วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เตรียมลูกสู่รั้วโรงเรียน ตอนที่ 3 : วัย 12-24 เดือน

เตรียมลูกสู่รั้วโรงเรียน ตอนที่ 3 : วัย 12-24 เดือน

ลูกจะประสบความสำเร็จในโรงเรียนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ ของพ่อแม่ คุณสามารถช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนเข้าโรงเรียนได้ การเตรียมความพร้อมสามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด และเราขอแนะนำให้คุณอ่านบทความ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ก่อนที่จะเริ่มอ่านบทความนี้

1) ทักษะทางภาษาและการอ่านเขียน

เด็กในวัยสองขวบจะเริ่มรู้จักสื่อสารและบอกความต้องการของตัวเองได้ดี ขึ้น เด็กในวัยนี้จะใช้ทั้งท่าทางและเสียงหรือคำพูดในการบอกความต้องการ ความรู้สึก และความนึกคิดให้พ่อแม่ได้รับรู้ เช่น ลูกอาจจะจูงมือคุณไปที่ตู้เย็นหรือกระติกน้ำเพื่อบอกให้คุณทราบว่าลูกหิวและ ต้องการดื่มน้ำ เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มหัดพูดและสามารถพูดคำใหม่ๆได้เมื่ออายุประมาณ 18 เดือน และเริ่มรู้จักนำคำใหม่ๆมาผสมกัน เช่น หิวข้าว กินน้ำ เอาอีก เป็นต้น พอถึงช่วงอายุสองขวบ เด็กส่วนใหญ่จะพูดและออกเสียงคำศัพท์ได้ประมาณ 200 คำ คุณสามารถช่วยเสริมทักษะด้านภาษาและการอ่านเขียนให้ลูกได้โดย
การพูดคุยกับลูก ชี้ ชวนให้ลูกดูของรอบๆตัว ลองถามลูกว่าของเหล่านั้นเรียกว่าอะไร ให้คุณรอคำตอบจากลูกประมาณ 2- 3 วินาที และหากลูกไม่ทราบหรือไม่ตอบคำถาม คุณก็บอกลูกว่าของสิ่งนั้นคืออะไร วิธีนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้คิดหาคำตอบและแสดงให้คุณเห็นว่าลูกรู้จัก สิ่งของนั้นหรือไม่ งานวิจัยหลายๆงานแสดงให้เห็นว่ายิ่งพ่อแม่พูดคุยกับลูกมากเท่าไหร่ คลังคำศัพท์ของลูกก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
การอ่านหนังสือด้วยกัน ให้ ลูกเป็นคนถือหนังสือเวลาที่คุณอ่านหนังสือด้วยกันกับลูก ชี้ดูรูปในหนังสือด้วยกัน บอกให้ลูกลองชี้รูปภาพในหนังสือ เช่นรูปหมา เด็ก บ้าน เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถหาหนังสือที่สอนเกี่ยวกับ ขึ้น ลง ใหญ่ เล็ก สี และตัวเลขมาให้ลูกอ่าน เด็กส่วนใหญ่ในวัยนี้จะเริ่มร้องเพลงเป็น ดังนั้นหนังสืออีกประเภทที่คุณควรนำมาอ่านด้วยกันกับลูกควรเป็นหนังสือเพลง เช่น Wheels on the Bus เป็นต้น  หากคุณทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ลูกจะเป็นคนอ่านและเล่าเรื่องในหนังสือให้คุณฟัง

2) ทักษะการคิดวิเคราะห์

เด็กวัยเตาะแตะนั้นเปรียบเสมือนนักวิทยาศาสตร์ พวกเขามีความอยากรู้อยากเห็นและช่างสงสัย อยากรู้ว่าสิ่งของต่างๆทำงานและใช้ได้อย่างไรบ้าง เช่น ลูกอาจจะโยนลูกบอลลงพื้นเพราะอยากรู้ว่าลูกบอลจะเด้งหรือไม่ หรือโยนตุ๊กตาเพราะอยากรู้ว่าถ้าโยนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น นอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังเริ่มเรียนรู้วิธีการใช้สิ่งของและเครื่องมือ เช่น ใช้ไม้เขี่ยเอาของเล่นที่เอื้อมไม่ถึง
ความจำที่พัฒนาขึ้นยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้ ด้วย เช่น การเลียนแบบสิ่งที่เห็นคนอื่นทำ อย่างไรก็ดี ลูกอาจจะไม่ทำสิ่งที่คุณสอนในทันที เรและคุณไม่ต้องกังวลใจ ให้ใจเย็นๆเพราะต่อมาลูกจะทำสิ่งนั้นได้แน่ๆ เพราะความทรงจำที่เริ่มพัฒนาและดีขึ้นนั่นเอง
ให้ลูกเป็นผู้นำ เด็ก เล็กสามารถเรียนรู้แนวคิดต่างๆได้ผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  หากลูกเป็นเด็กที่ไม่อยู่นิ่ง หรือแอคทีฟ เมื่อคุณพาลูกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น ลูกจะรู้จัก ช้า เร็ว ขึ้น ลง บน และ ล่าง หากลูกเป็นเด็กที่ชอบใช้มือ ลูกก็จะเรียนแนวคิดเดียวกันนี้ผ่านการต่อบล็อก
การทำซ้ำ เด็ก นี้ชอบทำกิจกรรมซ้ำแล้วซ้ำอีก การกระทำเช่นนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงของสมองเพื่อให้ เด็กมีความชำนาญในทักษะใหม่  คุณควรจะหาของเล่นที่ช่วยให้ลูกได้ค้นหาคำตอบ และมีความท้ายทาย เช่น บล็อก และ พัสเซิ่ล

3) การควบคุมตนเอง

เด็กวัยเตาะแตะเป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก และไม่เกรงกลัวที่จะแสดงความรู้สึกให้คุณรู้ “ไม่” หรือ “ไม่เอา” กลายเป็นคำศัพท์โปรดที่ลูกชอบใช้ และเป็นวิธีที่ได้ผลดีในการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ในขณะเดียวกัน เด็กเล็กวัยนี้ยังหุนหันและโมโหง่ายเพราะพวกเขาอยากทำอะไรหลายๆอย่างแต่ยัง ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง การจัดกิจวัติและตารางที่แน่นอนจะช่วยได้เพราะเด็กจะรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น และรู้สึกว่าพวกเขาคือผู้ที่ควบคุมสถานการณ์  คุณสามารถช่วยลูกฝึกการควบคุมอารมณ์ได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้
สอนให้ลูกรู้จักขอบเขต การ ตั้งขอบเขตที่แน่นอนและมีความสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัยเพราะขอบเขต จะช่วยให้ลูกรู้ว่าเราคาดหวังอะไรและจะเกิดอะไรขึ้นหากลูกทำตัวนอกขอบแขตที่ กำหนดไว้ เช่นการเก็บดินสอสีหรือสีเทียนทันทีที่ลูกขีดเขียนผนังบ้าน ลูกจะเรียนรู้ว่าลูกควรระบายสีในกระดาษหรือสมุดระบายสีไม่ใช่บนผนัง
บอกให้ลูกรู้จักกับความรู้สึกของตนเอง การ ที่ลูกรู้ว่าเราเข้าใจความรู้สึกของเขาจะช่วยให้ลูกสงบลงเวลาที่ลูกโกรธ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเรายอมตามใจลูกทุกครั้งที่ลูกร้องขอ การให้ตัวเลือกเป็นเทคนิคที่ดีอย่างหนึ่ง เช่น “แม่รู้ว่าลูกโกรธที่เราต้องเลิกเล่นในสนามเด็กเล่นและกลับบ้าน แต่ลูกไม่ควรตีแม่นะคะ ถ้าอยากตีก็ตีหมอนใบนี้แทนก็แล้วกันค่ะ” นอกจากนี้การให้ลูกได้เลือกของที่อยากกิน หรือเสื้อผ้าที่อยากใส่ก็ถือเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่อย่างไรก็ดี ทุกอย่างต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม

4)  ความมั่นใจในตนเอง

เด็กวัยสองขวบอยากที่จะเป็นตัวของตัวเองเป็นที่สุด แต่พวกเขาก็ยังต้องการพ่อแม่หรือคนที่เขารักอยู่ เพราะบุคคลเหล่าคือความอบอุ่นและความปลอดภัย การที่ลูกรู้ว่าคุณอยู่เคียงข้างลูกเสมอจะช่วยให้ลูกค้นหาและเรียนรู้ได้ ด้วยความสบายใจ การทำทุกอย่างด้วยตนเองทั้งหมดถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจและประสบความสำเร็จในการเรียน คุณสามารถสร้างความมั่นใจให้ลูกได้โดยเทคนิคง่ายๆดังต่อไปนี้
ปล่อยให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตนเอง  คุณ ควรจะเป็นโค๊ชให้ลูก สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกต้องการ แต่อย่าแก้ปัญหาให้ลูก เช่นเวลาลูกต่อจิ๊กซอว์ หากลูกต่อไม่ถูกต้อง คุณควรแนะนำให้ลูกลองใส่ช่องอื่น และไม่ควรจะเป็นคนต่อจิ๊กซอว์ช่วยลูก การทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกมั่นใจเวลาที่ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ
จัดหากิจกรรมที่ท้าทายให้ลูกได้ทำ จับ ตามองว่าลูกทำอะไรได้บ้าง และให้หากิจกรรมใหม่ที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นมาให้ลูกได้ทำ เช่น หากลูกต่อจิ๊กซอว์ 8 ชิ้นได้ คุณก็หาแบบใหม่ที่มีจำนวน 12 ชิ้นมาให้ลูกได้ลองต่อดู  และหากลูกต่อบล็อกเป็นตึกได้ คุณก็อาจจะบอกลูกให้ลองต่อบล็อกเป็นรูปบ้านให้ตุ๊กตาตัวโปรด วิธีนี้ยังช่วยให้ลูกรู้จักการเล่นบทบาทสมมติอีกด้วย
ที่มา : zerotothree.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น