วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

เด็กปฐมวัยคุณค่าที่น่าลงทุน

เด็กปฐมวัยคุณค่าที่น่าลงทุน

                                                                               โดยครูดอยกลางกรุง
         มีผู้รู้หลายๆ ท่านได้กล่าวไว้ว่า เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ของชาติต่อไป ซึ่งนั่นก็คือเป็นอนาคตของชาตินั่นเอง การที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพนั้นคงไม่มีใครปฏิเสธว่าการ ศึกษาเป็นส่วนสำคัญยิ่งประการหนึ่งที่จะช่วยให้ทรัพยากรเหล่านั้นเติบโต อย่างมีคุณภาพแต่ก็ยังมีปัจจัย แวดล้อมด้านอื่นๆ ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน
        การจัดการศึกษาให้แก่เด็กๆ เหล่านี้เปรียบเหมือนการลงทุนที่ชาติจะเป็นผู้ได้กำไรดังนั้นการจัดการศึกษา จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องที่จะวางนโยบายทางการ ศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของชาติและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่ในปัจจุบันการจัดการศึกษาของประเทศไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่ต้อง การเท่าที่ควรยังคงต้องการการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อ เนื่อง
        ในการการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยนั้นถือเป็นหัวใจสำคัญในการวางรากฐานของ ค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านต่างๆ ให้ติดตัวไปกลายเป็นลักษณะนิสัยที่ถาวรถ้าต้องการปลูกฝังค่านิยมด้านใด คุณลักษณะด้านไหนสามารถปลูกฝังได้ดีที่สุดก็ในช่วงวัยปฐมวัยนี้ซึ่งในการ จัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยจะจัดการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการซึ่งจะจัด ประสบการณ์ในทุกๆ ด้านให้เป็นประสบการณ์สำคัญในชีวิตให้แก่เด็กๆ
        วัยปฐมวัย ( 2 – 6 ปี)* มีลักษณะเด่นในด้านต่างๆ เช่นความอยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัส อยากทดลอง อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เด็กวัยนี้สามารถเรียนรู้จากการดูเห็น สัมผัส (เรียนรู้จากประสาทสัมผัส) การลอกเลียนแบบบุคคลใกล้ชิด พวกเขามองเห็นโลกใบนี้ด้วยความสนุกมีสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตพวกเขาตลอดเวลาเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ถูกผิดแต่ก็ต้องมีผู้ใหญ่ คอยชี้แนะให้ความดูแลสิ่งผิดถูกในการจัดการเรียนการสอนแม้ว่าครูพยายามจัด กิจกรรมหรือประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้แก่พวกเขามากเพียงใดแต่ในชีวิตประจำวันที่พวกเขาได้สัมผัสนอกห้องเรียน นั้นมันมักตรงกันข้ามกับคำสอนหรือบทเรียนที่คุณครูได้พร่ำสอนทำให้พวกเขา สับสนว่าสิ่งใดกันแน่ที่ถูกต้องควรปฏิบัติสิ่งใดกันแน่ที่ว่าผิดไม่ควรทำมี ตัวอย่างจากนักเรียนในห้องของผู้เขียน ในตอนเช้าน้องพั้นซ์ได้บอกกับคุณครูว่าตอน
เย็นคุณพ่อจะมารับ ( โดยปกติจะกลับรถโรงเรียน )เมื่อถึงเวลาเย็นคุณพ่อก็ไม่ได้มารับคุณครูจึงถามว่าน้องพั้นซ์ไหนบอกว่า คุณพ่อจะมารับไงคะ น้องพั้นซ์ก็ตอบว่า ไม่รู้เหมือนกันคะ สงสัยคงเล่นไพ่อยู่มั้ง จะเห็นว่าเด็กๆ ตอบด้วยความซื่อไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการเล่นไพ่เป็นสิ่งดีหรือไม่ดีแต่ได้เห็น คุณพ่อเล่นเป็นประจำจนเคยชินนี่คือตัวอย่างที่ผู้ที่ได้ยินได้ฟังจะรู้สึกขำ แต่ถ้าเราหยุดคิดซักนิด คำพูดของน้องพั้นซ์นั้นได้สะท้อนอะไรให้พวกเราที่เป็นผู้ใหญ่ได้รับรู้ไม่ มากก็น้อยและได้หันไปมองสังคมแวดล้อมของเราว่ามันได้เปลี่ยนแปลงไปมากน้อย เพียงใด
        สังคมที่ทุกคนมุ่งแต่ทำมาหากินจนขาดสิ่งที่คอยค้ำยันให้ทุกคนมีจิตสำนึกที่ ดีต่อสังคม สังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วยุ มอมเมาเด็กๆ และเยาวชน อาทิเช่น สื่อลามกในรูปแบบ วีดีโอ หนังสือ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ฯลฯ ซึ่งล้วนแฝงสิ่งที่ยั่วยุ มอมเมา ให้เด็กๆ ของเราคิดไม่เป็น ขาดการควบคุมอย่างจริงจังจากผู้เกี่ยวข้องทั้งๆ ที่มีกฎหมายอยู่แล้ว สื่อวีดีโอหาซื้อได้ง่ายมาก บางทีอาจจะมากกว่าการหาซื้อขนมไทยบางอย่างซะอีก หนังสือแม้จะเป็นหนังสือการ์ตูน หนังสือละคร นิยาย ฯลฯ ก็ยังมีภาพ ที่ไม่เหมาะสมแอบแฝงอยู่มากมายจนเด็กๆ เห็นชินตาทำให้พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาแต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ธรรมดา เลย ส่วนภาพยนตร์ นั้นผู้เขียนเคยมีประสบการณ์พาหลานไปชมภาพยนตร์การ์ตูนก่อนจะฉายจริงก็จะมี ภาพยนตร์ตัวอย่างให้ดูก่อนแค่ดูก็อยากกลับออกมาจากโรงภาพยนตร์เสียให้ได้มี ภาพยนตร์ตัวอย่าง 4-5 เรื่องแล้วก็ต้องตัดเป็นฉากเลิฟซีนมาโฆษณาให้ดูผู้ที่รับผิดชอบผู้เกี่ยว ข้องเขาไม่ได้สนใจเลยว่าภาพยนตร์การ์ตูนใครคือผู้เข้าชมและบริษัทภาพยนตร์ เขาสร้างมาเพื่อให้ผู้ชมวัยใดและที่สำคัญอีกสื่อหนึ่งก็คือโทรทัศน์ซึ่งถือ ว่าเป็นสื่อที่ใกล้ตัวเด็กๆ มากที่สุดเพราะแทบทุกบ้านต้องมีโทรทัศน์กันแทบทั้งนั้นแล้วโทรทัศน์บ้านเรา ก็มีแต่ละครเสริมสร้างปัญญาน้อยมาก รายการที่มีสาระก็หาได้น้อยและอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ดึกเกินไปก็เช้าเกินเหตุ ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับเป็นละครแทบทุกช่อง นี่ก็อยากจะถามว่าเราจะร่วมกันรับผิดชอบได้หรือเปล่า ละครที่มีแต่เสียงกรีดร้องไร้เหตุผลผู้คนแต่งตัวไร้ศิลปะ พูดจามีแต่ด่าทอ ชอบทำตาถลนใส่ผู้อื่น ไม่พอใจต้องร้องให้ดังที่สุดและอะไรๆ ต่อมิอะไรที่ตัวละครแสดงแล้วดูเหมือนถูกใจผู้จัดแต่กลับลืมดูว่าผู้ดูผู้ซึม ซับสิ่งต่างๆ เหล่านี้กำลังจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเราต่อไปสังคมที่ปล่อยให้เด็กๆ เดินทางเรียนรู้ผิดถูกอย่างโดดเดี่ยวไร้คนเหลียวมองหรือมองเห็นแต่ไม่ได้ ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือดูแลอย่างจริงแล้วอย่างนี้เด็กปฐมวัยวัยแห่งการเรียน รู้ จากการใช้ตา หู ปาก จมูก การจดจำ การเลียนแบบ การสังเกต ฯลฯ ก็คงจะจดจำสิ่งที่สังคมได้หยิบยื่นให้อย่างล้นหลามนี้ไปอย่างไม่มีหนทาง ปฏิเสธได้เลย แล้วใครจะร่วมเป็นผู้ลงทุนให้เด็กๆ ของเราเหล่านี้ให้เติบใหญ่เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพด้วยการจัดการศึกษาที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดีพร้อมจะให้เด็กๆ ของพวกเราเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าไม่ใช่พวกเราทุกคนอยู่ร่วมกันใน สังคม

* รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ เอกสารการสอนพฤติกรรมการสอนปฐมวัยศึกษา เด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2544.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น