วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้บนฐานสมอง Brain Based Learning (BBL) อ.ปิยะธิดา กุศลรัตน์

การจัดการเรียนรู้บนฐานสมอง Brain Based Learning (BBL)
อ.ปิยะธิดา กุศลรัตน์
โปรแกรมวิชาชีววิทยาและชีววิทยาประยุกต์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
บริบท
จุดเริ่มต้นของการเข้าร่วมโครงการปฏิรูปและการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Brain
Based Learning (BBL) ของผู้วิจัยในเบื้องต้นนั้นไม่ได้มาจากสภาพปัญหาของนักศึกษาและสภาพใน
ห้องเรียน แต่มาจากความไม่รู้และเกิดอยากรู้ของผู้วิจัยว่าการจัดการเรียนการสอนแบบ BBL นั้นเป็น
อย่างไร เพราะฟังจากชื่อแล้วและในฐานะที่เป็นผู้สอนชีววิทยาซึ่งในรายวิชาที่สอนนั้นนักศึกษามี
โอกาสได้ฝึกทักษะและปฏิบัติจริงจากการลงมือปฏิบัติการทดลองอยู่แล้ว จึงอยากรู้ว่า BBL คือ
รูปแบบที่เราสอนอยู่หรือไม่ แตกต่างกันอย่างไร คิดว่ามันน่าจะเกี่ยวข้องและมีประโยชน์ต่อสาขาวิชา
ของเรา ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้ยินแต่การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL เท่านั้น การสอนแบบ BBL จึง
เป็นสิ่งใหม่สำหรับผู้วิจัย
การศึกษาการจัดการเรียนรู้บนฐานสมองนั้น มีนักวิจัยได้ทำการศึกษามากมายและเสนอเป็น
ทฤษฎีต่างๆ แต่ทฤษฎีที่โดดเด่นคือทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) ของ Howard Gardner ที่
กล่าวถึงปัญญา 8 ด้านของมนุษย์ ได้แก่ ปัญญาด้านภาษา ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ปัญญา
ด้านมิติสัมพันธ์ ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ปัญญาด้านดนตรี ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง และปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา โดยมนุษย์แต่ละคนจะมีความสามารถที่
แตกต่างกัน ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า
1. คนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
2. คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่มากน้อยแตกต่างกัน
3. ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้หากได้รับการฝึกฝนที่ดีและมีการ
ให้กำลังใจในสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเรียนรู้
4. ปัญญาด้านต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้
หากพิจารณาจากความแตกต่างของมนุษย์ในด้านต่างๆ แล้ว การจัดการเรียนการสอนก็
ควรสอดคล้องเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในด้านที่แตกต่างกัน
มีรายงานวิจัยต่างๆ มากมายที่สนับสนุนว่าโอกาสทองของการเรียนรู้คือช่วงวัยแรกเกิด-
2
10 ปี โดยเฉพาะ 1-3 ปีแรกที่เซลล์ประสาทมีการสร้างใยประสาทเกิดขึ้นมากมาย เพื่อรองรับการ
เรียนรู้และการเรียนรู้ทำให้เกิดเครือข่ายในสมองเป็นจำนวนมาก การศึกษาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการ
เรียนรู้จึงพุ่งเป้าไปที่เด็กเล็กและก็ไม่แปลกที่การจัดการเรียนการสอนต่างๆ จะมุ่งเน้นไปที่เด็กเล็ก ซึ่ง
ถ้าพิจารณาจากข้อนี้ทุกคนก็จะเข้าใจว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ BBL น่าจะเหมาะกับเด็ก
ระดับปฐมวัยมากกว่าระดับอื่นๆ
แต่จากปัญหาที่เกิดกับเยาวชนในปัจจุบันโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาจะเห็นว่าการเรียนการ
สอนส่วนใหญ่เป็นแค่การถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนเท่านั้น โดยผู้เรียนกับผู้สอนไม่ได้มี
ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ผู้เรียนจึงมีสภาพเป็นเพียงนักจดหรืออัดสำเนามาอ่านก่อนสอบ โอกาสที่จะได้คิด
วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ใดๆ จึงเกิดขึ้นน้อยมาก อีกทั้งพฤติกรรมอื่นๆ ของผู้เรียนที่ขัดขวาง
กระบวนการเรียนรู้ เช่น มาสาย ไม่สนใจเรียน เหม่อลอย นั่งฟัง MP3 นำวิชาอื่นขึ้นมาทำในขณะที่
เรียน แต่งหน้าทาแป้ง คุยกับคนข้างๆ หรือบางคนนั่งหลับ และโดยส่วนใหญ่มักจะมองว่านักศึกษาใน
ระดับอุดมศึกษาซึ่งส่วนใหญ่อายุ 18 ปี ขึ้นไป จะต้องมีความรับผิดชอบและดูแลตัวเองได้ จึงไม่
จำเป็นต้องจำจี้จ้ำไช นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งยังเป็นวัยรุ่นและเป็นช่วงวัยสำคัญที่จะ
เปลี่ยนแปลงความคิดและสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เป็นสิ่งใหม่ได้ดี และจะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญ
ในการพัฒนาชาติ ถ้าหากทุกคนยังไม่ตระหนัก ปล่อยปะละเลย และยังให้ความรู้แบบเดิมคือการป้อน
ความรู้ให้มากที่สุดเพราะคิดว่านักศึกษาจะได้ความรู้มาก ถึงเทศกาลสอบก็ถ่ายเอกสารมาอ่านเพื่อ
สอบไปในแต่ละครั้งแล้วก็ผ่านไป หรือให้รายงานเพื่อให้นักศึกษาคัดลอกและนำข้อมูลมาตัดแปะ
และอีกหลากหลายวิธีที่ทำให้เยาวชนของชาติที่อ่อนแออยู่แล้วก็คงจะยิ่งอ่อนแอลงไปอีก จึงเป็น
ก้าวใหม่ของผู้สอนอุดมศึกษาที่ถึงแม้จะไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นจุดแรกในการปลูกฝั่งและส่งเสริมการ
เรียนรู้ แต่วัยรุ่นเป็นอีกช่วงวัยหนึ่งที่นักวิจัยหลายคนเคยศึกษาไว้ว่าเป็นวัยที่มีความพิเศษ พวกเขา
สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้มากมายหากได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นในทางที่ถูก
แนวทางและการดำเนินงาน
การประยุกต์การจัดการเรียนรู้บนฐานสมองของผู้วิจัยเริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2550 ภาค
การศึกษาที่ 1 ในรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยา 2 (403104) ซึ่งเป็นรายวิชาที่จัดสอนให้กับนักศึกษา ค.บ.
(5 ปี) วิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 2 หมู่ 1 โดยมีคำอธิบายรายวิชากล่าวว่า
“ปฏิบัติการเรื่องเมตาบิลิซึม การแลกเปลี่ยนสาร เอนไซม์ การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ
ระดับเซลล์ การขนส่งและการคายน้ำ สมดุลภายในเซลล์ การทำงานของระบบต่างๆ พันธุศาสตร์
และพฤติกรรมและการปรับตัว”
3
ก่อนเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้จะเน้นให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ
โดยทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ 2-3 คน และอาจารย์ผู้สอนจะมีการอธิบายเกี่ยวกับการทดลองก่อน
ให้ลงมือปฏิบัติ แต่จากการเรียนการสอนที่ผ่านมาปัญหาที่พบสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาจากตัวนักศึกษา
- นักศึกษาขาดความกระตือรือร้นในการทดลอง
- นักศึกษาไม่สามารถออกแบบการทดลองได้ด้วยตนเองว่าควรทำอะไร
ก่อนหลัง
- นักศึกษาส่วนใหญ่ขาดความอยากรู้อยากเห็นอย่างแท้จริง ทำการทดลองให้จบ
อย่างรวดเร็วเพื่อที่จะได้กลับบ้าน
-. นักศึกษาขาดความรู้พื้นฐานในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ
- นักศึกษาบางคนขาดวินัยในตนเอง เข้าห้องเรียนสาย
2. ปัญหาความพร้อมของอุปกรณ์
เนื่องจากมีนักศึกษาหลายกลุ่ม บางครั้งอุปกรณ์ก็ไม่เพียงพอกับนักศึกษา
3. ปัญหาบุคลากร
- เนื่องจากมีอาจารย์ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการเพียง 1 ท่าน ในระหว่างที่นักศึกษาลงมือทำ
การทดลองอาจดูแลได้ไม่ทั่วถึง
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดโจทย์ในใจผู้วิจัยว่าจะจัดการเรียนการสอน
อย่างไรเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้บนฐานสมองและส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกและเข้าใจ
ซึ่งตามข้อกำหนดของโครงการวิจัยให้เลือกหัวข้อที่สอนเพื่อนำมาจัดรูปแบบการสอนแบบ BBL 1
หัวข้อ และผู้วิจัยเลือกเรื่อง การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและ
จัดการทดลองให้เห็นจริงได้ยาก ซึ่งจากหัวข้อนี้ผู้วิจัยออกแบบไว้ในใจแล้วว่าอยากให้ผู้เรียนเข้าใจ
เกี่ยวกับกายวิภาคของระบบต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งจะใช้กบในการศึกษา
ขั้นตอนดำเนินงาน
1. การสร้างโจทย์แห่งการเรียนรู้
เบื้องต้นผู้วิจัยได้แจกเอกสารประกอบการสอนเกี่ยวกับกายวิภาคของกบให้ผู้เรียนไป
ศึกษาด้วยตนเอง
หลังจากนั้นใช้วิธีการสนทนาตามธรรมชาติ (Dialogues) และออกแบบร่วมกับผู้เรียน
(co-design) ในชั่วโมงเรียน โดยมีการเปลี่ยนแปลงห้องเรียนจากห้องเดิมคือ ห้อง 11.45 มาเป็นห้อง
ประชุม 24.111 ซึ่งมีสื่อการสอนและสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนได้มากกว่าโดยตั้งคำถามกับ
ผู้เรียนซึ่งได้เรียนเรื่องระบบต่างๆ ในร่างกายมาแล้วในวิชาชีววิทยา 2 ตามคำถามดังนี้
4
“ระบบต่างๆ ในร่างกายที่นักศึกษารู้จักมีระบบใดบ้าง”
“แต่ละระบบมีหน้าที่อย่างไร”
“หากต้องการศึกษาโครงสร้างแต่ละระบบจะทำอย่างไร”
“สัตว์ชนิดใดที่เหมาะที่จะนำมาศึกษาเรื่องระบบต่างๆ เพราะอะไร”
ภายหลังจากการสนทนาตามธรรมชาติและออกแบบร่วมกันแล้วว่าจะศึกษากายวิภาคของกบ
ผู้วิจัยได้นำเสนอสื่อประกอบโปรแกรม Power point เกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของกบ การเปิดผ่าเพื่อ
ศึกษาอวัยวะภายใน โดยใช้คำถามถามนักศึกษาว่าส่วนประกอบที่มองเห็นแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร ทำ
หน้าที่อะไร
กายวิภาคของกบ
Mouth and external incisions

2. การเรียนรู้แบบฝึกฝนปฏิบัติ
ในขั้นตอนนี้จะใช้ห้องปฏิบัติการอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ ชั้น 4 ซึ่งมีสภาพบรรยากาศห้อง
เหมาะในการฝึกปฏิบัติการทดลอง โดยจะแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มๆ ละ 2-3 คน และแต่ละกลุ่มจะได้รับ
กบ 1 ตัว และอุปกรณ์ผ่าตัด 1 ชุด โดยในจุดนี้ผู้สอนพยายามเน้นในเรื่องการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุก
คนในกลุ่ม
ผู้สอนสาธิตการผ่าเปิดช่องท้องกบเพื่อดูอวัยวะภายในในระบบต่างๆ
ผู้เรียนได้ศึกษาลักษณะภายนอกของกบ ได้แก่ ผิวหนัง ขาหน้าและขาหลัง ลักษณะนิ้ว ตา หู
จมูก และโครงสร้างภายในช่องปากด้วยตัวเอง และบันทึกภาพของกบ
ผู้เรียนฝึกผ่ากบด้วยตนเองและบันทึกภาพอวัยวะต่างๆ ที่พบ เพื่อนำเสนอรายงานหน้าชั้น
เรียนซึ่งในจุดนี้ก่อนเข้าโครงการ BBL กิจกรรมการเรียนการสอนภายหลังจากที่นักศึกษาผ่ากบแล้วจะ
มีการวาดภาพระบบต่างๆ ประกอบรายงานการทดลองเท่านั้น ผู้วิจัยจึงได้เพิ่มเติมกิจกรรมเข้าไปคือ
ทุกกลุ่มต้องมีการบันทึกภาพขณะผ่าตัดกบ โดยให้เห็นอวัยวะต่างๆ อย่างชัดเจน ภายหลังผ่ากบเพื่อ
ศึกษาอวัยวะภายในแล้วนักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องมานำเสนอระบบอวัยวะที่ตนได้รับมอบหมาย ซึ่ง
แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
- โครงสร้างภายนอก
- ระบบทางเดินอาหาร
- ระบบขับถ่าย
- ระบบสืบพันธุ์
- ระบบหายใจ
- ระบบหมุนเวียนโลหิต
ภายหลังจากที่นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับระบบที่ตนได้รับมอบหมายแล้ว อาจารย์
และนักศึกษาอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับระบบต่างๆ ที่จากการผ่าตัดกบว่ามีความเหมือนและแตกต่างกับ
ระบบต่างๆ ในคนอย่างไร
ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิด
ภายหลังจากการทดลองเสร็จสิ้น ผู้วิจัยสังเกตได้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่สนใจกับกิจกรรม
การเรียนการสอน และเริ่มรู้จักวางแผนในการทดลองและแบ่งหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม จากที่ในกลุ่ม
จะมีบางคนเท่านั้นที่สนใจทำการทดลองและจะเป็นคนเดิมที่ทดลองในทุกๆ ชั่วโมง แต่จากการเสริม
กิจกรรมบางอย่างเข้าไปทำให้นักศึกษาที่ไม่สนใจเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้นเพราะมีการ
ถ่ายภาพขณะทดลองผ่าตัดกบและจะต้องนำเสนอหน้าชั้นเรียนและการได้ลงมือปฏิบัติจริงทำให้
6
นักศึกษาเกิดทักษะในการผ่าตัดศึกษากบได้อย่างถูกต้อง สามารถรู้จักและจำชื่ออวัยวะต่างๆ รวมทั้ง
หน้าที่ได้มากยิ่งขึ้น
จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นของนักศึกษาทำให้ผู้สอนรู้สึกสนุกกับการสอนเพราะ
ไม่ได้ยืนพูดอยู ่คนเดียวแต่นักศึกษามีความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนตลอด
ชั่วโมง
สรุปและข้อเสนอแนะ
ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการ BBL ที่ผู้วิจัยได้รับก็คือการเรียนการสอนแบบ BBL
ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานการเรียนรู้ของสมองตาม
ธรรมชาติที่มีความแตกต่างกันแต่ละบุคคล ซึ่งมนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ได้เหมือนกัน
ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมและการได้รับการชี้แนะที่ถูกต้อง โดยผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนเพราะการจัดกิจกรรมแต่มีข้อจำกัดก็คือ
1. ระยะเวลาและความไม่ต่อเนื่องของโครงการ เนื่องจากการศึกษานี้ทำเพียง 1 หัวข้อ
เรื่อง ใน 1 รายวิชา นั้น ทำให้การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษายังไม่ชัดเจน
2. ธรรมชาติของแต่ละรายวิชามีความหลากหลาย หากต้องการจัดการการเรียนการสอน
แบบ BBL น่าจะส่งเสริมและพัฒนาเป็นรายวิชาโดยมีการทดลองและออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้อง
กับแต่ละรายวิชา
3. สิ่งสำคัญที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนแบบ BBL ประสบผลสำเร็จ มาจาก 3
ส่วนคือ
3.1 ผู้สอน
อาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถและอัตตาในระดับสูง
รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นการบรรยายหรือการให้รายงาน ซึ่งเป็นการเรียนแบบ
Passive learning หากต้องการเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะความเป็นวิชาการและกล้าคิดในสิ่งใหม่
อาจารย์ผู้สอนต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแนวคิดและรูปแบบการสอนคือพูดคนเดียวให้น้อยลงแต่พูดกับ
ผู้เรียนให้มากขึ้น ฟังความคิดเห็นและความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น ดังนั้นผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญ
ที่จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบและออกแบบการเรียนการสอนของตนว่าจะไปในทิศทางใด จะเลือก
เทคนิคหรือวิธีการใดที่จะสร้างบรรยากาศและกระต้นความใฝ่รู้ของนักศึกษาซึ่งเป็นภาระกิจที่ไม่ง่าย
เลยทีเดียว
3.2 ผู้เรียน
ถึงแม้อาจารย์ผู้สอนจะเตรียมการสอนหรือกิจกรรมดีเพียงใดก็ตามแต่หากผู้เรียน
7
ไม่ให้ความร่วมมือ การเรียนการสอนก็คงไม่ประสบผล มีปัจจัยหลายอย่างที่มาจากผู้เรียนและส่งผล
ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ BBL
- ความรู้พื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคนเนื่องจากนักศึกษาแต่ละคนมาจากสิ่งแวดล้อมที่
แตกต่างกัน พื้นฐานความรู้แตกต่างกัน การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้คนที่มีความแตกต่างกันเรียนรู้
ได้เหมือนกันจึงเป็นสิ่งที่ยาก
3.3 ปัจจัยทางกายภาพ
การจัดการเรียนการสอนแบบ BBL ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้
ความพร้อมในด้านห้องเรียนและอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียน จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะกระตุ้นใน
นักศึกษาเกิดความสนในการเรียนมากขึ้น
3.3 องค์กรหรือหน่วยงาน
สิ่งสำคัญที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนแบบ BBL ดำเนินไปได้ คือองค์กร
หรือมหาวิทยาลัยต้องเห็นความสำคัญของการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยต้องมีนโยบายที่เป็น
รูปธรรมในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น