รู้จักการใช้ประโยชน์อย่างเป็นระบบตามหลักไวยากรณ์ การใช้ภาษาจึงเป็นภาษาที่มีแบบแผนมากขึ้น ภาษาของเด็กจะใช้สำหรับการสื่อสารที่ให้ความหมาย และเพื่อแสดงให้ผู้รับรู้ถึงสิ่งที่เขามองเห็นหรือรับรู้  
 7.ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage)
                อายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป เด็กจะพัฒนาความสามารถทางภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถ ใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวนหรือคำที่มีความหมายลึกซึ้งได้ เด็กจะพัฒนาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ทักษะทางภาษาได้สูงขึ้น ใช้ภาษาพูดที่เป็นนามธรรมมากขึ้นด้วย การสื่อสารในขั้นตอนนี้ จะเป็นการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของเด็ก
เนสเซล และคณะ (Nessel and Other. 1989) ได้อ้างถึงผลงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กว่าประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ คือ
ขั้นแรกเริ่ม (Prelanguage)
             เด็กอายุ 1-10 เดือน จะมีความสามารถจำแนกเสียงต่างๆ ได้ แต่ยังไม่มีความสามารถควบคุมการออกเสียง เด็กจะทำเสียงอ้อแอ้หรือเสียงที่แสดงอารมณ์ต่างๆ เด็กจะพัฒนาการออกเสียงขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เคียงกับเสียงในภาษาจริงๆ มากขึ้นตามลำดับ            เรียกว่า เป็นคำพูดเทียม (Pseudoword) พ่อแม่ที่ตั้งใจฟังและพูดตอบ จะทำให้เด็กเพิ่มความสามารถในการสื่อสารมากยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 1 (10-18 เดือน)
              เด็กจะควบคุมการออกเสียงคำที่จำได้ สามารถเรียนรู้คำศัพท์             ในการสื่อสารถึงห้าสิบคำ คำเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับสิ่งของ สัตว์ คน หรือเรื่องราวในสิ่งแวดล้อม การที่เด็กออกเสียงคำหนึ่งคำหรือสองคำ อาจมีความหมายรวมถึงประโยคหรือวลีทั้งหมด การพูดชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า Holophrastic Speech
ขั้นที่ 2 (18-24 เดือน)
                    การพูดขั้นนี้จะเป็นการออกเสียงคำสองคำ และวิธีสั้นๆมีชื่อเรียกว่า Telegraphic Speech คล้ายๆ กับการโทรเลข คือ มีเฉพาะคำสำคัญสำหรับสื่อความหมาย เด็กเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นถึงสามร้อยคำ รวมทั้งคำกริยาและคำปฏิเสธ เด็กจะสนุกสนานกับการพูดคนเดียวในขณะที่ทดลองพูดคำ และโครงสร้างหลายๆ รูปแบบ
ขั้นที่ 3 (24-30 เดือน)
                     เด็กจะเรียนรู้ศัพท์เพิ่มขึ้นถึง 450 คำ วลีจะยาวขึ้น พูดประโยคความเดียวสั้นๆ มีคำคุณศัพท์รวมอยู่ในประโยค
    ขั้นที่ 4 (30-36 เดือน)
                     คำศัพท์จะเพิ่มมากขึ้นถึงหนึ่งพันคำประโยคเริ่มซับซ้อนขึ้น เด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามทางด้านจำนวนคำศัพท์ และรูปแบบของประโยคอย่างชัดเจน
ขั้นที่ 5 (36-54 เดือน)
                  เด็กสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในครอบครัวและ  ผู้คนรอบข้าง จำนวนคำศัพท์ที่เด็กรู้มีประมาณสองพันคำ เด็กใช้โครงสร้างของประโยคหลายรูปแบบ เด็กจะพัฒนาพื้นฐานการสื่อสารด้วยวาจาอย่างมั่นคง และเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาเขียน
ซีฟีลท์ (Seefeldt. 1986) ได้กล่าวถึงการเรียนภาษาระดับพื้นฐานของเด็กไว้ 5 ระดับ ดังนี้
การสร้างประโยค (Syntax)
                    เด็กเรียนการสร้างประโยคหรือไวยากรณ์ ในขณะที่เด็กเริ่มนำคำมาสร้างเป็นประโยค เด็กจะเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ เมื่อเด็กเข้าใจประโยคที่มีคำจำนวนมาก เมื่ออายุสองปีถึงสามปี เด็กจะพูดประโยคความเดียวชนิดต่างๆ ได้ เช่น ประโยคคำสั่ง ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม เด็กจะใช้ประโยคที่มีคำเชื่อม หรืออเนกรรถประโยคได้เมื่ออายุ ห้าถึงเจ็ดปี และเด็กจะใช้คำนาม สรรพนาม ได้อย่างถูกต้อง เมื่ออายุประมาณเจ็ดปีจึงจะใช้ประโยคหลายความ หรือสังกรประโยคได้
•                   ความหมาย (Semantics)
                    ในขณะที่เด็กเรียนเสียงและโครงสร้างของภาษา เด็กจะเรียนรู้ด้วยว่าคำจะมีความหมายขึ้นอยู่กับปริบท (Context) ของ การใช้คำนั้นด้วย กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ความหมาย เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และสัมพันธ์กับขั้นตอนพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์
                    กล่าว คือ ในขั้นประสาทสัมผัส เด็กจะใช้คำพูดคำเดียวแทนประโยคทั้งประโยค ความหมายของคำขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการใช้คำ เช่น เด็กกำลังเดินหาพ่อ และพูดว่า พ่อ มีความหมายว่า พ่ออยู่ไหน เมื่ออายุสองถึงเจ็ดปี หรือขั้นก่อนปฏิบัติการ เด็กจะแยกคำออกจากประโยค พร้อมกับใส่ความหมาย ซึ่งสัมพันธ์กับการกระทำที่เป็นรูปธรรม คำว่า บ้าน อาจหมายถึง สถานที่พ่อแม่ แมว และตัวเองอาศัยอยู่ เด็กจะเริ่มตระหนักถึง  ความไม่ชัดเจน หรือความยืดหยุ่นของภาษา แต่เด็กจะเข้าใจต่อเมื่อเด็กมีประสบการณ์รูปธรรมเท่านั้น เมื่ออายุเจ็ดถึง สิบเอ็ดปี ซึ่งเป็นขั้นปฏิบัติการรูปธรรม เด็กจะเข้าใจความหมายได้ดียิ่งขึ้น แต่ก็ต้องการประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมอยู่ เด็กอาจอธิบายคำว่า บ้าน ว่าหมายถึง สถานที่ สำหรับนอน รับประทานอาหาร และให้เพื่อนมาเยี่ยม
•                   การใช้ภาษา (Pragmatics)
                เด็กจะเรียนรู้การใช้ภาษาอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ทางสังคมที่เด็กอยู่ เด็กที่ย้ายสถานที่ไปอยู่ที่ใหม่ก็จะเรียนรู้ภาษาของสังคมใหม่นั้น
•                   สรุปได้ว่า
                    การเรียนภาษาเป็นกระบวนการต่อเนื่อง เด็กเล็กจะเรียนภาษาพูดและกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งเสียงคำ ประโยค ความหมาย และการนำไปใช้ในขณะที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ ในสิ่งแวดล้อม เด็กจะเปลี่ยนและปรับปรุงการเรียนภาษาของตนเมื่อเข้าเรียนในโรงเรียน  แต่การเรียนภาษาระดับพื้นฐานนั้นจะถูกสร้างขึ้นก่อนหน้านั้น
บราวน์ และคณะ (Brown and Other. อ้างอิงจาก Lindfors. 1980)
       ขั้นแรก    เป็นขั้นสองคำ (the two-word stage) หรือขั้นโทรเลข เพราะหน่วยคำที่เด็กพูดเป็นคำ ที่มีความหมายหนักแน่นคล้ายๆ กับคำที่ใช้ในโทรเลข
        ขั้นที่สอง   เด็กจะใช้หน่วยคำทางหลักภาษา มีคำที่เชื่อมต่อกัน และการขยายคำเพิ่มมากขึ้น
        ขั้นที่สาม   เด็กจะใช้ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม และประโยคคำสั่ง ลักษณะของประโยคเหล่านี้จะพัฒนาต่อไปจากขั้นที่สามต่อไปอีกนาน


สมอง กับ...การเรียนรู้

สมอง กับ...การเรียนรู้

แต่ ก็อย่าลืมว่า ไม่เฉพาะ ๓ ประเด็นหลักที่ได้กล่าวมาเท่านั้นนะครับ ที่จะช่วยในกระบวนการพัฒนาสมองเด็ก ยังมี เรื่องของ อาหาร นมแม่ การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การป้องกันความเครียด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสมองเด็ก ทั้งนั้น
          
              ผมได้รับการติดต่อจาก ผู้ประสานงานของ “มูลนิธิรักษ์เด็ก” ให้ไปคุยเรื่องของ “สมองกับการเรียนรู้” จึงเป็นโอกาสอันดี ที่ได้ค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำเององค์ความรู้ใหม่ไปร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมเวที

          กลุ่มเป้าหมายในเวทีดังกล่าว ทางผู้จัดบอกว่า เป็นกลุ่มของผู้เลี้ยงดูเด็ก (ผดด.)และบรรดาคุณครูปฐมวัย ดังนั้น การมุ่งเน้นและนำไปใช้โดยตรงก็จะเป็นกลุ่มเด็กปฐมวัยที่มีอายุ ตั้งแต่แรกเกิดถึงหกปี

          อย่างที่ได้เขียนในบันทึก เรื่องบางเรื่องที่เราอาจยังไม่รู้...เกี่ยวกับสมอง มาแล้ว เราทราบกันดีว่า มีผลวิจัยมากมายทำให้เราทราบว่า การพัฒนาสมองนั้นมีผลมาจากการเลี้ยงดู การส่งเสริม การสนับสนุนเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง พ่อแม่ (ร้อยละ ๔๐ – ๗๐) มากกว่าพันธุกรรม(ร้อยละ ๓๐ – ๖๐ )

          ประเด็นนี้ทำให้เราทราบว่า  การที่จะทำให้เด็กฉลาดนั้น อยู่ที่ “การจัดกระบวนการเรียนรู้” สำหรับเด็ก ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กเป็นสำคัญ


          ความเป็นจริงทางประสาทวิทยาเผยให้รู้ว่า ในวัย ๒ – ๓ ขวบแรกของชีวิต เด็กตัวเล็กๆ มีความสามารถที่จะเรียนรู้เกือบทุกสิ่งทุกอย่างได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่รู้ตัว ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และกระหายที่จะเรียนรู้วิชา ทักษะ ไปพร้อมกับการละเล่นต่างๆอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งหากการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นในวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว จะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก บางสิ่งบางอย่างอาจจะไม่สามารถทำได้เลย


          กระบวนการพัฒนาสมอง ที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาสมองเด็กได้ อยากจะขอแยกเป็นประเด็นหลักๆดังนี้ครับ
  • เล่นเพลินๆ...สมองพัฒนา

  • ดนตรี ลีลา พัฒนาสมอง

  • นิทาน สร้างความฉลาด


เล่นเพลินๆ...สมองพัฒนา

          สำหรับเด็ก “การเล่น” คือ การเรียนรู้ครับ การเล่นทำให้สมองเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นกับประสบการณ์และสิ่งกระตุ้นต่างๆที่สองได้รับ การเล่นของเด็ก จะเป็นการกระตุ้นสมองโดยตรง เด็กจะได้ฝึกใช้ความคิดต่างๆ เช่น การแก้ปัญหา จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เด็กก็จะคิดแก้ปัญหาเป็น มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีงานวิจัยของ Kotulax ในปี       พ.ศ.๒๕๓๙ ได้นำเด็กมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พร้อมทั้งของเล่นเพื่อนเล่น อาหารดี เรียนรู้สิ่งต่างๆและการละเล่น พบว่า มีไอคิวมากกว่าอีกกลุ่มที่ตรงกันข้ามและสมองมีการทำงานมากขึ้น (ยืนยันจากเครื่องตรวจสมอง) และเขากล่าวว่า ไอคิวสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากกว่า ๒๐ แต้มได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการกระตุ้นต่างๆ หลักง่ายๆสำหรับการเล่นของลูกที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรใส่ใจ คือ
          ของเล่นที่เลือกให้ ลูกควรมีความหลากหลาย เหมาะกับวัย และพัฒนาการของลูกรวมถึงเรื่องความปลอดภัยด้วยนะครับ ส่วนความหลากหลายนี้ไม่ได้จำกัดแค่ชนิดของการเล่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงของเล่นที่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นได้หลากหลาย เพราะนั่นเท่ากับ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองเล่นวิธีใหม่ๆ ได้ลองผิดลองถูก นั่นหมายความว่า สมองเด็กกำลังทำงาน
          ของเล่นที่เข้าลักษณะอย่างที่บอก เช่น ชุดหม้อข้าวหม้อแกง ชุดของเล่นประกอบการเล่นบทบาทสมมุติ บล็อกตัวไม้ ตัวต่อเลโก้ เป็นต้น</p><p>
          เล่นกลางแจ้งต้องไม่ขาด   เด็กในเมืองที่มีของเล่นราคาแพง มีเครื่องเล่นชั้นดี ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เด็กได้รับการพัฒนาได้ครบ โดยเฉพาะเด็กเล็กๆที่ต้องการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การได้ออกไปวิ่งเล่น เล่นเครื่องสนามเป็นประจำ จะช่วยให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งนั่นหมายถึง สมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวก็ได้พัฒนาไป ด้วย
          พ่อแม่ คือ เพื่อนเล่นและเป็นของเล่นชั้นดีให้ กับลูกได้ การที่พ่อแม่ได้ร่วมเล่นกับลูก จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก กระตือรือร้น มีสมาธิกับการเล่น และลูกยังได้ความภูมิใจ ความสุขที่มีพ่อแม่อยู่ด้วย ดังนั้นในโรงเรียนและศูนย์เลี้ยงเด็ก  บทบาทของครูและพี่เลี้ยงเด็กก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับพ่อแม่ของเด็กครับ
        
          ให้อิสระในการเล่นกับเด็ก  ให้เด็กได้จัดการการเล่นด้วยตนเอง อย่าไป         กะเกณฑ์กับลูกมากเกินไป ให้ลูกได้ทดลองหาวิธีเล่นด้วยตัวเขาเอง แล้วเราจะพบว่า เด็กทำได้ดีและสนุกกับการค้นคว้าหาวิธีการเล่นใหม่ๆ</p><p> 
ดนตรี ลีลา พัฒนาสมอง
          จังหวะ ท่วงทำนอง ความถี่ของดนตรี มีผลต่อการเชื่อมต่อกันของเส้นใยประสาท ซึ่งการเชื่อมต่อของใยประสาทนี้ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อการพัฒนาเครือข่ายสมองเด็กมากเท่านั้น นอกจากนี้ คุณทราบมั้ยครับว่า ดนตรี ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการจำ ทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และดีต่อสุขภาพใจของลูกด้วยครับ</p><p>
          ดนตรีเป็นเรื่องของเสียง ซึ่งเสียงของดนตรี จะมีความพิเศษกว่าเสียงอื่นๆ เพราะเสียงดนตรีจะมีระดับของความถี่ที่แตกต่างกัน ทำให้มีความหลากหลายของคลื่นเสียงมากกว่าเสียงชนิดอื่น และคลื่นของความถี่ที่หลากหลายเหล่านี้ก็จะไปสอดคล้องกับทฤษฎีทางด้านการ พัฒนาการของสมองที่ว่า สมองจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อถูกกระตุ้นในจังหวะแรกๆของชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าต้องการกระตุ้นการฟังให้ได้เสียงครบทุกย่านความถี่ก็ ต้องกระตุ้นด้วยความถี่ที่หลากหลาย</p><p>
          เคยอ่านเจอในงานเขียนชิ้นหนึ่งบอกว่า เสียงบรรเลงจากเครื่องดนตรีทางภาคอีสาน น่าจะสามารถที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาสมองมากที่สุด </p><p>
นิทานสร้างความฉลาด
          มีคนบอกว่า “อยากให้ลูกฉลาดต้องเล่านิทานให้ลูกฟัง” เป็นคำกล่าวที่เป็นความจริง   ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า ถ้าอยากให้ลูกฉลาด พ่อแม่ต้องเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ เพราะภาพและตัวหนังสือ บนหนังสือนิทาน คือ ภาษาอย่างหนึ่งครับ</p><p>
          เด็กมักจะมีคำถามและอยากให้พ่อแม่เล่าซ้ำ ยิ่งได้ถามมาก ฟังมาก ก็ยิ่งจะเพิ่มพูนความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น</p><p>
          การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง ลูกจะได้เรียนรู้เรื่อง ภาษาไปด้วยในตัว เพราะลูกได้ฟังทั้งรูปประโยค บทสนทนา การใช้ภาษาโต้ตอบ ด้วยความสนุกสนาน ซึ่งจะทำให้จำแม่นขึ้น</p><p>
          การที่ลูกได้ฟังเรื่องซ้ำๆหลายๆครั้ง จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในเรื่องราวมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นขั้นแรก ของการฝึกให้มีความคิดรวบยอดและการจับประเด็น เพราะความที่จำได้ทั้งเรื่องจะทำให้ลูกเห็นภาพรวมของเรื่องทั้งหมด ความอยากรู้อยากเห็นของลูกจะทำให้ลูกมีสมาธิจดจ่อกับเรื่องที่ฟัง ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะในการฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ภาษา</p><p>
          เสียงเล่านิทานของพ่อแม่จะส่งเสริมให้ลูกสร้างจินตนาการ เป็นภาพไปทุกช่วงของเรื่อง ภาพเหล่านี้จะเกิดจากประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมของลูกบวกกับจินตนาการใหม่ที่ ลูกสร้างขึ้นเอง ทำให้เกิดการรับรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน</p><p>
          บทสรุปหรือคติในนิทานจะช่วยขยายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรับรู้ภาษา ของลูกยิ่งขึ้นไปอีก
          นิทานช่วยปลูกฝัง นิสัยรักการอ่านซึ่งเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญอีกขั้น ที่สำคัญที่สุด ความใกล้ชิดและความรู้สึกร่วมระหว่างพ่อแม่ผู้เล่ากับลูกซึ่งเป็นผู้ฟัง เป็นบรรยากาศที่ดีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของลูกอย่าง ยิ่ง
          คุณครูและผู้เลี้ยงดูเด็ก ทำหน้าที่ บทบาทของพ่อแม่ของเด็กในขณะที่เด็กอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็ก  กระบวนการต่างๆก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่าง ดี
         แต่ก็อย่าลืมว่า ไม่เฉพาะ ๓ ประเด็นหลักที่ได้กล่าวมาเท่านั้นนะครับ ที่จะช่วยในกระบวนการพัฒนาสมองเด็ก ยังมี เรื่องของ อาหาร นมแม่ การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การป้องกันความเครียด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสมองเด็ก ทั้งนั้น

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เอกสารประกอบการนำเสนอ “กระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเขตพื้นที่อำเภอปางมะผ้า”
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น สมองกับกระบวนเรียนรู้
ภายใต้โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่โรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย”ดำเนินการโดย   มูลนิธิรักษ์เด็ก  (The Life Skills Development Foundation)สนับสนุนโดย   บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และองค์การ เชฟ เดอะ ซิลเดร็น  (สหรัฐอเมริกา)


เอกสารอ้างอิงการเขียน :
          สมองและการเรียนรู้,หมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๓๑๗ กันยายน ๒๕๔๘,หน้า
๑๗ – ๒๖ ,สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน บจก.
          แผนที่นำทาง สร้างศักยภาพ สมองลูก,ชุดเสริมสร้างพัฒนาการและการศึกษา,บริษัทรักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป จำกัด,เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร