วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

เด็กทุกคนเป็นอัจฉริยะ

อยากให้ลูกเป็นคนฉลาดไหม
"ไม่เป็นไร ไม่ต้องเรียนเก่งก็ได้ ขอแค่เอาตัวรอด และเป็นคนดีก็พอ"
แต่หวังลึกๆว่า"ถ้าฉลาดด้วยก็ดี"
แล้วจะทำอย่างไรถึงจะฉลาดปราดเปรื่องได้
ก่อนอื่นท่านเชื่อหรือไม่ว่าเด็กทุกคน(ปฐมวัย)เก่งกว่าผู้ใหญ่มาก
ลองมาดูความสามารถในการซึมซับข้อมูลของเด็กดูเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์รับข้อมูลได้มหาศาล รวดเร็วและง่ายดาย
เด็กเล็กก็เช่นกัน
คอมพิวเตอร์แยกหมวดหมู่และจัดเก็บข้อมูลมหาศาลได้
เด็กเล็กก็เช่นกัน
คอมพิวเตอร์จัดวางข้อมูลมหาศาลไว้ในหน่วยความจำถาวรหรือชั่วคราวก็ได้
เด็กเล็กก็เช่นกัน
คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลทั้งหมดที่คุณใส่เข้าไปไม่ว่าข้อมูลจะถูกต้องหรือไม่
เด็กเล็กก็เช่นกัน
เมื่อมีฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์มากพอคุณจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องเช่นกัน รวมทั้งวินิจฉัยจากเครื่องอีกด้วย

เด็กเล็กก็เช่นกัน
สรุปแล้วสมองของเด็กเล็ก
สามารถดูดซับข้อมูลได้รวดเร็ว
สามารถดูดซับข้อมูลได้ปริมาณมหาศาล
ในกรณีของคอมพิวเตอร์เราสามารถลบและป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ได้แต่สำหรับเด็กมีข้อจำกัด
ถ้า ใส่ข้อมูลเข้าไปแล้วจะลบยากมากในช่วงวัย 6 ปีแรก แต่เมื่อพ้นจากนั้นเด็กจะซึมซับข้อมูลใหม่ๆได้ช้าลงและลำบากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งจำอะไรได้ยากขึ้น เหมือนผู้ใหญ่แบบเราๆ
ความเป็นเลิศของเด็กเล็กยังมีอีกมากมาย
 ท่านเคยเจอสิ่งเหล่านี้ไหม
เด็กที่ยังพูดไม่ได้สามารถตอบสนองได้ทันทีเมื่อได้ยินเพลงที่ได้ฟัง
เด็กสามารถร้องเพลงบางเพลงได้จนจบ(พร้อมโยก)
เด็กพูดคำพูดแปลกๆขึ้นมาโดยเราเองยังสงสัยว่าเอามาจากไหน(บางคำเป็นคำด่าอีกต่างหาก)
เด็กสามารถพูดตามบทพูดในการ์ตูนที่ชอบดู หรือนิทานที่ พ่อแม่เล่าให้ฟัง (ถ้าเล่าผิดจะมีการท้วงทันที)
กรณี เด็กคนหนึ่งประมาณ 2-3 ขวบถูกส่งมาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่หนึ่งในจังหวัดน่าน เด็กพูดไม่ได้และส่งเสียงกรีดร้องอยู่ตลอด สื่อสารด้วยการกรีดร้อง ในที่สุดครูต้องส่งไปให้หมอตรวจ ผลก็คือพัฒนาการทุกด้านของเด็กเป็นปรกติ ยกเว้นการพูด  ต่อมาครูมีโอกาสไปเยี่ยมที่บ้านพบว่า เด็กถูกเลี้ยงด้วยสารคดีสัตว์โลก พ่อแม่ไม่ว่างที่จะดูแล ทิ้งให้ยายดูแล ยายเห็นว่าเด็กชอบดูสารคดีสัตว์ เสียงที่เด็กสื่อสารมาตลอดเวลาจะคล้ายเสียงสัตว์ 
จากกรณีดังกล่าว ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ของเด็กคนนี้ในช่วงที่อยู่กับยายทุกวันตอน ผู้ปกครองไปทำงาน ไม่นานก็สามารถเลียนแบบเสียงและพฤติกรรมบางอย่างของสัตว์ได้แล้ว 
ดังนั้นข้อมูลที่ควรใส่เข้าไปในสมองจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ อยู่รอบตัวเด็ก ทีวี คอมพิวเตอร์  เพื่อนบ้านโรงเรียน ครู รวมถึงผู้ปกครองด้วย ที่สำคัญกว่านั้นคือวิธีการไหนที่จะนำข้อมูลเข้าสู่ สมองของเด็กได้  มีหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การอ่านหนังสือของเด็ก (ไม่ ใช่อ่านให้เด็กฟัง) ไม่ว่าเป็นวัยไหนเราต่างยอมรับว่าการอ่านหนังสือคือวิธีการหาความรู้ที่ สะดวกและง่ายที่สุดในการค้นคว้าหาความรู้ เด็กเล็กๆก็เช่นกัน สำหรับเด็กเล็กแล้ว เมื่อเด็กมองเห็นดีขึ้น พวกเขาก็จะอ่านหนังสือได้ดีขึ้น และเมื่อเด็กรับฟังดีขึ้นพวกเขาก็จะเข้าใจได้ดีขึ้น และเมื่อความสามารถในการรับรู้ของเด็กดีขึ้น พวกเขาก็จะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นด้วย พูดง่ายๆคือ เมื่อเด็กอ่านหนังสือ พูด และเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นทั้งยังรับข้อมูลในปริมาณมากขึ้น พวกเขาจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น และไอคิวก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยนี้เป็นความจริงสำหรับเด็กทุกคนทั้งที่อยู่ใน เกณฑ์และอยู่เหนือเกณฑ์เฉลี่ย 

อาจเป็นเรื่องแปลกแต่จริงว่าเด็ก เล็กๆจะอ่านหนังสือได้จริง ตัวอย่างง่ายๆลองหันไปเด็กคนอื่นบางคนในระดับช่วงชั้นเดียวกัน จะเห็นได้ชัดเจนว่าเด็กบางคนจะอ่านหนังสือได้บ้างแล้ว(แท้จริงแล้วเด็กเก่งกว่านั้น) และวิธีสอนเด็กให้อ่านหนังสือเป็น อ่านหนังสือเก่ง ก็มีหลายวิธีเช่นกัน สำคัญ ที่สุดคือต้องอ่าน เพื่อนำข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าสู้สมองที่ดีที่สุดในช่วงชีวิตของคนคนหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น